หลังนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กลับมาบังคับใช้ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นมา หลังการชุมนุมเยาวชนปลดแอกและข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ คดีข้อหานี้ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ดูสถิติคดีเท่าที่ทราบข้อมูล) ในปี 2565-68 ศาลได้ทยอยมีคำพิพากษาในแต่ละคดีออกมาเป็นระยะ
ตารางข้อมูลต่อไปนี้รวบรวมผลคำพิพากษาในคดีมาตรา 112 เท่าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนติดตามข้อมูล เฉพาะคดีที่เกิดขึ้นนับแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นมา ทั้งนี้ผลของคดีเหล่านี้ ยังไม่ถึงที่สุด หลายคดีมีการอุทธรณ์และฎีกาคำพิพากษาต่อไป
** เท่าที่ทราบข้อมูล จนถึงวันที่ 15 ม.ค. 2568
.
ศาลมีคำพิพากษาอย่างน้อย 171 คดี แยกเป็น
คดีที่จำเลยต่อสู้คดี และศาลมีคำพิพากษา อย่างน้อย 87 คดี
แยกเป็นคดีที่ศาลยกฟ้อง 19 คดี, คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยไม่รอลงอาญา 50 คดี, คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยให้รอลงอาญา 11 คดี, คดีที่ศาลยกฟ้องข้อหามาตรา 112 แต่ลงโทษในข้อหาอื่นๆ 4 คดี และคดีที่ศาลยกฟ้องจำเลยบางคน แต่ลงโทษจำคุกจำเลยอีกราย 3 คดี
ลำดับ | ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี | วันที่พิพากษา | ผลคำพิพากษาโดยสรุป |
1 | คดีจรัส คอมเมนต์วิพากษ์วิจารณ์เศรษฐกิจพอเพียง | 30 พ.ย. 2564 (ศาลจังหวัดจันทบุรี) 22 พ.ย. 2565 (ศาลอุทธรณ์ภาค 2) | ศาลพิพากษายกฟ้องเฉพาะข้อหา ม.112 เห็นว่าองค์ประกอบ ม.112 คุ้มครองเฉพาะพระมหากษัตริย์ที่ยังทรงครองราชย์อยู่เท่านั้น แต่ลงโทษในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14 (1) เห็นว่าข้อความกระทบกระเทือนความรู้สึกของประชาชนทั่วไป พิพากษาจำคุก 1 ปี 4 เดือน และปรับเงิน 26,666.66 บาท แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปี ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เห็นว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 112 เนื่องจากแม้กระทำต่อกษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้ว ก็กระทบองค์ปัจจุบัน ลงโทษจำคุก 3 ปี โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
2 | คดีนรินทร์ แปะสติกเกอร์ “กูkult” คาดตาบนรูปรัชกาลที่ 10 | 4 มี.ค. 2565 (ศาลอาญา) 2 พ.ค. 2566 (ศาลอุทธรณ์) | ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตาม ม.112 เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการแสดงว่ามีความยิ่งใหญ่เหนือกว่าพระมหากษัตริย์ เป็นการลบหลู่ ดูหมิ่น แม้ไม่ได้เป็นการกระทำต่อตัวกษัตริย์โดยตรง แต่ก็แปลความหมายได้ในลักษณะเดียวกัน พิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ลดโทษจำคุก 1 ใน 3 เหลือจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาเป็นยกฟ้อง เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังมีพิรุธสงสัย ว่าจำเลยได้เป็นผู้กระทำตามที่ถูกฟ้องหรือไม่ |
3 | คดีอิศเรศ อุดานนท์ โพสต์กรณียังไม่แต่งตั้งกษัตริย์ใหม่ หลังการสวรรคต | 16 มี.ค. 2565 (ศาลจังหวัดนครพนม) 26 ก.ค. 2566 (ศาลอุทธรณ์ภาค 4) | ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา ข้อความที่จำเลยโพสต์ไม่ได้แสดงความอาฆาตมาดร้าย มิได้ระบุถึงบุคคลที่ถูกดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทให้รู้ได้แน่นอนว่าเป็นใคร อีกทั้ง ม.112 ไม่บัญญัติถึงสถาบันกษัตริย์ พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอรับฟังลงโทษจำเลยได้ และเมื่อไม่ผิด ม.112 จึงไม่เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นว่าแม้จําเลยใช้ถ้อยคําไม่สุภาพและรุนแรง แต่ไม่ถึงขนาดเป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น อีกทั้งข้อความดังกล่าวไม่ได้เป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น * คดีสิ้นสุดแล้ว |
4 | คดี “วุฒิภัทร” โพสต์คอมเมนต์ข้อความเกี่ยวกับ 3 จำเลยกรณีสวรรคต ร.8 | 25 มี.ค. 2565 (ศาลจังหวัดสมุทรปราการ) 27 เม.ย. 2566 (ศาลอุทธรณ์) | ศาลพิพากษายกฟ้องเฉพาะข้อหา ม.112 เห็นว่าองค์ประกอบ ม.112 คุ้มครองเฉพาะพระมหากษัตริย์ที่ยังทรงครองราชย์อยู่เท่านั้น แต่ลงโทษในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14 (1) เห็นว่าข้อความกระทบกระเทือนความรู้สึกของประชาชนทั่วไป พิพากษาจำคุก 1 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 8 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาเห็นว่ามีความผิดตามมาตรา 112 เห็นเป็นการดูหมิ่นอดีตพระมหากษัตริย์ ย่อมกระทบกษัตริย์องค์ปัจจุบันด้วย พิพากษาจำคุก 5 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือจำคุก 3 ปี 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญา |
5 | คดีสมบัติ ทองย้อย โพสต์ “เก่งมาก กล้ามาก ขอบใจ” และข้อความกล่าวถึงการทำตัวใกล้ชิดประชาชน | 28 เม.ย. 2565 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) 13 ก.ย. 2566 (ศาลอุทธรณ์) | ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตาม ม.112 จำนวน 2 กรรม เห็นว่าข้อความเป็นสิ่งที่ไม่บังควร มีลักษณะเป็นการจาบจ้วง และชี้ให้เห็นถึงเจตนาของจําเลยที่ต้องการจะดูถูก ด้อยค่าพระมหากษัตริย์ อันเข้าลักษณะเป็นการดูหมิ่นแล้ว พิพากษาจําคุกกระทงละ 3 ปี รวม 2 กระทง เป็นจําคุก 6 ปี โดยไม่รอลงอาญา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่เห็นว่าให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือกระทงละ 2 ปี เหลือจำคุก 4 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
6 | คดีมีชัย โพสต์วิจารณ์การใช้ภาษีของสถาบันกษัตริย์ | 18 ก.ค. 2565 (ศาลจังหวัดสมุทรปราการ) 27 ก.ย. 2566 (ศาลอุทธรณ์ภาค 1) | ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตาม ม.112 เห็นว่าข้อความที่โพสต์เป็นความเท็จ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ มีเจตนาลดเกียรติและดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พิพากษาจำคุก 4 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี 8 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ต่อมาวันที่ 25 ก.ค. 2567 ไม่มีผู้พิพากษารับรองให้ฎีกา คดีถึงที่สุด |
7 | คดีอุดม โพสต์ข้อความรวม 7 ข้อความ | 26 ก.ค. 2565 (ศาลจังหวัดนราธิวาส) 30 ส.ค. 2566 (ศาลอุทธรณ์ภาค 9) | ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตาม ม.112 ใน 2 ข้อความ ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมโทษจำคุก 6 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือโทษจำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา ขณะที่ศาลเห็นว่า ม.112 คุ้มครองเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน ทำให้ข้อความตามฟ้องใน 4 ข้อความ ไม่ครบองค์ประกอบ ขณะที่อีก 1 ข้อความ โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าหมายถึงบุคคลใด ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน |
8 | คดี “กัลยา” โพสต์ข้อความ 2 กระทง | 2 ส.ค. 2565 (ศาลจังหวัดนราธิวาส) 20 ต.ค. 2566 (ศาลอุทธรณ์ภาค 9) | ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตาม ม.112 ในทั้ง 2 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมโทษจำคุก 6 ปี โดยไม่รอลงอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน |
9 | คดีปริญญา ชีวินกุลปฐม หรือ “พอร์ท ไฟเย็น” โพสต์ข้อความ 3 ข้อความ | 15 ส.ค. 2565 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตาม ม.112 ทั้ง 3 ข้อความ จำคุกกระทงละ 3 ปี แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง จึงลดโทษให้กระทงละ 1 ใน 3 เหลือโทษจำคุกรวม 6 ปี โดยไม่รอลงอาญา |
10 | คดี “นิว” จตุพร แซ่อึง แต่งชุดไทยเดินแฟชั่นโชว์บนถนนสีลม ในม็อบ29ตุลา63 | 12 ก.ย. 2565 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) 19 ส.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์) | ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตาม ม.112 ลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา เห็นว่าจำเลยมีการแสดงตนเป็นราชินี ในเชิงล้อเลียนเสียดสี ก่อให้เกิดความตลกขบขัน เป็นการไม่แสดงความเคารพต่อสถาบันกษัตริย์ อันเป็นกระทำที่ไม่บังควร ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน |
11 | คดีทิวากร วิถีตน ถ่ายรูปสวมเสื้อ “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว” โพสต์ลงเฟซบุ๊ก รวมถึงโพสต์เรียกร้องให้สถาบันกษัตริย์ยุติการใช้มาตรา 112 และปล่อย 4 แกนนำราษฎร รวม 3 กระทง | 29 ก.ย. 2565 (ศาลจังหวัดขอนแก่น) 14 ส.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 4) | ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่าข้อความของจำเลยไม่ได้ระบุให้รู้ได้โดยแน่นอนว่าเป็นองค์พระมหากษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะ ขึ้นกับการตีความของบุคคล และสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ใช่องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112 พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีไม่พอที่จะลงโทษจำเลยในทุกข้อหาได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่ามีความผิดตามมาตรา 112 ทั้ง 3 กระทง โดยเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้ว่า รูปภาพและข้อความที่จําเลยโพสต์หมายถึง พระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบัน และจําเลยมีเจตนาสบประมาท ลดคุณค่าพระเกียรติยศ อันเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 6 ปี |
12 | คดี “วารี” นำภาพจากทวิตเกี่ยวกับการเลือกปกป้องกษัตริย์ของตำรวจ มาโพสต์ลงเฟซบุ๊ก รวมถึงการโพสต์รูปการ์ตูนล้อเลียนตำรวจในคอมเมนต์ และการแชร์โพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์ประยุทธ์ที่สั่งปิดกั้นเพลงของ R.A.D | 6 ต.ค. 2565 (ศาลจังหวัดนราธิวาส) 26 ต.ค. 2566 (ศาลอุทธรณ์ภาค 9) | ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่าพยานโจทก์ยังไม่พอให้เชื่อได้ว่าจำเลยเป็นผู้นำเข้าโพสต์ดังกล่าว มีเพียงผู้กล่าวหาคนเดียวที่เบิกความว่าจำเลยโพสต์ แต่กลับเบิกความถึงการเห็นโพสต์แตกต่างกัน อีกทั้งภาพที่นำมาแจ้งความก็ไม่ปรากฏ URL ประกอบการคำเบิกความของพยานจำเลยซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งสองเห็นว่า ภาพมีการตัดต่อมา ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน * คดีสิ้นสุดแล้ว |
13 | คดีภัคภิญญา แชร์ข้อความจากเพจทางการเมืองต่างๆ รวม 6 ข้อความ | 19 ต.ค. 2565 (ศาลจังหวัดนราธิวาส) | ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตาม ม.112 รวม 3 ข้อความ จำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 9 ปี โดยไม่รอลงอาญา ส่วนอีก 3 ข้อความให้ยกฟ้อง |
14 | คดีพิพัทธ์ โพสต์ภาพรัชกาลที่ 10 และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าทีปังกรฯ พร้อมใส่ข้อความแทรกบนภาพ 2 ประโยค ในกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ “รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส” | 26 ต.ค. 2565 (ศาลจังหวัดสมุทรปราการ) 25 ต.ค. 2566 (ศาลอุทธรณ์ภาค 1) | ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่าหลักฐานที่ผู้กล่าวหานำมาแจ้งความ เป็นการแคปภาพหน้าจอ ไม่ใช่สิ่งพิมพ์จากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง พยานหลักฐานของโจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ว่าข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์มีจุดเริ่มต้น และปลายทางส่งข้อมูลเป็นอย่างไร หมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์คืออะไร ซึ่งเป็นข้อมูลระบุตัวตนสำคัญ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน * คดีสิ้นสุดแล้ว |
15 | คดีธนกร ปราศรัยในการชุมนุม 6 ธ.ค. 2563 ที่วงเวียนใหญ่ | 22 พ.ย. 2565 (ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง) 6 พ.ย. 2566 (ศาลอุทธรณ์) | ศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 112 แม้คำปราศรัยจะไม่ได้มีการกล่าวถึงพระนามของกษัตริย์พระองค์ใด แต่เห็นว่ามาตรา 112 ไม่ได้คุ้มครองแค่กษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง แต่คุ้มครองทั้งสถาบันกษัตริย์ กำหนดโทษจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ม.142 (1) เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นคุมประพฤติ นำตัวไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน กำหนดขั้นต่ำ 1 ปี 6 เดือน ขั้นสูงไม่เกิน 3 ปี ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษ เป็นให้รอการลงโทษจำคุก 2 ปี และให้คุมประพฤติจำเลยไปตลอดระยะเวลาที่รอการลงโทษ ห้ามจำเลยกระทำผิดในทำนองเดียวกันนี้อีก * คดีสิ้นสุดแล้ว |
16 | คดีพรชัย วิมลศุภวงศ์ ไลฟ์สดและโพสต์ข้อความ รวม 3 โพสต์ | 15 ธ.ค. 2565 (ศาลจังหวัดยะลา) 5 ต.ค. 2566 (ศาลอุทธรณ์ภาค 9) | ศาลเห็นว่าจำเลยโพสต์คลิปวิดีโอมีเนื้อหาสื่อถึงรัชกาลที่ 10 ที่วางตัวไม่เป็นกลางทางการเมือง ซึ่งอาจทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย เห็นว่าเป็นการดูหมิ่น จาบจ้วง ตามมาตรา 112 ลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือ 2 ปี ส่วนข้อความอีก 2 โพสต์ พยานหลักฐานโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ จึงยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน โดยเห็นพ้องกับศาลชั้นต้นว่าสามารถนำหลักการตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ มาเป็นเหตุผลประกอบมาตรา 112 ได้ และไม่สามารถอ้างการติชมโดยสุจริตเป็นเหตุยกเว้นความผิดได้ * คดีสิ้นสุดแล้ว |
17 | คดี “ชัยชนะ” ผู้ป่วยจิตเวช ถูกกล่าวหาโพสต์ข้อความ 4 โพสต์ | 21 ธ.ค. 2565 (ศาลจังหวัดนราธิวาส) 15 ธ.ค. 2566 (ศาลอุทธรณ์ภาค 9) | ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่าโจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้งานหรือเป็นเจ้าของเฟซบุ๊กตามฟ้อง ขณะที่จำเลยถูกจับกุม ตำรวจได้ตรวจยึดโทรศัพท์มือถือของจำเลยมาตรวจสอบด้วย แต่ตรวจสอบแล้วไม่พบว่ามีการเข้าใช้งานบัญชีเฟซบุ๊กที่ถูกกล่าวหา อีกทั้ง จำเลยได้ให้การปฏิเสธตลอดมา ประกอบกับจำเลยมีอาการทางจิต จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนยกฟ้อง * คดีสิ้นสุดแล้ว |
18 | คดีธนกร ปราศรัยในการชุมนุม 10 ก.ย. 2563 ที่ท่าน้ำนนทบุรี | 22 ธ.ค. 2565 (ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี) | ศาลเห็นว่าถ้อยคำปราศรัยของจำเลยเป็นการกล่าวหาที่ทำให้เกิดความเกลียดชัง และเกิดความเข้าใจผิดต่อพระมหากษัตริย์ เห็นว่าจำเลยมีความผิดตาม ม.112 แต่ขณะเกิดเหตุมีอายุ 17 ปีเศษ เห็นควรลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน เพื่อให้การแก้ไขบำบัดฟื้นฟูจำเลยเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ จึงรอการลงโทษจำคุก 2 ปี และให้กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับความประพฤติ * คดีสิ้นสุดแล้ว |
19 | คดีสิทธิโชค เศรษฐเศวต ถูกกล่าวหาว่าราดของเหลวคล้ายน้ำมันลงที่ฐานพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10-ราชินี ในระหว่างการชุมนุม 18 ก.ค. 2564 | 17 ม.ค. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าจำเลยบีบของเหลวสีม่วงใส่ผ้าประดับซุ้มฯ ไฟก็ลุกพรึบขึ้นมา น่าเชื่อว่าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือวัตถุไวไฟบางชนิด ที่จำเลยเบิกความว่าต้องการช่วยดับไฟนั้น เป็นการเบิกความลอยๆ พยานโจทก์ยังเบิกความว่าพระบรมฉายาลักษณ์มีค่าเท่าตัวบุคคล มีไว้กราบไหว้และเป็นที่เคารพสักการะ การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก 3 ปี ตามมาตรา 112 และจำคุกอีก 6 เดือน ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงเหลือโทษจำคุกรวม 2 ปี 4 เดือน |
20 | คดี “ไลลา” ปลดพระบรมฉายาลักษณ์ระหว่างการชุมนุมในมธ.ลำปาง วันที่ 17 ต.ค. 2563 | 17 ม.ค. 2566 (ศาลจังหวัดลำปาง) | ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่ปรากฏอย่างชัดเจนว่าจำเลยได้ร่วมกันกระทำตามฟ้อง คดีจึงมีเหตุอันควรสงสัยยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย * คดีสิ้นสุดแล้ว |
21 | คดี “นคร” แชร์โพสต์ข้อความ 2 โพสต์ | 25 ม.ค. 2566 (ศาลจังหวัดสมุทรปราการ) 28 พ.ย. 2566 (ศาลอุทธรณ์ภาค 1) | ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ พิสูจน์ไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริง จึงต้องยกประโยชน์ความสงสัย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนยกฟ้อง * คดีสิ้นสุดแล้ว |
22-23 | คดี “บัสบาส” มงคล ถิระโคตร พิจารณาร่วมกันสองคดี ได้แก่ คดีโพสต์เฟซบุ๊ก 25 ข้อความ และ 2 ข้อความ | 26 ม.ค. 2566 (ศาลจังหวัดเชียงราย) 18 ม.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 5) | ศาลพิพากษาว่ามีความผิดใน 14 กรรม ที่เป็นข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 และยกฟ้องอีก 13 กรรม ที่เป็นข้อความเกี่ยวกับอดีตกษัตริย์หรือไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ พิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้เหลือกระทงละ 2 ปี รวมโทษจำคุก 28 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาเห็นว่ามีความผิดเพิ่มเติมใน 11 กระทง ตามอุทธรณ์ของฝ่ายโจทก์ โดยเห็นว่ามีการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นอดีตกษัตริย์ ร.9 ซึ่งมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ตีความไว้ ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 22 ปี รวมโทษจำคุกทั้งหมดเป็น 50 ปี |
24 | คดีแขวนป้ายผ้า “งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID19” ที่จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563 | 31 ม.ค. 2566 (ศาลจังหวัดลำปาง) 30 ม.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 5) | ศาลพิพากษายกฟ้อง เห็นว่าข้อความในป้ายไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 112 ไม่ได้ระบุว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ แต่ลงโทษปรับเฉพาะจำเลยที่ 1 ในข้อหาตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน * คดีสิ้นสุดแล้ว |
25 | คดี “นิว” สิริชัย นาถึง พ่นสีสเปรย์ข้อความ “ยกเลิก 112 และ “ภาษีกู” บนรูปพระราชวงศ์บริเวณย่านคลองหลวง | 15 ก.พ. 2566 (ศาลจังหวัดธัญบุรี) | ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตามฟ้อง เห็นว่าแม้ไม่ได้พ่นข้อความบนพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 แต่การพ่นบนรูปภาพของสมาชิกราชวงศ์ ย่อมส่งผลกระทบต่อรัชกาลที่ 10 เป็นการกระทำที่ด้อยค่าและทำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสีย ลงโทษตามมาตรา 112 จำคุก 3 ปี ฐานทำให้เสียทรัพย์ จำคุกกระทงละ 2 เดือน ปรับกระทงละ 6,000 บาท รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 10 เดือน ปรับ 30,000 บาท และกรณีครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า ลงโทษปรับ 1,177 บาท รวมโทษจำคุก 3 ปี 10 เดือน ปรับ 31,177 บาท แต่ไม่ปรากฎว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุก และจำเลยยังเป็นนักศึกษาอยู่ โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
26 | คดีสุรีมาศ แชร์ลิงก์คลิปผู้ทำพิธีขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จากกลุ่มเฟซบุ๊ก ‘รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง’ | 20 ก.พ. 2566 (ศาลจังหวัดกระบี่) 24 ต.ค. 2566 (ศาลอุทธรณ์ ภาค 8 ) | ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่าจำเลยมีพยานเบิกความให้เห็นว่าหากไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มส่วนตัว ก็จะปรากฏเห็นเพียงภาพหน้าปกของกลุ่มส่วนตัว การที่จะเห็นลิงก์ตามโพสต์ต้นทางได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อน โดยพยานทำคลิปจำลองสถานการณ์อย่างละเอียด เป็นลำดับขั้นตอน มีน้ำหนัก และน่าเชื่อถือ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีความชำนาญในการใช้เฟซบุ๊กถึงขนาดที่จะทราบสถานการณ์ดังกล่าวได้ กรณีจึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน * คดีสิ้นสุดแล้ว |
27 | คดีของ “ต้นไม้” กรณีจัดจำหน่ายปฏิทินตั้งโต๊ะ รูปเป็ดเหลือง ประจำปี 2564 ในเพจเฟซบุ๊ก “ราษฎร” | 7 มี.ค. 2566 (ศาลอาญาตลิ่งชัน) 28 ต.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์) | ศาลลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา เห็นว่าพยานโจทก์เบิกความในทำนองเดียวกันว่าภาพเป็ดในปฏิทินสื่อถึงรัชกาลที่ 10 เป็นการด้อยค่า หมิ่นประมาท สร้างความเสื่อมเสียศรัทธาต่อพระมหากษัตริย์ ขณะที่จำเลยได้มีส่วนในการกระทำความผิดร่วมกัน และหากไม่เห็นเนื้อหาในปฏิทินก็ต้องเห็นหน้าปกที่มีข้อความว่า ‘ปฏิทินพระราชทาน’ ขณะที่พยานจำเลยเบิกความเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน |
28 | คดีพรชัย วิมลศุภวงศ์ โพสต์ข้อความ รวม 4 โพสต์ | 13 มี.ค. 2566 (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) 5 เม.ย. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 5) | ศาลเห็นว่าที่จำเลยอ้างว่าบัญชีเฟซบุ๊กถูกโจรกรรมเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ ไม่มีพยานหลักฐาน จึงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความ ลงโทษตามมาตรา 112 ที่เป็นบทหนักสุด จำคุกกรรมละ 3 ปี รวม 4 กรรม รวมจำคุก 12 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน * คดีสิ้นสุดแล้ว |
29 | คดีของ “ใจ” ทวีตรูปภาพและข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 9 | 14 มี.ค. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่ามาตรา 112 ไม่ได้บัญญัติว่าคุ้มครองเฉพาะกษัตริย์ที่ครองราชย์อยู่เท่านั้น และแม้จะสวรรคตไปแล้ว ก็ยังมีความผิด เนื่องจากข้อความดังกล่าวกระทบต่อรัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นพระราชโอรส และทรงขึ้นครองราชย์อยู่ในปัจจุบัน ลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษ 1 ใน 3 คงจำคุก 2 ปี |
30 | คดีฉัตรมงคล วัลลีย์ คอมเมนต์ข้อความในโพสต์ของเพจ “ศรีสุริโยไท” | 27 มี.ค. 2566 (ศาลจังหวัดเชียงราย) 1 พ.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 5) | ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา พิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ เห็นว่าไม่มีพยานบุคคลและหลักฐานยืนยันว่าจำเลยกระทำผิด จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 กลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เห็นว่ามีความผิดตามฟ้อง โดยรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ และเห็นว่าพยานหลักฐานจำเลยยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษ 1 ใน 4 คงโทษจำคุก 27 เดือน |
31 | คดี “สมพล” ปาสีน้ำสีแดงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ ร.10 ในพื้นที่ สภ.ปากคลองรังสิต | 28 มี.ค. 2566 (ศาลจังหวัดปทุมธานี) 3 ธ.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 1) | ศาลยกฟ้องข้อหาตามมาตรา 112 เห็นว่าจำเลยมีเจตนามุ่งทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นเท่านั้น แต่ลงโทษในข้อหาตามมาตรา 360 จำคุก 1 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 เดือน การกระทำของจำเลยไม่เหมาะสม มีความร้ายแรง จึงไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 112 เห็นว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาดูหมิ่นกษัตริย์และพระราชินี เป็นการทำให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่ากษัตริย์อยู่ในฐานะที่ไม่ควรเคารพสักการะ ลงโทษจำคุก 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน |
32 | คดี “สมพล” ปาสีน้ำสีแดงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ ร.10 3 จุด ในพื้นที่ สภ.เมืองปทุมธานี | 28 มี.ค. 2566 (ศาลจังหวัดปทุมธานี) 3 ธ.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 1) | ศาลยกฟ้องข้อหาตามมาตรา 112 เห็นว่าจำเลยมีเจตนามุ่งทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นเท่านั้น แต่ลงโทษในข้อหาตามมาตรา 360 จำคุกกระทงละ 1 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุกกระทงละ 6 เดือน รวมจำคุก 18 เดือน ไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 112 เห็นว่าจำเลยขว้างปาสีในอีกหลายท้องที่ พฤติกรรมแสดงให้เห็นว่าจำเลยมุ่งประสงค์ต่อพระบรมฉายาลักษณ์เป็นการเฉพาะ ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษเหลือจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 6 ปี |
33 | คดี “สายน้ำ” ถูกกล่าวหาแปะกระดาษ “CANCEL LAW 112” และใช้สีสเปรย์สีดำพ่นทับข้อความ “ทรงพระเจริญ” บนรูปรัชกาลที่ 10 ระหว่างการชุมนุม 18 ก.ค. 2564 | 30 มี.ค. 2566 (ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง) 8 ก.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ) | ศาลยกฟ้องข้อหาตามมาตรา 112, วางเพลิงเผาทรัพย์, ทำให้เสียทรัพย์ เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอว่าจำเลยกระทำการดังกล่าว แต่ลงโทษปรับในข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน |
34 | คดี “รามิล” ศิวัญชลี วิธญเสรีวัฒน์ แสดง Performance Art ที่ป้ายหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2564 ถูกกล่าวหาว่าแสดงท่าทางคล้ายครุฑและใช้เท้าชี้ไปที่พระบรมฉายาลักษณ์ | 8 พ.ค. 2566 (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) 4 ก.ย. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 5) | ศาลพิพากษายกฟ้อง เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังชี้ไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการอาฆาตมาดร้าย ดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาท อีกทั้งการแสดงของจำเลยไม่ได้เจาะจงตัวบุคคล ประกอบกับป้ายหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถานที่ชุมนุมอยู่เป็นประจำ อีกทั้งพยานโจทก์ได้เบิกความถึงคลิปวิดีโอภาพเคลื่อนไหวซึ่งเป็นพยานหลักฐานในคดี แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการนำส่งเข้ามาในการพิจารณาคดีนี้ จึงทำให้พยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน เห็นว่าพยานโจทก์มีพิรุธ ไม่น่าเชื่อถือ จนท.ตำรวจไม่ส่งหลักฐานคลิปวิดีโอการแสดง ทั้งที่เป็นหลักฐานสำคัญ การแสดงของจำเลยแม้ไม่เหมาะสมบ้าง แต่ไม่ถึงขนาดเป็นความผิดมาตรา 112 และเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ |
35 | คดี “ไวรัส” โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก 3 ข้อความ และติ๊กต็อก 2 ข้อความ มีเนื้อหาเกี่ยวกับรัชกาลที่ 9 และ 10 | 11 พ.ค. 2566 (ศาลอาญา) | จำเลยให้การรับสารภาพกรณีโพสต์ 2 ข้อความ แต่ต่อสู้อีก 3 ข้อความ ศาลเห็นว่าโพสต์ข้อความของจำเลยเป็นการดูหมิ่น แม้จะไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริงใด และการหมิ่นประมาทอดีตพระมหากษัตริย์ย่อมกระทบต่อพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน ลงโทษจำคุกกรรมละ 3 ปี รวม 5 กระทง เป็น 15 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 5 ปี 30 เดือน โทษจำคุกให้รอลงอาญา 3 ปี โดยอธิบดีศาลอาญาทำความเห็นแย้ง เห็นว่าไม่สมควรให้รอลงอาญา |
36 | คดีศิระพัทธ์ ดีสวัสดิ์ ปลดพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 พร้อมกรอบรูปไปจากป้อมยามหน้าหมู่บ้าน แล้วนำกรอบรูปไปทิ้งลงคลอง | 1 มิ.ย. 2566 (ศาลจังหวัดนนทบุรี) 11 ธ.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 1) | ศาลพิพากษายกฟ้องข้อหามาตรา 112 เห็นว่าพฤติการณ์ของจำเลยเป็นเพียงเจตนาที่ต้องการลักขโมยของยามวิกาลเท่านั้น เนื่องจากภาพในกล้องวงจรปิด จำเลยได้กระทำการเพียงลำพัง และกรอบรูปดังกล่าวมีความหนัก คงไม่สามารถจะเดินถือด้วยวิธีการปกติได้ ฟังมิได้ว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษที่ดูหมิ่นกษัตริย์อย่างไร แต่เห็นว่ามีความผิดข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืน และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ลงโทษจำคุกรวม 9 เดือน ปรับ 30,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน |
37 | คดีชูเกียรติ แสงวงค์ ถูกกล่าวหาแปะกระดาษที่มีข้อความ “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล!” บนรูปรัชกาลที่ 10 หน้าศาลฎีกา ในระหว่าง #ม็อบ20มีนา64 | 15 มิ.ย. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษายกฟ้องข้อหามาตรา 112 เห็นว่าคดีมีประจักษ์พยานเพียงคนเดียว และเป็นการเห็นเพียงข้างหลัง ไกลจากที่เกิดเหตุ 10 เมตร ส่วนภาพกล้องวงจรปิดเป็นมุมจากระยะไกล ไม่ทราบว่าถ่ายไว้เมื่อใด ยังมีข้อสงสัยอยู่พอสมควร จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย แต่เห็นว่าจำเลยมีความผิดข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ลงโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี |
38 | คดีทีปกร โพสต์ข้อความและแชร์คลิปจากยูทูบ ตั้งคำถามและวิจารณ์กษัตริย์ | 19 มิ.ย. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการมิบังควรยิ่ง แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่ต้องการพิมพ์ข้อความและสื่อสารโดยตรงถึงรัชกาลที่ 10 และต้องการให้ประชาชนที่พบเห็น เข้าใจคำว่ากษัตริย์ในคลิปดังกล่าวหมายถึงรัชกาลที่ 10 และบิดเบือนทำให้เข้าใจว่าคนที่ทำคุณประโยชน์ต่อแผ่นดินและสร้างประเทศนี้คือประชาชนไม่ใช่กษัตริย์ ซึ่งใช้จ่ายภาษีของประชาชน พิพากษาจำคุก 3 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
39 | คดีชูเกียรติและวรรณวลี ปราศรัยในม็อบวงเวียนใหญ่ วันที่ 6 ธ.ค. 2563 | 27 มิ.ย. 2566 (ศาลอาญาธนบุรี) | ศาลเห็นว่าคำปราศรัยของจำเลยทั้งสอง ทำให้พระมหากษัตริย์ถูกดูหมิ่น หมิ่นประมาท และอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ครบองค์ประกอบมาตรา 112 ลงโทษจำคุกคนละ 4 ปี ทางนำสืบจำเลยให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษลงหนึ่งในสาม คงโทษจำคุกคนละ 2 ปี 8 เดือน |
40 | คดี “เบลล์” โพสต์รูปภาพถ่ายจุดต่างๆ ในพัทลุง และใส่ข้อความทางการเมืองประกอบในเพจเฟซบุ๊ก “พัทลุงปลดแอก” และ “ประชาธิปไตยในด้ามขวาน” รวม 2 กระทง | 12 ก.ค. 2566 (ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง) 24 ก.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ) | ศาลเชื่อว่าจำเลยเป็นแอดมินเพจเฟซบุ๊ก “พัทลุงปลดแอก” และเกี่ยวข้องกับภาพข้อความตามฟ้องจริง และข้อความที่ใส่ในภาพ ตีความเป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้าย ลดทอนคุณค่า ความน่าเชื่อถือขององค์พระมหากษัตริย์ และอาจทำให้ประชาชนก่อความไม่สงบในสังคมได้ ลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมโทษจำคุก 2 ปี 12 เดือน โดยให้เปลี่ยนจากโทษจำคุกเป็นนำตัวไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เป็นระยะเวลา 2 ปี ศาลอุทธรณ์แก้เป็นเห็นว่าจำเลยมีความผิด 1 กระทง ยกฟ้องอีก 1 กระทง ลงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 3 ปี พร้อมกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติต่าง ๆ |
41 | คดี “สายน้ำ” แต่งครอปท็อปเข้าร่วมเดินแฟชั่นโชว์ และเขียนข้อความบนร่างกายในการชุมนุม #ภาษีกู เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2563 บนถนนสีลม | 20 ก.ค. 2566 (ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง) 16 ก.ย. 2567 (ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ) | ศาลพิเคราะห์จากบริบท พฤติการณ์ และอารมณ์ความรู้สึกของผู้ร่วมชุมนุมกับผู้ชม แสดงให้เห็นว่าแฟชั่นโชว์ดังกล่าวมีเจตนาสื่อถึงสถาบันกษัตริย์ การที่จำเลยแต่งกายสวมครอปท็อป แสดงกิริยาโบกไม้โบกมือ คล้ายจำลองเหตุการณ์รัชกาลที่ 10 ทรงเยี่ยมราษฎร ถือเป็นการล้อเลียนเสียดสี และเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ พิพากษาจำคุก 3 ปี ขณะเกิดเหตุยังเป็นเยาวชนจึงลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง จึงลดโทษอีก 1 ใน 3 คงเหลือโทษจำคุก 12 เดือน ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปี และให้รายงานตัวต่อคุมประพฤติทุก 3 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน |
42 | คดี “แต้ม” ผู้ป่วยจิตเวช ทุบทำลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ในอำเภอตระการพืชผล อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2564 | 15 ส.ค. 2566 (ศาลจังหวัดอุบลราชธานี) 4 ก.ย. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 3) | โจทก์นำสืบเพียงว่าจำเลยทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ แต่ไม่ปรากฏว่า จำเลยมีกิริยาอาการในเชิงดูถูกหรืออื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามีจิตใจผูกใจเจ็บ อยากแก้แค้น ในการตรวจค้นที่พักอาศัยของจำเลย ไม่พบเอกสาร ข้อความ และพยานหลักฐานสื่อให้เห็นว่าผู้ต้องหามีการอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ หรือสื่อให้เห็นถึงการดูหมิ่น เหยียดหยาม เกลียดชัง จึงยกฟ้องข้อหามาตรา 112 แต่เห็นว่าขณะเกิดเหตุจำเลยมีอาการทางจิตไม่รุนแรงถึงขนาดไม่สามารถบังคับตนเองได้ จึงยังต้องรับโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา 358 ลงโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 6,000 บาท โทษจำคุกและปรับรอการลงโทษไว้ 5 ปี และให้จำเลยเข้ารับการรักษาอาการจิตเภทที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ตลอดเวลาที่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน |
43 | คดี “พชร” โพสต์ข้อความในกลุ่มเฟซบุ๊ก “รอยัลลิสต์มาร์เกตเพลส” 2 ข้อความ | 16 ส.ค. 2566 (ศาลจังหวัดสมุทรปราการ) 6 มิ.ย. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 1) | ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อหา พยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอในการยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความ พยานหลักฐานจึงไม่น่าเชื่อถือหรือพิสูจน์ความจริงได้ และพนักงานสอบสวนก็ไม่ได้มีการตรวจสอบ URL หรือ IP Address ของพยานหลักฐานดังกล่าว ประกอบกับจำเลยได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาตั้งแต่ในชั้นสอบสวน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลเชื่อว่าจากพยานหลักฐานจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความ ลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือจำคุก 2 ปี |
44 | คดีธนาธร วิทยเบญจางค์ อ่านแถลงการณ์และปราศรัย ในคาร์ม็อบเชียงใหม่ “ล้านนาต้านศักดินาทัวร์” เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2564 (รับสารภาพบางส่วน ต่อสู้บางส่วน) | 21 ส.ค. 2566 (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) 9 ต.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 5) | ศาลยกฟ้อง 1 กระทงที่ต่อสู้คดี เห็นว่าคำว่า “สถาบันกษัตริย์” ในแถลงการณ์ ไม่ได้ระบุเจาะจงถึงตัวบุคคลหรือองค์พระมหากษัตริย์ และเห็นว่ามีความผิดใน 1 กระทง ที่จำเลยให้การรับสารภาพ ลงโทษจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน และลงโทษในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จำคุกอีก 1 เดือน รวมจำคุก 1 ปี 7 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน |
45 | คดี “เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง ปราศรัยในกิจกรรม #ทัวร์มูล่าผัว ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2565 | 24 ส.ค. 2566 (ศาลอาญา) | ข้อความปราศรัยของจำเลยเป็นการเปรียบเทียบว่า ต่อให้รัชกาลที่ 10 และพระราชินีทำบุญ พระบารมีก็ไม่สูงขึ้น ซึ่งไม่เป็นความจริง เป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 และพระราชินีทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ถูกดูหมิ่น หรือเกลียดชัง ลงโทษจำคุก 3 ปี และลงโทษจำคุก 6 เดือน ในข้อหาใช้เครื่องขยายเสียง (ข้อหานี้โทษตามกฎหมาย มีเพียงโทษปรับไม่เกิน 200 บาท) รวมจำคุก 3 ปี 6 เดือน |
46 | คดี “รามิล-เท็น” แสดงงานศิลปะคล้ายธงชาติที่ไม่มีสีน้ำเงิน ในงานกิจกรรมชุมนุมบริเวณสนามรักบี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2564 | 28 ส.ค. 2566 (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) | ศาลเห็นว่าวัสดุที่ทั้งคู่นำไปวางไว้ มีลักษณะใกล้เคียงกับธงชาติ ตาม พ.ร.บ.ธง มาตรา 5 การไม่มีแถบสีน้ำเงิน แสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้มีพระมหากษัตริย์ในธงชาติ ลดทอนคุณค่าของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน เข้าข่ายมาตรา 112 ลงโทษตามมาตรา 112 จำคุก 4 ปี และ พ.ร.บ.ธง จำคุก 8 เดือน ปรับคนละ 2,000 บาท ให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 4 เหลือจำคุกรวม 3 ปี 6 เดือน ปรับคนละ 1,500 บาท จำเลยทั้งสองยังเป็นนักศึกษา และไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ใหัรอการลงโทษจำคุกไว้ 3 ปี และคุมประพฤติ 2 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
47 | คดี “สมพล” ปาสีน้ำสีแดงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ ร.10 บริเวณหน้าห้างโลตัส สาขารังสิต | 29 ส.ค. 2566 (ศาลจังหวัดธัญบุรี) 26 มิ.ย. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 1) | ศาลยกฟ้องข้อหาตามมาตรา 112 แต่ลงโทษในข้อหาตามมาตรา 360 จำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหานี้ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แก้คำพิพากษา เห็นว่ามีความผิดตามมาตรา 112 เห็นว่าจำเลยมีการปาสีน้ำใส่รูปในหลายท้องที่ มุ่งประสงค์จะกระทำต่อรูปเป็นการเฉพาะ อันเป็นการกระทำที่มิบังควรและหมิ่นพระเกียรติ เห็นว่าเป็นการดูหมิ่น ลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา |
48 | คดี “ปีเตอร์” ปราศรัยเกี่ยวกับการพระราชทานยศสุนัขทรงเลี้ยง และงบสถาบันกษัตริย์ ในการชุมนุม “กฐินราษฎร์ตลาดหลวง” เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2563 | 29 ส.ค. 2566 (ศาลจังหวัดอุดรธานี) 9 ต.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์) | ศาลพิพากษายกฟ้อง เห็นว่าคำปราศรัยเรื่องฟูฟู วิญญูชนทั่วไปที่ได้ฟังไม่สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าจำเลยหมายถึงใคร ส่วนเรื่องงบสถาบันกษัตริย์ จำเลยก็กล่าวถึงข้อมูลของงบสถาบันกษัตริย์โดยรวม ไม่ได้เฉพาะเจาะจงถึงกษัตริย์พระองค์ใด อีกทั้งมาจากข้อมูลที่เผยแพร่โดยทั่วไปในอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง จึงไม่รับวินิจฉัย พิพากษายกอุทธรณ์ |
49 | คดีของ “ปริญญา” โพสต์และแชร์ข้อความ (รับสารภาพบางส่วน ต่อสู้บางส่วน) | 31 ส.ค. 2566 (ศาลจังหวัดหนองบัวลำภู) | ศาลให้รอการลงโทษจำคุกไว้ |
50 | คดีพิมชนก ใจหงษ์ โพสต์ข้อความ ‘รัฐบาลส้นตีน สถาบันก็ส้นตีน🔥🙂’ | 6 ก.ย. 2566 (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) | ศาลเห็นว่าจำเลยมีเจตนาโพสต์ถึงสถาบันกษัตริย์ และเห็นว่ามาตรา 112 คุ้มครองทั้งสถาบันกษัตริย์ แม้ไม่ได้กล่าวถึงกษัตริย์พระองค์ใด ก็เป็นการดูหมิ่น ให้ร้าย ลดทอนคุณค่าของพระมหากษัตริย์ พิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา |
51 | คดีอานนท์ นำภา ปราศรัยใน #ม็อบ14ตุลา2563 | 26 ก.ย. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการทำให้กษัตริย์เสื่อมเสีย เจตนาของจำเลยรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการป้องกันผู้ชุมนุม หรือป้องกันเหตุการณ์สลายการชุมนุมอย่างไร พิพากษาลงโทษจำคุก 4 ปี ไม่รอลงอาญา |
52 | คดีวีรภาพ วงษ์สมาน พ่นสีสเปรย์ข้อความปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ บริเวณแยกดินแดง ระหว่างการชุมนุมเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2564 | 28 ก.ย. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์น่าเชื่อถือว่าจำเลยเป็นผู้พ่นข้อความจริง แม้คำว่าปฏิรูปสถาบันฯ เป็นคำแสดงความคิดเห็นโดยทั่วไป แต่เมื่อพิจารณาถึงคำไม่สุภาพที่พ่นต่อท้าย พบว่าเป็นคำสบถ หยาบคาย เจตนาว่าร้ายพระมหากษัตริย์ ประชาชนทั่วไปสามารถพบข้อความดังกล่าวได้ ทำให้เกิดความเกลียดชังและสร้างความเสื่อมเสียต่อในหลวงรัชกาลที่ 10 พิพากษาจำคุก 3 ปี ไม่รอลงอาญา |
53 | คดีวรรณวลี ธรรมสัตยา และเพื่อน รวม 3 คน โพสต์ภาพที่ทั้งสามถือป้ายข้อความ ซึ่งถ่ายในระหว่างการชุมนุม #บ๊ายบายไดโนเสาร์ บริเวณสถานีบีทีเอสสยาม เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 | 10 ต.ค. 2566 (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) | ศาลเห็นว่าข้อความเฉพาะในป้ายที่วรรณวลีถือเข้าข่ายเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน ลงโทษจำคุก 4 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษหนึ่งในสาม เหลือจำคุก 2 ปี 8 เดือน ส่วนจำเลยอีกสองราย ข้อความในป้ายที่ถือ ไม่ชัดเจนว่าหมายถึงบุคคลใด ทั้งจำเลยทั้งสองไม่ได้กดรับที่จำเลยที่ 1 แท็กมา ไม่ได้กดไลท์ กดแชร์ต่อ จึงยังไม่ชัดเจนว่าทั้งสองกระทำผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 และ 3 |
54 | คดี “โฟล์ค” สหรัฐ สุขคำหล้า ปราศรัยในม็อบ #บ๊ายบายไดโนเสาร์ บริเวณสถานีบีทีเอสสยาม เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 | 19 ต.ค. 2566 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | ศาลเห็นว่าข้อความของจำเลย เป็นการกล่าวล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชนเข้าใจว่ากษัตริย์ไม่น่าเคารพ เสื่อมศรัทธา พิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา |
55 | คดีเบนจา อะปัญ อ่านแถลงการณ์ในคาร์ม็อบ ‘คาร์ม็อบใหญ่ไล่ทรราช’ หน้าอาคารซิโน-ไทย เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564 | 30 ต.ค. 2566 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | ศาลเห็นว่าจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาท แม้จะเบิกความว่าข้อเรียกร้องในการชุมนุมไม่มีข้อใดที่เรียกร้องโดยตรงถึงกษัตริย์ แต่ไม่มีเหตุที่จะต้องกล่าวถึง ร.10 มาเปรียบเทียบให้เกิดความเสื่อมเสีย พิพากษาตามมาตรา 112 จำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี พิเคราะห์แล้วจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน และยังศึกษาอยู่ อยู่ในวิสัยที่จะกลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี |
56 | คดี “บัสบาส” มงคล ถิระโคตร โพสต์ข้อความ 2 โพสต์ วันที่ 28 และ 30 ก.ค. 2565 | 30 ต.ค. 2566 (ศาลจังหวัดเชียงราย) 4 ก.ย. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 5) | ศาลเห็นว่าทั้งสองข้อความเป็นความผิดตามมาตรา 112 ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือกระทงละ 2 ปี และบวกโทษจำคุกในคดีส่วนตัวที่เคยให้รอลงอาญาไว้ 6 เดือน รวมจำคุก 4 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน |
57 | คดีณัฐชนน ไพโรจน์ ถูกกล่าวหาว่าจัดพิมพ์หนังสือ “ปรากฏการณ์สะท้านฟ้า” ถอดเทปคำปราศรัย 10 ข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ หรือ “หนังสือปกแดง” | 8 พ.ย. 2566 (ศาลจังหวัดธัญบุรี) | ศาลเห็นว่าแม้ข้อความในหนังสือเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 แต่จากพยานหลักฐานโจทก์ นอกจากจำเลยแล้วก็มีบุคคลอีกหลายคนที่อยู่ในที่เกิดเหตุ และถึงแม้ว่าจำเลยจะขึ้นปราศรัยในวันที่ 10 ส.ค. 2563 แต่ก็ไม่มีคำปราศรัยของจำเลยในหนังสือ และไม่ทราบว่าใครเป็นผู้จัดพิมพ์ อีกทั้งไม่ปรากฏหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่ตรวจยึดหนังสือมาจากจำเลย พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ผลิตหรือครอบครองหนังสือดังกล่าว พิพากษายกฟ้อง แต่ให้ริบหนังสือของกลางทั้งหมด |
58 | คดี “โชติช่วง” ถูกกล่าวหาว่าวางเพลิงพระบรมฉายาลักษณ์ ติดตั้งอยู่ที่สวนหย่อมใต้ทางต่างระดับบางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี | 30 พ.ย. 2566 (ศาลจังหวัดนนทบุรี) | ศาลเห็นว่าพระบรมฉายาลักษณ์เป็นสัญลักษณ์มีค่าเท่ากับพระมหากษัตริย์ ประดิษฐานไว้ให้ประชาชนเคารพสักการะ แสดงความจงรักภักดี พระบรมฉายาลักษณ์ที่เกิดเหตุตั้งอยู่ตรงข้ามห้างสรรพสินค้า มีประชาชนผ่านไปมาจำนวนมาก แสดงว่าการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ดังกล่าวต้องการให้ประชาชนที่ผ่านไปมาพบเห็น เชื่อว่า จำเลยมีแนวคิดต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ มีเจตนาวางเพลิงเผาทรัพย์ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เกิดความเสื่อมเสีย ลงโทษตามมาตรา 112 จำคุก 3 ปี |
59 | คดีจิรวัฒน์ แชร์โพสต์เฟซบุ๊ก 3 ข้อความ เกี่ยวกับการผูกขาดวัคซีน-ตั๋วช้าง และคำปราศรัยของมายด์ ภัสราวลี | 6 ธ.ค. 2566 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | ศาลเห็นว่าการแชร์ข้อความทั้งสามมีความผิดตามมาตรา 112 ทั้งหมด ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพในพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่เป็นการตั้งคำถามซึ่งแสดงความเคารพตามที่จำเลยมีข้อต่อสู้ พิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 9 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษหนึ่งในสาม เหลือจำคุก 6 ปี |
60 | คดีรักชนก ศรีนอก ทวีตข้อความเกี่ยวกับการผูกขาดวัคซีน และรีทวีตข้อความเกี่ยวกับกษัตริย์ | 13 ธ.ค. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าข้อความมีเนื้อหาเป็นการกล่าวร้ายและอาฆาตมาดร้ายต่อรัชกาลที่ 10 และราชวงศ์จักรี ซึ่งย่อมหมายถึงพระราชินีด้วย แม้ไม่ได้พิมพ์ URL ไว้ แต่ไม่มีเหตุใดให้เชื่อว่าพนักงานสอบสวนและผู้กล่าวหาจะร่วมกันจัดแต่ง URL ขึ้นมาเอง ประกอบกับจำเลยไม่ได้ให้การทักท้วงหรือปฏิเสธความมีอยู่หรือความถูกต้องของ URL ในชั้นสอบสวน ข้อต่อสู้ของจำเลยในชั้นพิจารณาจึงมีน้ำหนักน้อย เห็นว่ามีความผิดตามฟ้องทั้งสองกระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี |
61 | คดีนารา ร่วมถ่ายทำและเผยแพร่คลิปวิดีโอโปรโมทแคมเปญลดราคาสินค้าของบริษัท Lazada | 21 ธ.ค. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อหา เห็นว่าจำเลยทำคลิปโฆษณาสินค้าลงเผยแพร่สาธารณะ โดยได้แสดงบทบาทสมมติต่าง ๆ มีการสวมใส่ชุดไทย ใช้คำพูดธรรมดาสามัญ ไม่ได้มีการใช้คำพูดราชาศัพท์ คำหยาบคายหรือดูหมิ่น ไม่มีการแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันกษัตริย์ และไม่มีการยืนยันข้อเท็จจริงในลักษณะการอาฆาตมาดร้าย จึงยังไม่ถึงขนาดเข้าข่ายมาตรา 112 ศาลยังอธิบายความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ว่าถ้อยคำว่าผู้ใดจะละเมิดมิได้นั้น กล่าวคือพระมหากษัตริย์ไม่สามารถถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ เพราะการกระทำใด ๆ ของพระมหากษัตริย์จะเป็นความผิดไม่ได้ เพราะไม่ได้กระทำเองโดยตรง |
62 | คดี “เก็ท โสภณ-โจเซฟ” ปราศรัยในกิจกรรม #ฟื้นฝอยหาตะเข็บ #ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน ที่วงเวียนใหญ่ เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2565 | 27 ธ.ค. 2566 (ศาลอาญาธนบุรี) | ศาลเห็นว่า “เก็ท โสภณ” มีความผิดตามมาตรา 112 คำปราศรัยทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสีย ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ลงโทษจำคุก 3 ปี แต่ยกฟ้อง “โจเซฟ” เห็นว่าปราศรัยกล่าวถึงรัชกาลที่ 1 เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริง |
63 | คดี “ฟ้า-แอมมี่” ปราศรัยหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี เรียกร้องปล่อยตัว “นิว สิริชัย” ผู้ถูกจับกุมคดี ม.112 (ฟ้า จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพหลังเริ่มสืบพยาน ส่วนแอมมี่ จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดี) | 28 ธ.ค. 2566 (ศาลจังหวัดธัญบุรี) | ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 รับฟังจากพยานโจทก์ เห็นว่าขึ้นปราศรัยและร้องเพลงต่อจากจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ร่วมตระเตรียมกับพวกให้ร้องรับว่าอย่างไร การร้องรับจึงอาจเกิดจากเจตนาของจำเลยที่ 1 กับพวก จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 2 ลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 2 ปี พฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง จึงไม่รอลงอาญา |
64 | คดีสุปรียา ใจแก้ว วางป้ายผ้า “งบสถาบันฯ>งบเยียวยาประชาชน” บริเวณห้าแยกพ่อขุนเม็งราย จังหวัดเชียงราย | 28 ธ.ค. 2566 (ศาลจังหวัดเชียงราย) | ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อหา เห็นว่า ข้อความเป็นการวิพากษ์วิจารณ์งบประมาณแผ่นดิน ไม่ปรากฏว่ามีลักษณะหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย และการจัดการงบประมาณแผ่นดินนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ใช่พระราชอำนาจ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นการใส่ความหรือให้ร้ายพระมหากษัตริย์ พยานโจทก์ยังแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่เห็นว่าเป็นความผิดกับไม่เป็นความผิด ซึ่งการตีความจะต้องพิจารณาจากภาวะวิสัย ไม่ใช่พิจารณาลงโทษจำเลยตามอัตวิสัยตามความคิดเห็นส่วนตัวของแต่ละบุคคล |
65 | คดีอานนท์ นำภา กรณีโพสต์ 3 ข้อความในเฟซบุ๊ก เมื่อเดือนมกราคม 2564 มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การบังคับใช้มาตรา 112 กับผู้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ และเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันฯ | 17 ม.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าพยานโจทก์ทุกปากที่เข้านำสืบเบิกความในทำนองเดียวกันว่า โพสต์ทั้งสามมีลักษณะใส่ร้าย ร.10 ทำให้รู้สึกไม่ดีและดูหมิ่นเกลียดชัง แม้จะใช้คำว่า “ระบอบกษัตริย์” และ “สถาบันกษัตริย์” ไม่ได้มีการเจาะจงถึง ร.10 แต่เมื่ออ่านข้อความทั้งหมดแล้ว จะเข้าใจได้ว่าสื่อถึงรัชกาลที่ 10 นอกจากนี้ การที่จำเลยขอออกหมายเรียกเอกสารสำคัญอย่างตารางการเดินทางเข้าออกประเทศของ ร.10 เห็นว่า หากไม่ได้มุ่งหมายถึงในหลวงแล้ว เหตุใดถึงต้องอ้างหลักฐานดังกล่าว อีกทั้งจำเลยยังเบิกความอ้างว่า ต้องการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ ร.10 ให้กลับไปเป็นเหมือนในสมัย ร.9 จึงเป็นการตอกย้ำยืนยันว่า ทั้งสามข้อความกล่าวถึงกษัตริย์องค์ปัจจุบัน เห็นว่ามีความผิดตามฟ้อง พิพากษาลงโทษจำคุก 4 ปี |
66 | คดีภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ปราศรัยในการชุมนุม #ม็อบ24มีนา64 #เพราะประเทศนี้เป็นของราษฎร ที่สี่แยกราชประสงค์ | 31 ม.ค. 2567 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | ศาลเห็นว่าข้อความปราศรัยเป็นการกล่าวให้กษัตริย์เสื่อมเสีย และแม้จำเลยจะต่อสู้ในชั้นศาลโดยมีพยานหลักฐานเป็นเอกสารอ้างอิงข้อมูลคำปราศรัย แต่ศาลห็นว่าหากจำเลยมุ่งหมายจะเสนอข้อแนะนำ ย่อมนำเอกสารต่างๆ ไปอ้างอิงในการกล่าวปราศรัยได้ ไม่มีเหตุจำเป็นต้องกล่าวปราศรัยให้กษัตริย์เสื่อมเสีย การกระทำของจำเลยทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาในสถาบันกษัตริย์ ลงโทษจำคุก 3 ปี ทางนำสืบเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุก 2 ปี เห็นว่าจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุก และกำลังศึกษาอยู่ ให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
67 | คดี “ฟลุค กิตติพล” ถือป้าย “ไม่มีจะแดกในรัชกาลที่ 10” ระหว่างกิจกรรมคาร์ม็อบอุบลราชธานี | 7 ก.พ. 2567 (ศาลจังหวัดอุบลราชธานี) | ศาลพิพากษายกฟ้อง เห็นว่าข้อความไม่ได้เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พยานโจทก์ก็เบิกความว่า “ในรัชกาลที่ 10” อาจหมายถึงระยะเวลาหรือยุคสมัย ไม่ใช่ตัวบุคคลหรือองค์พระมหากษัตริย์เพียงอย่างเดียว จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่แท้จริงจะสื่อถึงพระมหากษัตริย์ในช่วงเวลานั้นๆ |
68 | คดี “สามราษฎรใต้” ขับขี่รถไปถ่ายภาพสถานที่ในพัทลุง และนำภาพถ่ายไปใส่ข้อความทางการเมืองประกอบ ก่อนโพสต์ลงในเพจเฟซบุ๊ก “พัทลุงปลดแอก” และ “ประชาธิปไตยในด้ามขวาน” | 13 ก.พ. 2567 (ศาลจังหวัดพัทลุง) | ศาลพิพากษายกฟ้อง เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย |
69 | คดี “ขนุน” สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ ปราศรัยในชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎรประสงค์ เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563 | 25 มี.ค. 2567 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | ศาลเห็นว่าคำปราศรัยของจำเลย เป็นข้อความมิบังควร จาบจ้วง ให้ร้าย ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ดูหมิ่น เกลียดชัง ไม่ใช่การติชมโดยสุจริต พิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษ 1 ใน 3 คงจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา |
70 | คดี “สมพล” ปาสีน้ำสีแดงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ ร.10 บริเวณทางขึ้นทางด่วนศรีสมาน ปากเกร็ด | 27 มี.ค. 2567 (ศาลจังหวัดนนทบุรี) | ศาลยกฟ้องข้อหาตามมาตรา 112 เห็นว่าจำเลยมีเจตนามุ่งทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ไม่มีข้อความหรือการกระทำที่เป็นการดูหมิ่น-อาฆาตมาดร้าย แต่ลงโทษในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ จำคุก 1 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือจำคุก 8 เดือน ไม่รอลงอาญา |
71 | คดีอานนท์ นำภา ปราศรัยในการชุมนุม ‘เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาชน’ หรือ #ม็อบแฮร์รี่พอตเตอร์2 ที่ลานหอศิลปกรุงเทพฯ วันที่ 3 ส.ค. 2564 | 29 เม.ย. 2567 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | ศาลเห็นว่าจำเลยกล่าวใส่ความรัชกาลที่ 10 ว่านำของที่ประชาชนใช้ร่วมกันมาเป็นของตนเอง เป็นการหมิ่นประมาท แม้จำเลยจะเบิกความว่าเป็นการวิจารณ์ตรงไปตรงมา แต่ไม่อาจถ่ายทอดความเข้าใจของจำเลยซึ่งเป็นผู้กล่าวเท่านั้น มาตรา 112 ไม่ได้มีเหตุยกเว้นความผิดในทำนองเดียวกับความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา ลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือ 2 ปี รวมโทษกับข้อหาอื่น คือจำคุก 2 ปี 20 วัน |
72 | คดีภาณุพงศ์ จาดนอก โพสต์ข้อความ #ราษฎรสาส์น ถึงสถาบันกษัตริย์ | 8 พ.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าข้อความที่จำเลยโพสต์เจตนาต้องการสื่อตรงถึงรัชกาลที่ 10 มีลักษณะเป็นการลดทอนคุณค่าของสถาบันกษัตริย์ฯ โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 ทรงเสื่อมเสียชื่อเสียง ทรงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จึงเห็นว่ามีความผิดตามฟ้อง พิพากษาลงโทษจำคุก 4 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 4 คงจำคุก 3 ปี |
73 | คดีชลธิชา แจ้งเร็ว ปราศรัยประเด็นการแก้ไขกฎหมายโอนย้ายทรัพย์สินของกษัตริย์ หน้าศาลจังหวัดธัญบุรี เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2564 | 27 พ.ค. 2567 (ศาลจังหวัดธัญบุรี) | ศาลเห็นว่าคำปราศรัยทำให้ประชาชนคิดว่าพระมหากษัตริย์เอาทรัพย์สินส่วนรวมมาเป็นส่วนตัว แทรกแซงอำนาจฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ เป็นการทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและเกลียดชัง ลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือจำคุก 2 ปี |
74 | คดีแอมมี่-ปูน ถูกกล่าวหาวางเพลิงพระบรมฉายาลักษณ์หน้าเรือนจำคลองเปรม | 27 พ.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่า แม้จำเลยจะอ้างว่าการเผาเป็นเพียงการแสดงออกเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษทางการเมือง แต่ย่อมแสดงให้เห็นว่า หากไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของจำเลย จำเลยย่อมสามารถเผาหรือทำลายตัวพระมหากษัตริย์ได้ จึงถือเป็นการขู่เข็ญและเป็นการลดคุณค่าของตัวพระมหากษัตริย์ ทั้งจำเลยที่ 1 (แอมมี่) ยังเผยแพร่ภาพให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียชื่อเสียง ลงโทษแอมมี่ตามมาตรา 112 จำคุก 3 ปี และตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษหนึ่งในสาม เหลือจำคุก 4 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 (ปูน) ลงโทษตามมาตรา 112 จำคุก 3 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เนื่องจากขณะเกิดเหตุอายุ 18 ปี เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน และให้การเป็นประโยชน์ลดโทษหนึ่งในสาม เหลือจำคุก 1 ปี |
75 | คดีมิกกี้บัง-จิตริน ถูกกล่าวหาเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ และวางเพลิงเผาป้อมควบคุมสัญญาณไฟจราจร ใน #ม็อบ19กันยา64 | 30 พ.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิจารณาพยานหลักฐานแล้ว เชื่อว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนร่วมในการเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ และเชื่อตามพยานโจทก์ ที่อ้างว่าการวางเพลิงรูปเป็นการสาปแช่ง อาฆาตมาดร้าย เป็นการกระทำที่ไม่สมควร ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ เข้าข่ายมาตรา 112 ลงโทษจำคุกคนละ 3 ปี และลงโทษเฉพาะมิกกี้บังกรณีวางเพลิงเผาป้อมเพิ่ม |
76 | คดี “เพชร-บีม” เข้าร่วมกิจกรรม #ใครๆก็ใส่ครอปท็อป ไปเดินสยามพารากอน เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2563 | 5 มิ.ย. 2567 (ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง) | ศาลพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองเข้าร่วมกิจกรรมโดยตลอด แม้จะได้อ่านดูข้อความบนร่างกายและการแสดงออกของนักกิจกรรมคนอื่นๆ หากจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาดูหมิ่นและหมิ่นประมาทก็ควรจะปลีกตัวแยกออกไป แต่จำเลยทั้งสองคนไม่ได้ปลีกตัวแยกออกไปแต่อย่างใด ยังคงอยู่ทำกิจกรรม จึงมีลักษณะเป็นการเห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว ให้ลงโทษจำคุกคนละ 3 ปี แต่ทั้งสองมีอายุ 17 ปี จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 1 ปี 6 เดือน พิจารณารายงานพฤติกรรมและประวัติการศึกษาแล้ว ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นเข้ารับการฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนกรุงเทพฯ กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำ 1 ปี และขั้นสูง 2 ปี โดยต้องรับการฝึกวิชาชีพจำนวน 3 หลักสูตร และต้องศึกษาสายสามัญให้สำเร็จ |
77 | คดีอานนท์ นำภา โพสต์เฟซบุ๊ก 2 ข้อความ โพสต์วิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินของรัชกาลที่ 10 | 25 ก.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลวินิจฉัยโต้แย้งข้อต่อสู้ของอานนท์ ว่าการใช้อำนาจของรัชกาลที่ 10 ในการแก้รัฐธรรมนูญหลังผ่านประชามติ ไม่ขัดต่อหลักการปกครอง และการออกกฎหมายเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทรัพย์สินกษัตริย์และการจัดการบริหารราชการในพระองค์ เป็นความเห็นชอบของสภา ไม่เกี่ยวข้องกับพระองค์ จึงเห็นว่าจำเลยใส่ความพระมหากษัตริย์ทำให้พระองค์เสื่อมเสียพระเกียรติ ไม่ได้เป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวม 2 กระทง จำคุก 6 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดหนึ่งในสาม เหลือจำคุก 4 ปี |
78 | คดีพริษฐ์ ชิวารักษ์ โพสต์ภาพรัชกาลที่ 10 กลับหัวและมีข้อความประกอบ ในวันที่ 28 ก.ค. 2564 | 31 ก.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าภาพและข้อความของจำเลยเข้าลักษณะดูหมิ่นและแสดงความอาฆาดมาดร้ายรัชกาลที่ 10 ลงโทษจำคุก 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 2 ปี |
79 | คดี “ตี๋” ถูกกล่าวหาว่าแจกจ่าย “หนังสือปกขาว” รวมบทปราศรัยคัดสรรคดี 112 ระหว่างงานรับปริญญาที่ ม.นเรศวร เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2564 | 29 ส.ค. 2567 (ศาลจังหวัดพิษณุโลก) | ศาลเห็นว่าจากพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานตำรวจ เชื่อได้ว่าจำเลยเป็นแกนนำทำกิจกรรม ส่วนข้อความในหนังสือ เห็นว่ามี 3 ข้อความที่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 และเชื่อว่าจำเลยต้องทราบเนื้อหาในหนังสือ เนื่องจากจำเลยกับพวกทำกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ย่อมพิจารณาแล้วว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันฯ พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก 3 ปี แต่พิจารณาจากอายุของจำเลยและพฤติการณ์ที่ปรากฏว่ามีเพียงการแจกหนังสือให้เจ้าพนักงานตำรวจ ไม่ปรากฏว่ามีการแจกให้บุคคลทั่วไป โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี |
80 | คดีจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา-อรรถพล บัวพัฒน์ ปราศรัยในการชุมนุมที่ภูเขียว เรียกร้องให้ตำรวจขอโทษจากการคุกคามนักเรียน กรณีจัดค่าย “ราษฎรออนทัวร์” | 13 ก.ย. 2567 (ศาลจังหวัดภูเขียว) | ศาลเห็นว่าจตุภัทร์ปราศรัยว่า “ปัญหาของสังคมไทยที่ยาวนานก็คือสถาบันพระมหากษัตริย์…” ทำให้เกิดความรู้สึกว่า กษัตริย์ไม่ดูแลประชาชน อันเป็นการกล่าวหาว่า ไม่อยู่ในทศพิธราชธรรม เป็นการด้อยค่าสถาบันกษัตริย์ ส่วนคำปราศรัยอรรถพล ศาลเห็นว่าประชาชนที่รับฟังอาจเข้าใจว่า กษัตริย์สั่งระเบิดภูเขา อันเป็นการใส่ความ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ศาลลงโทษจำคุกคนละ 3 ปี ศาลเห็นว่าจตุภัทร์เคยต้องคำพิพากษาจำคุก และได้กระทำผิดซ้ำ จึงเพิ่มโทษกึ่งหนึ่ง เป็นจำคุก 4 ปี 6 เดือน จำเลยทั้งสองให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจตุภัทร์ 2 ปี 12 เดือน และจำคุกอรรถพล 2 ปี |
81 | คดีปิยรัฐ จงเทพ ถูกกล่าวหากรณีติดป้ายวิจารณ์เรื่องวัคซีนโควิด บนถนนในกาฬสินธุ์ และเผยแพร่ภาพในเพจเฟซบุ๊ก | 11 ต.ค. 2567 (ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์) | ศาลพิพากษายกฟ้อง เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์มีความน่าสงสัยตามสมควรว่า จำเลยเป็นผู้ติดตั้งป้ายและโพสต์ภาพป้ายเองหรือไม่ ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย |
82 | คดี “สินธุ” ถูกกล่าวหาคอมเมนต์ข้อความท้ายโพสต์ของเพจ The MalaengtaD | 28 ต.ค. 2567 (ศาลจังหวัดพัทลุง) | ศาลเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์เชื่อได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กตามฟ้องจริง พยานโจทก์ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลย และเห็นว่าถ้อยคำที่โพสต์แสดงความเห็นเป็นการดูหมิ่น เหยียดหยามพระมหากษัตริย์และพระราชินี พิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุก 2 ปี ไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ |
83 | คดี “เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง ปราศรัยในกิจกรรมวันแรงงานสากล #แจกน้ำยาให้หมามันกิน ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล วันที่ 1 พ.ค. 2565 | 29 ต.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าลักษณะคำปราศรัยของจำเลยเป็นการใส่ความต่อรัชกาลที่ 10 ทำให้เกิดความเสื่อมเสีย อีกทั้งบทบัญญัติมาตรา 112 ไม่มีให้ยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษเหมือนกับความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป การปราศรัยของจำเลยจึงไม่ใช่การใช้เสรีภาพในการแสดงความเห็นโดยสุจริต ลงโทษจำคุก 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา มีเหตุลดโทษ 1 ใน 3 คงจำคุก 2 ปี |
84 | คดี “หนูรัตน์” สุภัคชญา ชาวคูเวียง ร่วมถ่ายทำวิดีโอโปรโมทแคมเปญลดราคาสินค้าของบริษัท Lazada | 30 ต.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษายกฟ้อง เห็นว่าเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ ไม่ใช่เจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาทตามกฎมณเฑียรบาลฯ จึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดมาตรา 112 และมาตรา 112 ไม่ได้หมายรวมถึงสถาบันกษัตริย์ การกระทำที่เป็นความผิดจึงต้องเป็นการแสดงออกหรือมีถ้อยคำที่หมายถึงตัวบุคคลเท่านั้น การบังคับใช้มาตรา 112 ไม่ควรตีความในทางขยายความให้เกินกว่าข้อบัญญัติของกฎหมาย และศาลเห็นว่า การแสดงบทบาทดังกล่าวของจำเลยยังไม่สามารถสื่อถึงพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดตามฟ้องได้ |
85 | คดีอานนท์ นำภา โพสต์ข้อความ #ราษฎรสาส์น | 3 ธ.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าข้อความที่จำเลยโพสต์ทำให้ประชาชนเข้าใจว่ากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันก้าวล่วงละเมิดต่อหลักประชาธิปไตย ขยายอำนาจเกินขอบเขต ใช้ภาษีเกินความจำเป็น ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ วิธีการของจำเลยไม่ใช่ความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ เจตนาที่จำเลยกล่าวอ้างว่าเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ ไม่สามารถดูแค่เจตนาของจำเลยเพียงอย่างเดียวได้ พิพากษาว่ามีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุก 2 ปี |
86 | คดี “สมพล” ปาสีน้ำสีแดงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ ร.10 จำนวน 3 ป้าย ในพื้นที่เขตดอนเมือง | 3 ธ.ค. 2567 (ศาลอาญา) | จำเลยต่อสู้ในข้อหามาตรา 112 และรับสารภาพในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ ศาลเห็นว่าพระบรมฉายาลักษณ์มีไว้เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้สักการะ เคารพเทิดทูน จึงเปรียบเสมือนตัวแทนกษัตริย์ หากจำเลยมีเพียงเจตนาทำให้เสียทรัพย์ ก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่ต้องกระทำเฉพาะเจาะจงกับพระบรมฉายาลักษณ์ในหลายท้องที่ อีกทั้งยังมีการเตรียมและวางแผนล่วงหน้า เห็นว่ามีความผิดตามมาตรา 112 ลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี ส่วนข้อหาทำให้เสียทรัพย์ลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี จำเลยรับสารภาพ จำคุกกระทงละ 6 เดือน รวม 2 กระทง จำคุก 12 เดือน รวมพิพากษาจำคุก 2 ปี 12 เดือน |
87 | คดีอานนท์ นำภา ปราศรัย #เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย หรือม็อบแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2563 | 19 ธ.ค. 2567 (ศาลอาญา) [ศาลสั่งพิจารณาเป็นการลับ และจำเลยไม่ได้ถามค้านพยานโจทก์ หรือนำสืบพยานฝ่ายตน] | ศาลเห็นว่าจำเลยกล่าวปราศรัยใส่ร้ายกษัตริย์ว่าแทรกแซงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง เป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ จึงเห็นเจตนาจำเลยได้ว่า จำเลยกล่าวอ้างใส่ร้ายพระมหากษัตริย์โดยมุ่งหวังให้เกิดความวุ่นวายในสังคม และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 6 พิพากษาจำคุก 4 ปี ให้การเป็นประโยชน์ลดหนึ่งในสาม เหลือจำคุก 2 ปี 8 เดือน |
.
คดีที่จำเลยรับสารภาพ และศาลมีคำพิพากษา อย่างน้อย 84 คดี
แยกเป็นคดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยไม่รอลงอาญา 37 คดี, คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยให้รอลงอาญา 44 คดี และคดีที่ศาลให้รอกำหนดโทษ 3 คดี
ลำดับ | ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี | วันที่พิพากษา | ผลคำพิพากษาโดยสรุป |
1 | คดี “เบนซ์” ปลดพระบรมฉายาลักษณ์ระหว่างการชุมนุมในมธ.ลำปาง วันที่ 17 ต.ค. 2563 | 27 ม.ค. 2565 (ศาลจังหวัดลำปาง) 31 ม.ค. 2566 (ศาลอุทธรณ์ภาค 5) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ลดโทษครึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เนื่องจากจำเลยยังมีสถานะเป็นนักศึกษา ไม่เคยกระทำผิดมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน * คดีสิ้นสุดแล้ว |
2 | คดี “ปุญญพัฒน์” โพสต์เฟซบุ๊ก 4 ข้อความ ในกลุ่ม “รอยัลลิสต์มาร์เกตเพลส” | 20 มิ.ย. 2565 (ศาลจังหวัดสมุทรปราการ) 30 ม.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 1) | ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตาม ม.112 มีลักษณะใส่ร้าย ใส่ความและเป็นเท็จ เจตนาจาบจ้วงล่วงเกิน ดูหมิ่น หมิ่นประมาท ทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ จำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 12 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้เหลือจำคุก 4 ปี 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน |
3 | คดีชลสิทธิ์ แชร์สตอรี่เฟซบุ๊กภาพคล้าย ร.10 | 1 ส.ค. 2565 (ศาลจังหวัดกันทรลักษ์) | ศาลพิพากษาให้รอกำหนดโทษ 2 ปี เห็นว่าจากรายงานการสืบ เสาะ ไม่พบจำเลยเคยทำผิดมาก่อน ขณะโพสต์รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก่อน-หลังถูกดำเนินคดีไม่มีพฤติการณ์เช่นที่ถูกฟ้อง จึงเห็นควรให้โอกาสจำเลย * คดีสิ้นสุดแล้ว |
4 | คดี “พลทหารเมธิน” กล่าวถ้อยคำพาดพิงกษัตริย์ระหว่างถกเถียงกับคู่กรณีที่ขับรถเฉี่ยวชน | 11 ส.ค. 2565 (ศาลทหารกรุงเทพ) | ศาลพิพากษาจำคุก 5 ปี จำเลยให้รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือจำคุก 2 ปี 6 เดือน เห็นว่าไม่มีเหตุให้บรรเทาโทษและรอการลงโทษ โดยได้พิพากษาลงโทษสถานเบาแล้ว * คดีสิ้นสุดแล้ว |
5 | คดี “บุญลือ” คอมเมนต์โต้ตอบกันกับผู้อื่นเกี่ยวกับลักษณะที่ดีของกษัตริย์ และความจำเป็นในการปฏิรูปสถาบันฯ | 22 ก.ย. 2565 (ศาลจังหวัดพังงา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าจำเลยกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เมื่อตักเตือนก็ยินยอมลบข้อความ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ในทางการเมืองหรือหวังผลอื่นใด จึงให้โอกาสได้แก้ไข ฟื้นฟู และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และคุมประพฤติ 1 ปี ไปรายงานตัวพนักงานคุมประพฤติ 3 ครั้ง และทำกิจกรรมบริการสังคม 12 ชั่วโมง * คดีสิ้นสุดแล้ว |
6 | คดี “อัปสร” แชร์โพสต์ข้อความของปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ วิจารณ์ราชวงศ์ไทย | 26 ก.ย. 2565 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือจำคุก 2 ปี จำเลยกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ประกอบกับไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน สมควรให้โอกาสจำเลยกลับตนเป็นพลเมืองดี ให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี กับให้คุมความประพฤติจำเลย โดยให้จำเลยไปรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติ 3 ครั้ง ภายในกำหนด 2 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
7 | คดี “ปริทัศน์” ทวิตข้อความ 1 ข้อความ | 2 ก.ย. 2564 (ศาลอาญา) 12 ต.ค. 2565 (ศาลอุทธรณ์) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน * คดีสิ้นสุดแล้ว |
8 | คดี “ณชา” คอมเมนต์ในโพสต์ข้อความในกลุ่มรอยัลลิสต์ มาร์เกตเพลส | 7 พ.ย. 2565 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือ 1 ปี 6 เดือน พิเคราะห์แล้วจำเลยไม่เคยรับโทษมาก่อน ให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 เดือนครั้ง ภายใน 1 ปี ทำงานบริการสังคม 12 ชั่วโมง ริบโทรศัพท์ที่เป็นของกลาง * คดีสิ้นสุดแล้ว |
9 | คดีสุทธิเทพ โพสต์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ประชดกลุ่มรักสถาบันฯ | 8 พ.ย. 2565 (ศาลอาญา) 25 ม.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี จำเลยรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าการกระทำของจำเลยทำให้ประชาชนเข้าใจผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา พฤติการณ์กระทำความผิดเป็นเรื่องร้ายแรง กรณีไม่สมควรรอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์แก้เป็นให้รอการลงโทษจำคุก 3 ปี เนื่องจากเห็นว่าไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน จึงให้โอกาสจำเลย * คดีสิ้นสุดแล้ว |
10 | คดีพิทักษ์พงษ์ โพสต์ข้อความพาดพิงถึงความประพฤติของกษัตริย์ | 21 พ.ย. 2565 (ศาลอาญา) 16 ม.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์) | ศาลพิพากษาจำคุก 5 ปี จำเลยรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 2 ปี 6 เดือน เห็นว่าจำเลยกระทำความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย จึงไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกับการกำหนดโทษของศาลชั้นต้น แต่เห็นควรให้รอการลงโทษจำคุก 3 ปี เนื่องจากเห็นว่าจำเลยรู้สึกสำนึกผิด ได้เดินทางไปถวายพระพรและขอขมาจำเลยไม่เคยกระทำผิดมาก่อน มีอาชีพมั่นคง ยังพอแก้ไขให้เป็นพลเมืองดีได้ กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยไปรายงานตัวต่อคุมประพฤติ 4 เดือนครั้ง ใน 1 ปี ให้ทำงานบริการสังคมเป็นระยะเวลา 84 ชั่วโมง รวมถึงห้ามกระทำการที่มีส่วนล่วงเกินให้สถาบันกษัตริย์เสียหายอีก * คดีสิ้นสุดแล้ว |
11 | คดี “ปณิธาน” คอมเมนต์ในโพสต์ข้อความในกลุ่มรอยัลลิสต์ มาร์เกตเพลส | 24 พ.ย. 2565 (ศาลอาญา) 7 ธ.ค. 2566 (ศาลอุทธรณ์) | ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปี จำเลยรับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่งเหลือ 2 ปี จากรายงานการสืบเสาะจำเลยประกอบอาชีพสุจริต ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน ต้องเลี้ยงดูครอบครัว แต่การกระทำของจำเลยทำให้กษัตริย์เสื่อมเสียเกียรติยศ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง เป็นความผิดร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ลดโทษให้เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เนื่องจากเห็นว่าจำเลยไปอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ภาฯ |
12 | คดี “โจ” แชร์โพสต์จากเพจเยาวชนปลดแอก | 29 พ.ย. 2565 (ศาลจังหวัดลำปาง) | ศาลพิพากษาให้รอกำหนดโทษ 2 ปี โดยพิจารณาถึงพฤติการณ์ของจำเลย ประวัติส่วนตัว โดยที่จำเลยไม่เคยกระทำผิดมาก่อน * คดีสิ้นสุดแล้ว |
13 | คดีพิทยุตม์ วางเพลิงรูปรัชกาลที่ 10 ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี | 29 พ.ย. 2565 (ศาลจังหวัดอุดรธานี) | ศาลพิพากษาจำคุก 2 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี คุมประพฤติเป็นเวลา 1 ปี โดยให้รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง และทำงานบริการสังคม 24 ชั่วโมง (ศาลไม่ได้อ่านโทษเต็ม ซึ่งน่าจะเป็นจำคุก 5 ปี) * คดีสิ้นสุดแล้ว |
14 | คดีพนิดา พ่นสีใต้พระบรมฉายาลักษณ์ในเมืองพัทยา 2 จุด | 14 ธ.ค. 2565 (ศาลจังหวัดพัทยา) | ศาลพิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี รวม 2 กระทง แต่จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษกระทงละกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมโทษจำคุก 2 ปี 12 เดือน ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปี และให้รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง พร้อมทั้งให้กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์เป็นเวลา 12 ชั่วโมง * คดีสิ้นสุดแล้ว |
15 | คดีอุกฤษฏ์ สันติประสิทธิ์กุล โพสต์เฟซบุ๊ก 5 ข้อความ | 21 ธ.ค. 2565 (ศาลอาญา) 13 ก.พ. 2567 (ศาลอุทธรณ์) | ศาลพิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมโทษจำคุก 5 ปี 30 เดือน แม้จำเลยจะไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน แต่การกระทำของจำเลยถือเป็นความร้ายแรง ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด และดูหมิ่นเกลียดชังสถาบันฯ กรณีจึงยังไม่มีเหตุให้บรรเทาโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน |
16 | คดีธัญดล แชร์โพสต์จากเพจ “KonthaiUK” 2 ข้อความ | 27 ธ.ค. 2565 (ศาลจังหวัดสมุทรปราการ) | ศาลพิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมโทษจำคุก 2 ปี 12 เดือน แต่เห็นว่าจำเลยสำนึกผิด ประกอบกับไม่เคยกระทำผิดมาก่อน จึงให้รอลงอาญา 3 ปี และให้คุมประพฤติ 3 ปี รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 เดือนต่อครั้ง * คดีสิ้นสุดแล้ว |
17 | คดีธนพร คอมเมนต์ท้ายโพสต์ของเพจที่เผยแพร่ภาพตัดต่อรัชกาลที่ 8 และ 9 | 17 ก.พ. 2565 (ศาลอาญาตลิ่งชัน) 14 ก.พ. 2566 (ศาลอุทธรณ์) 27 พ.ค. 2567 (ศาลฎีกา) | ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 2 ปี เห็นว่าจำเลยประกอบอาชีพสุจริต มีครอบครัวที่น่าจะเหนี่ยวรั้งห้ามปรามไม่ให้เกิดการกระทำความผิดลักษณะเดียวกันอีก โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ให้คุมความประพฤติจำเลยโดยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 8 ครั้ง และให้ทำงานบริการสังคม 24 ชั่วโมง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไม่ให้รอการลงโทษ เห็นว่าขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 21 ปีเศษ มีวุฒิภาวะเพียงพอ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ |
18 | คดีอุกฤษฏ์ สันติประสิทธิ์กุล แชร์โพสต์เฟซบุ๊ก 1 ข้อความ ลงในกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เกตเพลส | 16 ก.พ. 2566 (ศาลจังหวัดสมุทรปราการ) 30 ม.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 1) | ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 2 ปี โดยไม่มีเหตุให้รอลงอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน |
19 | คดี “เกด” และ “ยุ้ย” สองนักศึกษาชูป้ายในคาร์ม็อบ #ด่วนนครพิงค์เจียงใหม่ไล่ขึดประยุทธ์ เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2564 | 2 มี.ค. 2566 (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เมื่อพิเคราะห์รายงานการสืบเสาะ ประกอบกับคำแถลงประกอบคำรับสารภาพ จำเลยทั้งสองไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน และยังเป็นนักศึกษาอยู่ โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
20 | คดีวัชระและวิรชัช สองนักศึกษา ม.บูรพา ติดป้ายข้อความที่หอระเบียงหอพัก เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2564 | 30 มี.ค. 2566 (ศาลจังหวัดชลบุรี) | ศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ม.112 ขณะเกิดเหตุมีอายุไม่เกิน 20 ปี ให้ลดโทษ 1 ใน 3 ลงโทษจำคุกคนละ 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุกคนละ 2 ปี ขณะกระทำผิดอายุยังน้อย โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี คุมประพฤติกำหนด 1 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
21 | คดีณวรรษ เลี้ยงวัฒนา ปราศรัยในการชุมนุม #ม็อบ13กุมภา2564 #นับ1ถึงล้านคืนอำนาจให้ประชาชน | 26 เม.ย. 2566 (ศาลอาญา) 9 ธ.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์) | ศาลพิพากษาลงโทษข้อหามาตรา 112 จำคุก 3 ปี ฐานทำให้เสียทรัพย์ จำคุก 2 เดือน ปรับข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 2,000 บาท และข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงฯ ปรับ 1,000 บาท ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 1 ปี 7 เดือน และปรับ 1,500 บาท เนื่องจากจำเลยกระทำการในลักษณะเดียวกันหลายคดี จึงไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่แก้โทษข้อหาใช้เครื่องขยายเสียง เป็นปรับพินัย 200 บาท |
22 | คดี “สายชล” เผยแพร่คลิป TikTok ลิปซิงค์เพลง | 10 พ.ค. 2566 (ศาลจังหวัดกำแพงเพชร) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี เนื่องจากเห็นว่าจำเลยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน นิสัยและพฤติกรรมไม่มีข้อเสียหายร้ายแรง ทั้งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ การลงโทษจำคุกอาจไม่เกิดผลดีต่อสังคม ให้คุมประพฤติจำเลยมีกำหนด 1 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
23 | คดีเวหา แสนชนชนะศึก ใช้ทวิตเตอร์ “ฟ้าฝา ver.เกรี้ยวกราด” ทวีตข้อความเล่าประสบการณ์การถูกคุมขังในคุกวังทวีวัฒนา | 19 พ.ค. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวม 3 กระทง ลงโทษจำคุก 3 ปี 18 เดือน โดยไม่รอลงอาญา * คดีสิ้นสุดแล้ว |
24 | คดีปาฏิหาริย์ แสดงความคิดเห็นบนโพสต์เฟซบุ๊กของ Somsak Jeamteerasakul เกี่ยวกับข่าวลือการประชวรของรัชกาลที่ 10 | 23 พ.ค. 2566 (ศาลอาญา) 19 ก.ย. 2567 (ศาลอุทธรณ์) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าพฤติการณ์ของจำเลยมีความร้ายแรง กระทบต่อประมุขของประเทศ แม้จำเลยประกอบอาชีพสุจริตเลี้ยงดูครอบครัว ไม่ใช่เหตุพอให้รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน |
25 | คดีประชาชน 1 ราย คอมเมนต์แสดงความคิดเห็นท้ายไลฟ์สดเพจ “ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน” | 23 พ.ค. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน |
26 | คดีสุภิสรา โพสต์เฟซบุ๊ก 4 ข้อความ | 26 พ.ค. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุกกรรมละ 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือกรรมละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 4 ปี 24 เดือน จากรายงานสืบเสาะของแพทย์ระบุว่า ช่วงเวลาใกล้เคียง จำเลยมีอาการป่วยทางจิตในระดับสูง ควบคุมตนเองไม่ได้ จึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี คุมประพฤติกำหนด 1 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
27 | คดี “ภูมิ หัวลำโพง” ถือป้ายข้อความเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง | 8 มิ.ย. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 2 ปี (ลดมาตราส่วนเนื่องจากขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 18 ปีเศษ) ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 1 ปี โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
28 | คดีประสงค์ โคตรสงคราม โพสต์เฟซบุ๊ก 2 กระทง | 12 มิ.ย. 2566 (ศาลอาญาตลิ่งชัน) 14 ม.ค. 2568 (ศาลอุทธรณ์) | ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 3 ปี ไม่รอลงอาญา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน |
29 | คดี “ธิดา” เผยแพร่คลิป TikTok ลิปซิงค์เพลง | 13 มิ.ย. 2566 (ศาลจังหวัดกำแพงเพชร) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี เนื่องจากเห็นว่าจำเลยประกอบอาชีพสุจริต จำเลยโพสต์คลิปดังกล่าวเพื่อต้องการเพิ่มยอดวิวเท่านั้น เป็นไปได้ว่าจะขาดความยับยั้งชั่งใจ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ให้คุมประพฤติมีกำหนด 1 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
30 | คดี “พลเมือง” ส่งข้อความในกรุ๊ปไลน์มีสมาชิก 5 คน | 14 มิ.ย. 2566 (ศาลจังหวัดกำแพงเพชร) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ให้ทำงานบริการสังคม 12 ชั่วโมง และเข้าร่วมกิจกรรมตามที่คุมประพฤติกำหนด * คดีสิ้นสุดแล้ว |
31 | คดี “พงษ์” โพสต์เฟซบุ๊ก 6 ข้อความ | 26 มิ.ย. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลลงโทษจำคุก 18 ปี รับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง เหลือ 6 ปี 36 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ระหว่างนี้ห้ามกระทำความผิดซ้ำ ให้รายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติ 3 ครั้งใน 2 ปี ให้ทำกิจกรรมบริการสังคม 24 ชั่วโมง * คดีสิ้นสุดแล้ว |
32 | คดี “ธัญวดี” โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับการบินไทย | 27 มิ.ย. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปี รับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 2 ปี พิเคราะห์ตามรายงานสืบเสาะ จำเลยให้การว่าทำไปเพราะรู้ข้อเท็จเพียงด้านเดียว และหลังกระทำผิดก็ได้สำนึก ไม่กระทำผิดซ้ำอีก จำเลยไม่เคยต้องรับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ให้ไปรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง และให้ทำบริการสาธารณประโยชน์ 48 ชั่วโมง * คดีสิ้นสุดแล้ว |
33 | คดีวารุณี โพสต์ภาพตัดต่อการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต | 28 มิ.ย. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ กระทบต่อความรู้สึกประชาชน จำเลยมีเหตุสุขภาพจิต ไม่เป็นเหตุให้รอการลงโทษ * คดีสิ้นสุดแล้ว |
34 | คดีประชาชนทวีตข้อความ | 29 มิ.ย. 2566 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | ศาลลงโทษจำคุก 4 ปี โดยให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
35 | คดีอนุชา ชูแผ่นป้ายไวนิลขนาดใหญ่ใน #ม็อบตำรวจล้มช้าง หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2564 | 10 ก.ค. 2566 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | ศาลลงโทษจำคุก 3 ปี ในข้อหามาตรา 112, ข้อหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ปรับ 5,000 บาท ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ปรับ 3,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกไม่รอการลงโทษ * คดีสิ้นสุดแล้ว |
36 | คดี “วัฒน์” โพสต์เฟซบุ๊กชื่นชมการทรงงานของรัชกาลที่ 9 แต่วิพากษ์วิจารณ์รัชกาลที่ 10 | 17 ก.ค. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา * คดีสิ้นสุดแล้ว |
37 | คดี “อาร์ม” เผยแพร่คลิป Tiktok คุยหยอกแมว | 8 ส.ค. 2566 (ศาลจังหวัดกำแพงเพชร) 26 มี.ค. 2567 (ศาลอุทธรณ์ภาค 6) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เนื่องจากมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ให้คุมประพฤติ 1 ปี และทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์เป็นระยะเวลา 12 ชั่วโมง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นไม่ให้รอการลงโทษจำคุกจำเลย เพื่อให้จำเลยหลาบจำและมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลอื่น |
38 | คดี “สมพล” พ่นสีสเปรย์ที่มีข้อความเกี่ยวกับกษัตริย์ ทับป้ายบอกทางสองจุดในจังหวัดปทุมธานี | 15 ส.ค. 2566 (ศาลจังหวัดธัญบุรี) | ศาลลงโทษตามมาตรา 112 จำคุก 4 ปี และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จำคุก 2 ปี ปรับ 8 หมื่นบาท รวมจำคุก 6 ปี ปรับ 8 หมื่นบาท ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท เห็นว่าจำเลยเดินทางไปกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานอภัยโทษที่พระบรมมหาราชวัง ถือว่าจำเลยสำนึกในการกระทำ ทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงเห็นสมควรให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 4 ปี ให้คุมความประพฤติ 4 ปี ทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ 30 ชั่วโมง |
39 | คดีธีรวัช ยอดสิงห์ แชร์ข้อความจากเพจ KonthaiUk เรื่องการการแต่งกายของกษัตริย์ | 28 ก.ย. 2566 (ศาลจังหวัดสมุทรปราการ) | ศาลเห็นว่าขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุไม่เกิน 20 ปี เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสาม ให้จำคุก 2 ปี 8 เดือน ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 4 เดือน เห็นว่าความประพฤติ ประวัติ และนิสัยจำเลยไม่ปรากฏข้อเสียหาย มีที่พักอาศัยเป็นหลักแหล่งประกอบอาชีพเป็นกิจจะลักษณะ ประกอบกับไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และให้คุมประพฤติ 2 ปี ทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ 48 ชั่วโมง * คดีสิ้นสุดแล้ว |
40 | คดี “เซ็นเตอร์” โพสต์ข้อความกรณีสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา กระสุนยาง และน้ำแรงดันสูงในเดือนตุลาคม 2563 | 4 ต.ค. 2566 (ศาลจังหวัดพิษณุโลก) | ศาลพิจารณาประวัติการทำงาน การศึกษา พฤติการณ์จากรายงานการสืบเสาะ พร้อมได้กระทำการขออภัยโทษต่อพระบรมฉายาลักษณ์ ประกอบกับไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน พิพากษาให้รอการกำหนดโทษไว้ 2 ปี รายงานตัวต่อนักจิตวิทยาสังคมของศาล 4 ครั้งในระยะเวลา 1 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
41 | คดี “ธาวิน” โพสต์ข้อความ | 20 ก.ค. 2565 (ศาลจังหวัดสมุทรปราการ) 10 ต.ค. 2566 (ศาลอุทธรณ์ภาค 1) | ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 5 ปี |
42 | คดี “เวฟ” แชร์โพสต์วิจารณ์เรื่องการผลิตวัคซีนของบริษัทสยามไบโอไซน์ | 11 ต.ค. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าจำเลยเป็นบุคคลที่มีความสำนึกผิด สมควรให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดีของสังคม โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และให้จำเลยมารายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ภายใน 1 ปี 6 เดือน ให้งานบริการสังคมเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายใน 2 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
43 | คดีพัชรพล คอมเมนต์เฟซบุ๊กถึงรัฐบาลและพระมหากษัตริย์ใต้โพสต์ลงนามถวายพระพรของเพจ ‘กรมประชาสัมพันธ์’ | 25 ต.ค. 2566 (ศาลอาญาตลิ่งชัน) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือนเมื่อจำเลยได้ให้การรับสารภาพ เห็นสมควรให้โอกาสแก่จำเลย โทษจำคุกให้รอการลงโทษเป็นระยะเวลา 3 ปี ให้เข้ารายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติเป็นจำนวน 8 ครั้ง ภายใน 2 ปี และทำงานบริการสังคมเป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง ภายใน 1 ปี |
44 | คดี “ต้น” ชูป้ายในคาร์ม็อบ #มินิด่วนนครพิงค์เชียงใหม่ไล่ประยุทธ์ | 25 ต.ค. 2566 (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน เมื่อคำนึงถึงอายุ ประวัติ และเห็นว่าจำเลยสำนึกในการกระทำ โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
45 | คดีมณีขวัญ แชร์โพสต์จากเพจ KonthaiUK 2 ข้อความ | 30 ต.ค. 2566 (ศาลจังหวัดสมุทรปราการ) | ศาลพิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 2 ปี 12 เดือน เห็นว่าจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี ให้รายงานการคุมประพฤติเป็นระยะเวลา 2 ปี ทุกๆ 2 เดือน และทำงานบริการเพื่อสังคมเป็นเวลา 48 ชั่วโมง * คดีสิ้นสุดแล้ว |
46 | คดีเวหา แสนชนชนะศึก แชร์โพสต์จากเพจเยาวชนปลดแอก และโพสต์ข้อความในวันขึ้นปีใหม่ | 31 ต.ค. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมโทษจำคุก 2 ปี 12 เดือน * คดีสิ้นสุดแล้ว |
47 | คดี “กิจจา” โพสต์เฟซบุ๊ก | 23 ก.ค. 2564 (ศาลอาญา) 3 ส.ค. 2565 (ศาลอุทธรณ์) 1 พ.ย. 2566 (ศาลฎีกา) | ศาลพิพากษาจำคุก 5 ปี รับสารภาพ ลดเหลือ 2 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษเหลือจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ |
48 | คดี “พอล” โพสต์เฟซบุ๊ก 3 ข้อความ (ฟ้องเป็นกระทงเดียวกัน) | 7 พ.ย. 2566 (ศาลจังหวัดกำแพงเพชร) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าจำเลยรู้สำนึกและไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน การลงโทษจำคุกจำเลยไม่เป็นผลดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี รายงานตัวต่อคุมประพฤติจำนวน 4 ครั้ง และให้ร่วมการบริการสังคมตามที่เจ้าหน้าที่คุมประพฤติเห็นสมควรจำนวน 12 ชั่วโมง * คดีสิ้นสุดแล้ว |
49 | คดี “หอมแดง” แชร์โพสต์เฟซบุ๊กจากเพจ “สมองโง่ดักดานรัฐบาลตูบฯ” 1 โพสต์ | 20 พ.ย. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา |
50 | คดีชินวัตร จันทร์กระจ่าง ปราศรัยเรียกร้องปล่อยตัวนักโทษการเมืองหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2565 | 7 ธ.ค. 2566 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าจำเลยไม่ปรากฏว่าเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ประกอบกับให้การรับสารภาพ อยู่ในวิสัยที่จะกลับตนเป็นคนดี และจำเลยยังเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ เห็นว่าการคุมประพฤติจะเป็นผลดี โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี คุมประพฤติ 2 ปี ให้รายงานต่อพนักงานคุมประพฤติปีละ 3 ครั้ง บำเพ็ญประโยชน์ 24 ชั่วโมง งดเว้นกิจกรรมที่มีลักษณะเดียวกับการกระทำผิด |
51 | คดีอติรุจ ตะโกน “ไปไหนก็เป็นภาระ” ระหว่างมีขบวนเสด็จ | 12 ธ.ค. 2566 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | จำเลยให้การรับสารภาพข้อหามาตรา 112 แต่ต่อสู้ข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลเห็นว่าถ้อยคำของจำเลยเป็นการใส่ความว่าการเสด็จเป็นการสร้างปัญหาและภาระให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน และจากพยานโจทก์ เชื่อได้ว่าจำเลยทราบว่าผู้ที่จับกุมเป็นเจ้าพนักงาน การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดทั้งสองข้อหา ลงโทษข้อหา ม.112 จำคุก 3 ปี และข้อหาต่อสู้ขัดขวางลงโทษจำคุก 2 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งในข้อหา ม.112 เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 1 ปี 8 เดือน |
52 | คดีชินวัตร จันทร์กระจ่าง ปราศรัยในการชุมนุม #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563 (ให้การรับสารภาพ ทำให้แยกคดีจากคนอื่นๆ) | 13 ธ.ค. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาข้อหามาตรา 112 จำคุก 4 ปี มาตรา 116 จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ข้อหาอื่นๆ ลงโทษปรับรวม 22,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 3 ปี ปรับ 11,100 บาท |
53 | คดีเวหา แสนชนชนะศึก โพสต์ภาพและข้อความต่อกรณีคำพิพากษาคดีติดสติกเกอร์ “กูKult” | 19 ธ.ค. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา * คดีสิ้นสุดแล้ว |
54 | คดีนัฏฐพล คอมเมนต์ใต้โพสต์ของ Somsak Jeamteerasakul เกี่ยวกับข่าวลืออาการป่วยรัชกาลที่ 10 | 11 ม.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา |
55 | คดีลลิตา มีสุข ทำคลิป Tiktok วิจารณ์การใช้ภาษีประชาชน | 29 ม.ค. 2567 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดเหลือให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เห็ว่าจำเลยได้สำนึกในการกระทำแล้ว และได้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม จึงให้โอกาสจำเลย โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี |
56 | คดีประชาชนรายหนึ่ง ไม่ทราบรายละเอียด | 29 ม.ค. 2567 (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดเหลือให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี คุมประพฤติจำเลย 1 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
57 | คดี “เอก” แชร์โพสต์เพจ “KTUK – คนไทยยูเค” มีเนื้อหาเกี่ยวกับคุกวังทวีวัฒนา | 13 ก.พ. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปี รับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 2 ปี แต่เห็นว่าจำเลยประกอบอาชีพมั่นคงและมีบุตรอายุ 3 ปี จำเลยยังบริจาคดวงตาและร่างกายให้กับสภากาชาดไทย จึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 8 ครั้ง และทำงานบริการสังคม 48 ชั่วโมง * คดีสิ้นสุดแล้ว |
58 | คดี “วุฒิ” โพสต์เฟซบุ๊ก 12 ข้อความ | 14 ก.พ. 2567 (ศาลอาญามีนบุรี) | ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวม 36 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 12 ปี 72 เดือน * คดีสิ้นสุดแล้ว |
59 | คดีอัฐสิษฎ ทำเพจเผยแพร่ภาพวาดแนวเสียดสีสังคมจำนวน 2 ภาพ เมื่อปี 2564 | 28 ก.พ. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวม 6 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี 12 เดือน |
60 | คดีชินวัตร จันทร์กระจ่าง ปราศรัยใน #ม็อบ25พฤศจิกาไปscb หน้าธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ (ให้การรับสารภาพ ทำให้แยกคดีจากคนอื่นๆ) | 29 ก.พ. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาข้อหามาตรา 112 จำคุก 4 ปี, มาตรา 215 และ มาตรา 216 จำคุก 2 ปี, ข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ลงโทษปรับ 10,000 บาท, ข้อหามาตรา 385 และพ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ลงโทษปรับ 2,000 บาท และข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับ 200 บาท รวมโทษจำคุก 6 ปี ปรับ 12,200 บาท ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 3 ปี ปรับ 6,100 บาท ไม่รอลงอาญา |
61 | คดีชินวัตร จันทร์กระจ่าง ปราศรัยในการชุมนุมหน้าสน.บางเขน เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 (ให้การรับสารภาพ ทำให้แยกคดีจากคนอื่นๆ) | 7 มี.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาข้อหามาตรา 112 จำคุก 3 ปี จำเลยรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา |
62 | คดีประชาชนรายหนึ่งทวีตข้อความ 3 ข้อความ (ถูกฟ้องเป็น 2 กระทง) | 8 มี.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี รวม 6 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี 12 เดือน เห็นว่าจำเลยสำนึกผิด มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่เคยต้องโทษมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
63 | คดีชินวัตร จันทร์กระจ่าง ปราศรัยในการชุมนุมหน้ากรมทหารราบที่ 11 รอ. เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2563 (ให้การรับสารภาพ ทำให้แยกคดีจากคนอื่นๆ) | 12 มี.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาข้อหามาตรา 112 จำคุก 4 ปี, มาตรา 116 จำคุก 2 ปี, ใช้เครื่องเสียงปรับพินัย 200 บาท, พ.ร.บ.ความสะอาดฯ ปรับพินัย 2,000 บาท รวมจำคุก 6 ปี ปรับพินัย 2,200 บาท รับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 3 ปี ปรับพินัย 1,100 บาท |
64 | คดี “แม็กกี้” ทวีตข้อความรวม 18 ข้อความ (ถูกฟ้อง 112 จำนวน 14 ข้อความ ฟ้องเฉพาะ พ.ร.บ.คอมฯ อีก 4 ข้อความ) | 14 มี.ค. 2567 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | ศาลพิพากษากระทงที่ถูกฟ้องตามมาตรา 112 จำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 42 ปี กระทงที่มีเฉพาะข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมฯ จำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 8 ปี รวมทั้งหมดเป็นจำคุก 50 ปี ให้การรับสารภาพ ลดกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 25 ปี * คดีสิ้นสุดแล้ว |
65-66 | คดีวรัณยา และโชคดี เปิด-ร้องเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” และ “ใครฆ่า ร.8” ระหว่างกิจกรรมขับไล่ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วันที่ 23 ส.ค. 2565 (ฟ้องเป็น 2 คดี แต่พิจารณารวมกัน) | 9 พ.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุกคนละ 6 ปี ให้การรับสารภาพหลังสืบพยานโจทก์ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุกคนละ 4 ปี ศาลเห็นว่าจำเลยทั้งสองสำนึกผิด ไม่ได้เป็นผู้นำจัดกิจกรรม ประกอบอาชีพสุจริต มีประวัติช่วยเหลือราชการอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม และโครงการพระราชดำริ ทั้งตระหนักในการกระทำว่าเป็นการมิบังควร มีการสาบานตนว่าจะไม่กระทำในลักษณะนี้อีก จึงให้โอกาสจำเลยกลับตัวกลับใจเป็นพสกนิกรที่ดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษ 2 ปี คุมความประพฤติ 1 ปี รายงานตัวต่อพนักงานคุมความประพฤติ 3 เดือนต่อครั้ง และทำกิจกรรมบริการสังคม ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง |
67 | คดีโชคดี ร้องเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” ระหว่างกิจกรรมขับไล่ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่หน้าม.เทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 และมีการไลฟ์สดประกอบ | 13 พ.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าเป็นความผิดหลายกรรม ลงโทษตามมาตรา 112 จำคุก 3 ปี ฐานตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ลงโทษจำคุก 1 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษตามมาตรา 112 เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เหลือจำคุก 6 เดือน เห็นว่าจำเลยสำนึกในการกระทำ และให้คำมั่นสัญญาและสาบานว่าจะไม่กระทำผิดซ้ำอีก โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี คุมประพฤติ 1 ปี และทำงานบริการสังคมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง * คดีสิ้นสุดแล้ว |
68 | คดี “แม็ค” คอมเมนต์ในเฟซบุ๊กของ Somsak Jeamteerasakul เกี่ยวกับอาการประชวรของ ร.10 | 13 พ.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี พิเคราะห์รายงานสืบเสาะ แม้จำเลยสำนึกในการกระทำ เลิกใช้บัญชีเฟซบุ๊กตามฟ้อง และแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ แต่ข้อความมีลักษณะดูหมิ่นพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักและเคารพ เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา เห็นว่าพฤติการณ์มีความร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษ |
69 | คดีชินวัตร จันทร์กระจ่าง ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่สำนักงานอัยการสูงสุดมีเนื้อหาเกี่ยวกับการที่ในหลวงไม่ให้ใช้ ม.112 | 29 พ.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าถูกพิพากษาว่ามีความผิดลักษณะนี้ในหลายคดี จึงไม่รอลงอาญา |
70 | คดีวรินทร์ทิพย์ วัชรวงษ์ทวี ร้องเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” บริเวณหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2565 | 20 มิ.ย. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพหลังสืบพยานโจทก์ไปบางปาก ลดเหลือจำคุก 2 ปี เห็นว่าจำเลยสำนึกผิด และไม่เคยกระทำผิดมาก่อน โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี คุมประพฤติ 1 ปี รายงานตัวต่อศาลทุก 3 เดือน และบำเพ็ญประโยชน์ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง * คดีสิ้นสุดแล้ว |
71 | คดีวรพล อนันตศักดิ์ เปลี่ยนภาพโปรไฟล์เฟซบุ๊กวันที่ 28 ก.ค. 2564 | 26 มิ.ย. 2567 (ศาลจังหวัดชุมพร) | ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 2 ปี โทษจำคุกให้รอลงอาญา 5 ปี ให้คุมความประพฤติ 3 ปี ให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 9 ครั้ง ให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณะประโยชน์ 48 ชั่วโมง และให้ละเว้นการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกันอีก และให้เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ตามที่พนักงานคุมประพฤติกำหนด |
72 | คดีประชาชนแชร์โพสต์ข้อความ | 4 ก.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 3 ปี |
73 | คดี “มานี-ขุนแผน-ไบรท์ ชินวัตร” ร่วมกิจกรรม “ยืนบอกเจ้าว่าเราโดนรังแก” หน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ เรียกร้องสิทธิประกันตัวบุ้ง-ใบปอ และมีการร้องเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” | 18 ก.ค. 2567 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | ศาลพิพากษาลงโทษตามมาตรา 112 จำคุก 3 ปี ดูหมิ่นศาลจำคุก 2 ปี หมิ่นประมาทโดยการโฆษณาจำคุก 2 ปี ฐานใช้เครื่องขยายเสียงปรับ 200 บาท รวมจำคุก 7 ปี ปรับ 200 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุให้บรรเทาโทษ ลดโทษเหลือจำคุก 3 ปี 6 เดือน ปรับ 100 บาท โดยไม่รอลงอาญา |
74 | คดีชินวัตร จันทร์กระจ่าง ปราศรัยประเด็นการโอนทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ระหว่างกิจกรรมยืนหยุดขังที่ท่าน้ำนนทบุรี | 19 ก.ค. 2567 (ศาลจังหวัดนนทบุรี) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา |
75 | คดี “อาย” กันต์ฤทัย คล้ายอ่อน โพสต์เฟซบุ๊ก 8 ข้อความ | 27 ส.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 8 ปี 48 เดือน ไม่รอลงอาญา |
76 | คดีประชาชน โพสต์ข้อความ | 2 ก.ย. 2567 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 2 ปี โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ให้ทำกิจกรรมบริการสังคม 48 ชั่วโมง |
77 | คดีณัฐพล ทวีตภาพและข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 | 1 ต.ค. 2567 (ศาลจังหวัดสงขลา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน โทษจำคุกรอลงอาญา 1 ปี ให้คุมความประพฤติกำหนด 1 ปี ให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง กับให้จำเลยทำการบริการสังคมเพื่อสาธารณะประโยชน์เกี่ยวกับรักชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรเป็นเวลา 12 ชั่วโมง |
78 | คดีทอปัด เผยแพร่ภาพวาด ร.10 ในอินสตาแกรม | 3 ต.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน นิสัยและความประพฤติไม่ปรากฏข้อเสียหายร้ายแรง ประกอบกับภายหลังเกิดเหตุจำเลยมีความสำนึกผิด จึงให้รอการลงโทษ 3 ปี คุมประพฤติจำเลย 2 ปี และให้จำเลยทำกิจกรรมบริการสาธารณะประโยชน์ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง และห้ามจำเลยกระทำการใดๆ อันเป็นการล่วงละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ |
79 | คดีของประชาชนรายหนึ่ง โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก 1 ข้อความ | 3 ต.ค. 2567 (ศาลอาญากรุงเทพใต้) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ให้คุมประพฤติ และให้ทำงานบริการสังคม 24 ชั่วโมง |
80 | คดี “ภูเขา” โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก 6 ข้อความ ในช่วงปี 2562 | 5 พ.ย. 2567 (ศาลจังหวัดนนทบุรี) | ศาลพิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 18 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 ปี 36 เดือน จากรายงานการสืบเสาะ เชื่อว่าจำเลยติดตามข่าวสารการเมืองเพียงด้านเดียวและจำเลยสำนึกในการกระทำผิดของตน ประกอบกับจำเลยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน มีอาชีพเป็นกิจจะลักษณะ มีบุตรอีก 2 คน เห็นว่าโทษจำคุกไม่เป็นประโยชน์ต่อจำเลยและสังคม จึงให้รอการลงโทษเป็นเวลา 5 ปี คุมประพฤติกำหนด 3 ปี รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ภายใน 3 ปี และให้ทำกิจกรรมบริการสาธารณประโยชน์เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ห้ามจำเลยกระทำการใด ๆ อันเป็นการล่วงละเมิดต่อสถาบันกษัตริย์ |
81 | คดี “สิงโต” คอมเมนต์เฟซบุ๊กใต้โพสต์ภาพถ่ายรัชกาลที่ 10 และเจ้าฟ้าทีปังกร | 27 พ.ย. 2567 (ศาลจังหวัดนนทบุรี) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าการกระทำต่อสถาบันกษัตริย์อันเป็นที่เคารพรักนั้น เป็นเรื่องร้ายแรง จึงไม่รอการลงโทษ |
82 | คดีประชาชน 3 ราย วางเพลิงพระบรมฉายาลักษณ์ที่หน้ากระทรวงแรงงาน หลังชุมนุม #ม็อบ14กันยา64 | 18 ธ.ค. 2567 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าจำเลยทั้งสามแสดงถึงความสำนึกผิด ประกอบอาชีพเป็นกิจจะลักษณะ ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน การลงโทษจำคุกไม่เป็นผลดีต่อจำเลย จึงให้รอการลงโทษ 3 ปี ให้คุมประพฤติจำเลย 2 ปี และให้ทำกิจกรรมบริการสาธารณะเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง ห้ามจำเลยกระทำการใด ๆ ที่เป็นการด้อยค่าสถาบันกษัตริย์ และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายกระทรวงแรงงาน |
83 | คดีสถาพร แสดงออกระหว่างขบวนเสด็จผ่านร้านแมคโดนัลด์ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย | 15 ม.ค. 2568 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าจำเลยเคยรับโทษจำคุก 2 ปี ในความผิดฐานอื่นมาก่อน ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษ |
84 | คดี “จินนี่” จิรัชยา สกุลทอง ไลฟ์สดในเฟซบุ๊กขณะเดินทางไปร่วมชุมนุม #ม็อบ25กรกฎาคมแห่เทียนไล่นายกฯ | 15 ม.ค. 2568 (ศาลอาญา) | ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการสร้างความเสียหายต่อองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในสถานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ พฤติกรรมของจำเลยมีความร้ายแรง ไม่มีเหตุให้สมควรรอการลงโทษ |
.