ข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) เรื่องการห้ามชุมนุม ทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ในสถานที่แออัดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ถูกนำมาใช้กล่าวหาดำเนินคดีต่อการชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นเครื่องมือในการจำกัดควบคุมเสรีภาพในการชุมนุมของรัฐบาลมาตั้งแต่ช่วงปี 2563 โดยเฉพาะหลังการชุมนุมเยาวชนปลดแอกเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน
ท่ามกลางคดีที่ถูกสั่งฟ้องต่อศาล และอยู่ระหว่างการต่อสู้คดี พบว่ามีคดีที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง และพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ตารางข้อมูลต่อไปนี้รวบรวมสถิติคดีที่มีข้อกล่าวหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งศาลยกฟ้องและอัยการสั่งไม่ฟ้องไปแล้ว เท่าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนติดตามข้อมูลคดี
* ข้อมูลจนถึงวันที่ 30 ม.ค. 2566
.
คดีที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง อย่างน้อย 54 คดี
ลำดับ | ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี | วันที่พิพากษา | เหตุผลโดยสังเขป |
1 | คดีชุมนุม #อุดรธานีสิบ่ทน ที่ทุ่งศรีเมือง วันที่ 24 ก.ค. 2563 | 25 ส.ค. 2564 (ศาลแขวงอุดรธานี) | พยานหลักฐานของโจทก์ไม่สามารถยืนยันได้ว่า จำเลยเป็นผู้จัดการชุมนุม จึงไม่ต้องมีหน้าที่จัดให้มีมาตรการป้องกันโรค ผู้ชุมนุมยังคงเคลื่อนย้ายในพื้นที่ชุมนุมได้อย่างอิสระ และเป็นสถานที่โล่งกว้าง อีกทั้งจำเลยได้เว้นระยะห่างแล้ว ส่วนการเกาะกลุ่มของผู้ชุมนุมอยู่เหนือการควบคุมของจำเลย อีกทั้งในช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าพบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในจังหวัดอุดรธานี การชุมนุมไม่มีการยุยงให้เกิดความวุ่นวาย เนื้อหาปราศรัยมีเพียงการวิจารณ์รัฐบาล * อัยการไม่อุทธรณ์ คดีสิ้นสุดแล้ว |
2 | คดีชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย วันที่ 21 ต.ค. 2563 ของ “มายด์” ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร้ายแรง) | 13 ธ.ค. 2564 (ศาลแขวงดุสิต) | การชุมนุมโดยส่วนใหญ่เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ยังไม่เข้าข่าย “การมั่วสุม” และไม่มีพยานหลักฐานว่าจำเลยมีส่วนร่วมฝ่าแนวกั้นหรือกระทำความรุนแรง * อัยการไม่อุทธรณ์ คดีสิ้นสุดแล้ว |
3 | คดีชุมนุม #ม็อบ6ธันวา ที่วงเวียนใหญ่ วันที่ 6 ธ.ค. 2563 | 31 ม.ค. 2565 (ศาลแขวงธนบุรี) | พยานหลักฐานยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้จัดการชุมนุม จำเลยไม่ได้อยู่ดูแลการชุมนุมจนกระทั่งจบการชุมนุม ถือว่าผิดวิสัยของผู้จัดการชุมนุม รวมถึงไม่ได้มีการโพสต์ชักชวนให้ผู้อื่นมาร่วม แต่ลงโทษปรับข้อหากีดขวางทางจราจร และใช้เครื่องขยายเสียง รวม 1,650 บาท |
4 | คดีชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย วันที่ 21 ต.ค. 2563 ของ อานันท์ ลุ่มจันทร์ (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร้ายแรง) | 2 มี.ค. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | การชุมนุมโดยส่วนใหญ่เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ช่วงดังกล่าวไม่มีการติดเชื้อโควิด จึงมิใช่การชุมนุมหรือมั่วสุมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมือง * อัยการไม่อุทธรณ์ คดีสิ้นสุดแล้ว |
5 | คดีชุมนุม #คนพะเยาบ่าเอาแป้ง ที่หน้ามหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 27 ก.ค. 2563 | 10 มี.ค. 2565 (ศาลจังหวัดพะเยา) | 1. ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง ฉบับลงวันที่ 3 เมษายน 2563 ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ไม่มีผลใช้บังคับ 2. การชุมนุมไม่ใช่ในสถานที่แออัด 3. ผู้ชุมนุมเพียงเรียกร้องกล่าวโจมตีการทำงานของรัฐบาล ไม่มีถ้อยคำเป็นการยุยงปลุกปั่น และไม่ได้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย * อัยการไม่อุทธรณ์ คดีสิ้นสุดแล้ว |
6 | คดีชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย วันที่ 21 ต.ค. 2563 ของ ไพศาล จันปาน (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร้ายแรง) | 16 มี.ค. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีอาวุธ หรือมีพฤติการณ์อันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง จึงเป็นการชุมนุมโดยสงบ เป็นการใช้สิทธิที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การชุมนุมหรือมั่วสุมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป * อัยการไม่อุทธรณ์ คดีสิ้นสุดแล้ว |
7 | คดีชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย วันที่ 21 ต.ค. 2563 ของ วสันต์ กล่ำถาวร และสุวรรณา ตาลเหล็ก (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร้ายแรง) | 23 มี.ค. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | การชุมนุมเป็นไปโดยสงบปราศจากอาวุธ เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และไม่ปรากฏว่าจำเลยเข้าร่วมหรือมีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ความรุนแรง * อัยการไม่อุทธรณ์ คดีสิ้นสุดแล้ว |
8 | คดีคาร์ม็อบจังหวัดลพบุรี วันที่ 1 ส.ค. 2564 | 25 เม.ย. 2565 (ศาลแขวงลพบุรี) | 1. พยานหลักฐานโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดกิจกรรม การเชิญชวนมาร่วมชุมนุมไม่ได้เท่ากับเป็นผู้จัดฯ 2. การชุมนุมยังไม่ถึงกับแออัดเต็มพื้นที่ ผู้ชุมนุมและตำรวจยังเคลื่อนย้ายไปมาสะดวก ทั้งเพียงปราศรัยวิจารณ์รัฐบาล ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ 3. ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง ฉบับลงวันที่ 3 สิงหาคม 2564 กำหนดองค์ประกอบเพิ่มเติมไปจากข้อกำหนดที่ให้อำนาจ จึงไม่มีผลบังคับใช้ 4. พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่ชัดเจนว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมใช้เครื่องขยายเสียง |
9 | คดีคาร์ม็อบจังหวัดลพบุรี วันที่ 15 ส.ค. 2564 | 11 พ.ค. 2565 (ศาลแขวงลพบุรี) | 1. จำเลยทั้งสองเข้าร่วมชุมนุมในสถานที่โล่งกว้าง อากาศถ่ายเท ใช้เวลารวมตัวไม่นานนัก ผู้ชุมนุมมิได้อยู่กันเต็มพื้นที่ ไม่อยู่ในสภาพแออัดหรือหนาแน่น ลักษณะการชุมนุมจึงยังไม่ถึงขนาดเสี่ยงต่อการใกล้ชิดสัมผัสกัน 2. การชุมนุมมีเนื้อหาเพียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ ไม่มีเหตุรุนแรง จึงยังเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 และ 44 ไม่เป็นการชุมนุมที่ยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย 3. ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง ฉบับลงวันที่ 3 สิงหาคม 2564 กำหนดองค์ประกอบเพิ่มเติมไปจากข้อกำหนดที่ให้อำนาจ จึงไม่มีผลบังคับใช้ ลงโทษปรับข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงคนละ 200 บาท |
10 | คดีร่วมกิจกรรมหมู่บ้านทะลุฟ้า ของสมณะดาวดินฯ วันที่ 24 มี.ค. 2564 | 31 พ.ค. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | จำเลยไม่ได้เป็นผู้จัดการชุมนุม จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันจัดกิจกรรมชุมนุม จำเลยใส่หน้ากากอนามัย มีการเว้นระยะห่างจากผู้อื่น จำเลยไม่ได้ใช้เครื่องขยายเสียง สถานที่เกิดเหตุเป็นที่เปิดโล่ง ไม่ได้มีผู้ชุมนุมหนาแน่นเต็มตลอดพื้นที่ ยังเหลือที่ว่างอยู่มาก จึงไม่ใช่สภาพแออัดหนาแน่น พิพากษายกฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.ความสะอาด และใช้เครื่องขยายเสียง แต่ลงโทษปรับข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรฯ เป็นเงิน 500 บาท |
11 | คดีชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย วันที่ 21 ต.ค. 2563 ของ วีรวิชญ์ รุ่งเรืองศิริผล (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร้ายแรง) | 1 มิ.ย. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | เป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น จึงเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ประกอบกับอัยการโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร |
12 | คดีคาร์ม็อบนครราชสีมา วันที่ 1 ส.ค. 2564 | 1 มิ.ย. 2565 (ศาลแขวงนครราชสีมา) | การกระทำของจำเลยทั้งสอง ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานผู้จัดให้มีการชุมนุม เนื่องจากพยานโจทก์ไม่สามารถระบุได้เป็นว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความหรือจัดให้มีการชุมนุม ส่วนการเข้าร่วมชุมนุม แม้จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ แต่ยังไม่ถึงขนาดจะเสี่ยงต่อการแพร่โรคในวงกว้างอันเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมมิให้โรคระบาดออกไปในวงกว้าง |
13 | คดีคาร์ม็อบนครราชสีมา วันที่ 7 ส.ค. 2564 | 21 มิ.ย. 2565 (ศาลแขวงนครราชสีมา) | 1. ไม่มีพยานหลักฐานว่าใครเป็นผู้โพสต์นัดหมาย-ไลฟ์สดกิจกรรม-จัดเตรียมอุปกรณ์ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัด 2. โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า เป็นการชุมนุมในสถานที่แออัด อันเป็นความผิดตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 1) ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่โจทก์ฟ้อง ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้ 3. ผู้ชุมนุมเพียง 24 คน ทำกิจกรรม 24 นาที ที่ชุมนุมโล่งกว้าง ทั้งไม่มีรายงานผู้ชุมนุมติดโควิดจากการชุมนุม ยังน่าสงสัยว่าเสี่ยงแพร่โควิดหรือไม่ |
14 | คดีคาร์ม็อบกำแพงเพชร วันที่ 1 ส.ค. 2564 | 22 มิ.ย. 2565 (ศาลจังหวัดกำแพงเพชร) | การชุมนุมจะเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะต้องเป็นการชุมนุมที่มีลักษณะเป็นการกระทบต่อความมั่นคงต่อรัฐ การที่จำเลย ชักชวนและมาร่วมการชุมนุม จึงไม่เป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ นอกจากนี้ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ มาตรา 3 (6) บัญญัติไม่ให้ใช้บังคับใช้ในระหว่างที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ประกาศใช้ |
15 | คดีชุมนุม #คนลำพูนก็จะไม่ทนโว้ย ที่บริเวณอนุสาวรีย์ลานเจ้าแม่จามเทวี เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2563 | 1 ก.ค. 2565 (ศาลจังหวัดลำพูน) | จำเลยทั้งสองเข้าร่วมการชุมนุมโดยเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชน การชุมนุมดังกล่าวจึงไม่ใช่การชุมนุมมั่วสุมที่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย และไม่ใช่การชุมนุมที่เสี่ยงต่อโรคด้วยเช่นกัน |
16 | คดีคาร์ม็อบนครราชสีมา วันที่ 15 ส.ค. 2564 | 4 ก.ค. 2565 (ศาลแขวงนครราชสีมา) | ศาลยกฟ้องจำเลย 1 รายที่ต่อสู้คดี เห็นว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานว่าจำเลยรายนี้เป็นผู้จัดการชุมนุม จึงไม่มีหน้าที่ต้องขออนุญาต และพบว่าผู้เข้าร่วมการชุมนุมต่างระมัดระวังตนเองโดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ประกอบกับโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานนำสืบให้เห็นว่า หลังเกิดเหตุมีผู้ติดเชื้อจากการเข้าร่วมทำกิจกรรมหรือไม่ อย่างไร พฤติการณ์ดังกล่าวจึงยังไม่ถึงขนาดรับฟังได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการแพร่โควิด-19 ไปในวงกว้าง |
17 | คดีคาร์ม็อบนครราชสีมา วันที่ 23 ก.ค. 2564 | 19 ก.ค. 2565 (ศาลแขวงนครราชสีมา) | โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานว่าจำเลยทั้งสามเป็นผู้จัดการชุมนุม โดยเป็นเพียงผู้เข้าร่วมเท่านั้น จึงไม่มีหน้าที่ต้องขออนุญาต ส่วนเรื่องการร่วมชุมนุม เนื่องจากสถานที่ชุมนุมเป็นพื้นที่โล่งกว้าง อากาศถ่ายเทสะดวก ผู้ฟังปราศรัยส่วนใหญ่สวมหน้ากากอนามัย และไม่มีหลักฐานว่าภายหลังเกิดเหตุมีผู้ติดเชื้อโควิดหรือไม่ พยานหลักฐานโจทก์จึงยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ |
18 | คดีชุมนุม #อีสานสิบ่ทน ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วันที่ 22 ก.ค. 2563 | 21 ก.ค. 2565 (ศาลจังหวัดมหาสารคาม) | โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้จัดกิจกรรม สถานที่จัดกิจกรรมเป็นที่โล่งกว้าง ผู้เข้าร่วมชุมนุมสามารถนั่งตามอัธยาศัย มีจุดตรวจวัดอุณหภูมิ แจกเจลแอลกอฮอล์และหน้ากากอนามัย อีกทั้งภายหลังกิจกรรมไม่มีใครติดเชื้อโควิดจากการชุมนุม การชุมนุมยังเป็นไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธ |
19 | คดีคาร์ม็อบ #สระบุรีไม่เอาเผด็จการ วันที่ 1 ส.ค. 2564 | 9 ส.ค. 2565 (ศาลแขวงสระบุรี) | พยานหลักฐานโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้จัดการชุมนุม เพียงแต่ปราศรัยโจมตีการทำงานของรัฐบาล อีกทั้งขณะปราศรัยยังอยู่ในพื้นที่เปิดโล่ง ไม่แออัด จำเลยทั้งสองได้สวมหน้ากากอนามัยตลอดการปราศรัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยังเห็นว่าผู้เข้าร่วมการชุมนุมประมาณ 20 คน ขัดกับคำเบิกความตำรวจที่ระบุว่า 150 คน ส่วนข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงให้ปรับคนละ 150 บาท |
20 | คดีคาร์ม็อบสุราษฎร์ธานี วันที่ 1 ส.ค. 2564 | 10 ส.ค. 2565 (ศาลแขวงสุราษฎร์ธานี) | กิจกรรมมิได้รวมตัวกันอยู่ในพื้นที่ปิด สภาพอากาศถ่ายเทสะดวก ยังไม่ถึงขนาดเป็นสถานที่แออัดเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค การปราศรัยมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ไม่ถึงขนาดเกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมือง จึงยังไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ส่วนกรณีของจำเลยที่ไม่สวมหน้ากากอนามัย พบว่าเป็นการเปิดหน้ากากอนามัยชั่วคราว ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ยังไม่เป็นความผิดตามฟ้อง * อัยการไม่อุทธรณ์ คดีสิ้นสุดแล้ว |
21 | คดีชุมนุมหน้า บก.ตชด. ภาค 1 วันที่ 2 ส.ค. 2564 (คดีของ 4 นักศึกษาธรรมศาสตร์) | 10 ส.ค. 2565 (ศาลจังหวัดธัญบุรี) | จากพยานหลักฐานโจทก์ จำเลยทั้งสี่ชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ยังถือว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ทั้งบริเวณหน้า บก.ตชด. ภาค 1 เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง มีผู้ชุมนุมเพียง 20-30 คนเท่านั้น ไม่ได้เกิดความแออัด จึงไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และไม่ปรากฏว่าพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 หลังการชุมนุมยุติลงแล้วแต่อย่างใด |
22 | คดีกิจกรรมรำลึก 10 ปี การถูกยิงเสียชีวิตของ “เสธฯ แดง” บริเวณสวนลุมพินี วันที่ 13 พ.ค. 2563 (นักกิจกรรมและประชาชนรวม 8 คน) | 29 ส.ค. 2565 (ศาลแขวงปทุมวัน) | ผู้จัดกิจกรรมได้แจ้งเจ้าหน้าที่ไว้ล่วงหน้าแล้ว ตำรวจได้เข้าดูแลกิจกรรมให้เว้นระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัย จนท.สาธารณสุขคอยแจกเจล-คัดกรองอุณหภูมิ วิญญูชนทั่วไปย่อมเข้าใจว่าได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรมแล้ว ประกอบการจัดกิจกรรมมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเหมาะสม มีการคัดกรองอุณหภูมิ เว้นระยะห่าง สวมใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ |
23 | คดีชุมนุม #คนเจียงฮายก้ายคนง่าวบ่เอาคนหลายใจ ที่หอนาฬิกา จังหวัดเชียงราย วันที่ 25 ก.ค. 2563 | 29 ส.ค. 2565 (ศาลจังหวัดเชียงราย) | แม้พฤติการณ์จำเลยจะฟังได้ว่าเป็นผู้ร่วมจัดการชุมนุม แต่การชุมนุมไม่ถึงกับเป็นสถานที่แออัด ไม่เป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ผู้ชุมนุมส่วนมากสวมหน้ากากอนามัย รายงานสาธารณสุขแสดงว่า หลังการชุมนุม ในจังหวัดเชียงรายก็ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ เป็นเวลากว่า 133 วัน การชุมนุมจึงยังไม่เสี่ยงต่อโรค |
24 | คดีคาร์ม็อบยะลา วันที่ 7 ส.ค. 2564 | 31 ส.ค. 2565 (ศาลจังหวัดยะลา) | การนำสืบของโจทก์ ไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าจำเลยทั้งห้าเป็นผู้จัดกิจกรรม เส้นทางการเคลื่อนขบวนรถเป็นสถานที่โล่งกว้าง อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ใช่สถานที่แออัดที่จะเสี่ยงต่อโรค ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่สวมหน้ากากอนามัย และไม่มีรายงานการติดเชื้อโควิดหลังการชุมนุม แต่ให้ลงโทษปรับในข้อหาส่งเสียงอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันควร คนละ 600 บาท |
25 | คดีร่วม “คาร์ม็อบสัญจร ยื่นหนังสือทะลุโลก” วันที่ 20 ส.ค. 2564 | 5 ก.ย. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันชุมนุม และร่วมกับกลุ่มผู้ชุมนุมขว้างปาสิ่งของหรือทำลายทรัพย์สินที่ป้อมตำรวจ ที่แยกเกียกกาย * อัยการไม่อุทธรณ์ คดีสิ้นสุดแล้ว |
26 | คดีร่วมชุมนุม #ม็อบ17ตุลา63 ที่วงเวียนใหญ่ (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร้ายแรง) | 12 ก.ย. 2565 (ศาลแขวงธนบุรี) | ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีอาวุธ หรือมีการทำลายทรัพย์สินทางราชการ หรือกระทำรุนแรงในการชุมนุมในลักษณะที่ทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ภาพรวมยังเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ |
27 | คดีคุณภัทร ไปขายเสื้อ-หนังสือ ใน #ม็อบ2พฤษภา64 ที่หน้าศาลอาญา | 13 ก.ย. 2565 (ศาลแขวงพระนครเหนือ) | พยานโจทก์เบิกความขัดแย้งกันในหลายประเด็น และไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่จะเชื่อมโยงได้ว่าจำเลยเป็นหนึ่งในผู้ชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงกับเจ้าหน้าที่ และการที่จำเลยวิ่งหนีชุดจับกุมก็ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถบ่งบอกได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา พยานหลักฐานโจทก์มีข้อสงสัยหลายประการจึงไม่อาจรับฟังได้ * อัยการไม่อุทธรณ์ คดีสิ้นสุดแล้ว |
28 | คดีมีมี่ เยาวชน ร่วมปราศรัยการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ วันที่ 25 ต.ค. 2563 | 22 ก.ย. 2565 (ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง) | ในวันเกิดเหตุ จำเลยเพียงร่วมขึ้นปราศรัย และถ้อยคำปราศรัยก็มิได้ผิดกฎหมายใด จึงนับเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกตามที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งพยานโจทก์ที่มาขึ้นเบิกความก็ไม่มีปากใดยืนยันได้ว่าจำเลยเป็นผู้จัดการชุมนุม และขณะเกิดเหตุจำเลยมีอายุ 16 ปีเศษ ไม่มีศักยภาพพอที่จะจัดการชุมนุมได้ อาศัยเพียงพฤติการณ์การขึ้นปราศรัยเพื่อบอกว่าเป็นผู้จัดการชุมนุมนั้นยังฟังไม่ถนัด จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องดูแลและรับผิดชอบการชุมนุม |
29 | คดีคาร์ม็อบจากหน้าห้างฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต เข้ากรุงเทพฯ วันที่ 1 ส.ค. 2564 | 30 ก.ย. 2565 (ศาลจังหวัดธัญบุรี) | พยานหลักฐานยังระบุไม่ได้ชัดเจนว่าจำเลยทั้งสองคนเป็นผู้จัดการชุมนุม กิจกรรมตามฟ้องเป็นไปโดยสงบปราศจากอาวุธ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้เข้าร่วมชุมนุมโดยใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และไม่ได้มีพยานหลักฐานว่าจำเลยทั้งสองมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการแพร่โรคระบาดอย่างไร |
30 | กลุ่ม “ขอคืนไม่ได้ขอทาน” ปักหลักค้างคืนที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เรียกร้องการแก้ไขกฎหมายประกันสังคม โดยถูกจับวันที่ 5 ม.ค. 2564 | 3 ต.ค. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | อัยการบรรยายฟ้องไม่ชัดเจน ไม่ได้บรรยายพฤติการณ์จำเลยแต่ละคนว่ากระทำความผิดอย่างไรในสถานที่ที่อ้างว่าแออัด ทั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคไม่ได้ออกคำสั่งแจ้งเตือนเป็นหนังสือต่อผู้กระทำผิดตามกฎหมาย ทำให้ไม่อาจลงโทษตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ |
31 | คดีชุมนุม#StandWithMyanmar ร่วมต่อต้านการรัฐประหารในเมียนมาวันที่ 1 ก.พ. 2564 (คดีวิชพรรษ ศรีกสิพันธุ์ ทีม We Volunteer) | 5 ต.ค. 2565 (ศาลแขวงพระนครใต้) | ศาลยกฟ้องข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เห็นว่าจำนวนผู้ชุมนุมเทียบกับขนาดสถานที่แล้ว รับฟังไม่ได้ว่าชุมนุมในสถานที่แออัด และโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยยุยงให้กลุ่มผู้ชุมนุมกระทำการใดอันทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย แต่ลงโทษปรับข้อหา พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ 10,000 บาท เห็นว่าเจ้าพนักงานควบคุมโรคได้ประกาศแจ้งเตือนแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม |
32 | คดีชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย วันที่ 21 ต.ค. 2563 ของ อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร้ายแรง) | 25 ต.ค. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | ศาลเห็นว่าจำเลยเข้าร่วมการชุมนุม โดยมีพฤติการณ์เพียงยืนอยู่รวมกับผู้ชุมนุมคนอื่นๆ เท่านั้น ไม่ปรากฏหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ความรุนแรง หรือกระทำการใดในลักษณะที่ไม่สงบ และเห็นว่าการชุมนุมตามฟ้อง ยังเป็นการเรียกร้องโดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่ใช่ “การมั่วสุม” ตามที่อัยการบรรยายฟ้อง พิพากษายกฟ้อง |
33 | คดี “แซน” เยาวชนร่วมชุมนุมหน้า สภ.ภูเขียว เรียกร้องให้ตำรวจขอโทษจากการคุกคามนักเรียน กรณีจัดค่าย “ราษฎรออนทัวร์” เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 | 25 ต.ค. 2565 (ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชัยภูมิ) | จำเลยเป็นผู้มาร่วมชุมนุม จึงไม่มีหน้าที่ขออนุญาตและไม่มีหน้าที่ต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันโควิด ส่วนสถานที่เกิดเหตุเป็นสถานที่ไม่แออัด เป็นที่โล่งแจ้ง อากาศถ่ายเทสะดวก ผู้ชุมนุมไม่ได้ชุมนุมเต็มสถานที่ พยานโจทก์ปากสาธารณสุขอำเภอเบิกความว่ามิได้มีการแพร่ระบาดหรือมีผู้ป่วยติดเชื้อในพื้นที่อำเภอภูเขียว จึงไม่น่าจะมีการแพร่เชื้อในวงกว้าง อันเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน |
34 | คดีคาร์ม็อบแม่สอด วันที่ 1 ส.ค. 2564 | 26 ต.ค. 2565 (ศาลจังหวัดแม่สอด) | พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดกิจกรรมตามฟ้อง กิจกรรมยังเกิดในสถานที่โล่งแจ้ง อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ใช่สถานที่แออัด ผู้ชุมนุมไม่ถึงขนาดอยู่ใกล้ชิดกัน ทั้งส่วนใหญ่มีการสวมใส่หน้ากากอนามัย ยืนเว้นระยะห่าง ขณะเคลื่อนขบวนรถ ผู้ชุมนุมก็อยู่ในรถของตนเอง การชุมนุมจึงยังคำนึงถึงมาตรการป้องกันโรค |
35 | คดีชุมนุมให้กำลังใจ ระหว่างนักกิจกรรม “ราษฎรโขงชีมูล” เข้ารับทราบข้อกล่าวหา ที่ สภ.เมืองขอนแก่น วันที่ 22 มี.ค. 2564 | 31 ต.ค. 2565 (ศาลแขวงขอนแก่น) | พยานหลักฐานไม่มีข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งเจ็ดเป็นผู้จัดให้มีการชุมนุม จึงไม่มีหน้าที่จัดให้มีมาตรการป้องกันโรค ทั้งการชุมนุมในวันดังกล่าวไม่มีสภาพแออัด จึงยังไม่เสี่ยงต่อโรค |
36 | คดีชุมนุม #ม็อบ18ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย วันที่ 18 ต.ค. 2563 ของสมบัติ ทองย้อย (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร้ายแรง) | 8 พ.ย. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | ศาลเห็นว่าการชุมนุมที่เป็นความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต้องมีความรุนแรง ก่อให้เกิดความวุ่นวาย มีความรุนแรงกระทบความมั่นคงรัฐ ทรัพย์สิน หรือชีวิต พยานหลักฐานมีเพียงภาพจำเลยปรากฏในที่ชุมนุม แต่ไม่มีหลักฐานการใช้ความรุนแรง ไม่มีอาวุธ ไม่ได้กระทำการใดให้เกิดความไม่สงบ ปั่นป่วน วุ่นวาย อันจะถือว่าเป็นการมั่วสุมหรือไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ม.44 |
37 | คดีคาร์ม็อบกระบี่ วันที่ 1 ส.ค. 2564 | 10 พ.ย. 2565 (ศาลแขวงกระบี่) | ศาลเห็นว่ากิจกรรมตามฟ้อง จำเลยที่ 1-5 และ 8 อยู่ในพื้นที่กว้าง โล่งแจ้ง และมีอากาศถ่ายเท สวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่าง ไม่ได้มีการใกล้ชิดกันแต่อย่างใด ไม่ถึงขนาดเป็นการทำกิจกรรมในสถานที่แออัดและไม่ถึงขนาดมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ขณะที่จำเลย 2 ราย จากกลุ่มปกป้องสถาบันฯ ให้การรับสารภาพ ศาลลงโทษปรับคนละ 10,000 บาท ลดโทษเหลือ 5,000 บาท |
38 | คดีชุมนุม #เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย หรือ “ม็อบแฮร์รี่ พอตเตอร์” เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2563 | 28 พ.ย. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | การชุมนุมเกิดในสถานที่เปิดโล่ง อากาศถ่ายเท ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่สวมใส่หน้ากากอนามัย ไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงเกิดเหตุในประเทศไทย และรัฐบาลมีการควบคุมอย่างเคร่งครัดอยู่แล้ว โดยภาพรวมแล้ว ถือว่าการชุมนุมยังไม่ก่อให้เกิดการระบาดของโรค ไม่ถึงกับมีการปิดถนนสาธารณะ เชื่อว่าจำเลยทั้งหกในฐานะผู้จัดการชุมนุม ได้ดูแลรับผิดชอบการชุมนุมและให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานอย่างเต็มความสามารถแล้ว ยกฟ้องข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ แต่ปรับคนละ 200 บาท ข้อหาใช้เครื่องขยายเสียง |
39 | คดีชุมนุม #ม็อบ18ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย วันที่ 18 ต.ค. 2563 ของธัชพงศ์ แกดำ (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร้ายแรง) | 29 พ.ย. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | ในระหว่างการชุมนุมไม่ปรากฏว่าเกิดความไม่สงบเรียบร้อย ผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ และไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ฟังไม่ได้ว่าการชุมนุมทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ยังเป็นการชุมนุมเรียกร้องตามปกติในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่การชุมนุมมั่วสุม จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง |
40 | คดีคาร์ม็อบกระบี่ วันที่ 7 ส.ค. 2564 | 30 พ.ย. 2565 (ศาลแขวงกระบี่) | อัยการฟ้องคำสั่ง ศบค. ผิดฉบับ โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีประมาณ 30 คน ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดคือ 50 คน |
41 | คดีชุมนุมรอรับผู้ต้องขังคณะราษฏรอีสาน ที่หน้าเรือนจำกลางคลองเปรม วันที่ 19 ธ.ค. 2563 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร้ายแรง) | 6 ธ.ค. 2565 (ศาลแขวงพระนครเหนือ) | กิจกรรมตามฟ้องมีเพียงการติดป้ายหน้าเรือนจำ ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งหมดกระทำความรุนแรงใดๆ เป็นเพียงการรวมตัวกันเพื่อให้กำลังใจผู้ต้องขังในเรือนจำเท่านั้น โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยมีความผิดอย่างไร พิพากษายกฟ้อง |
42 | คดีชุมนุมหน้า สน.ดินแดง ภายหลังการสลายม็อบ REDEM เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2564 | 7 ธ.ค. 2565 (ศาลอาญา) | โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานว่าจำเลยทั้งสองได้เข้าร่วมการชุมนุมตามฟ้องจริง |
43 | คดีคาร์ม็อบนครนายก วันที่ 5 ก.ย. 2564 | 8 ธ.ค. 2565 (ศาลจังหวัดนครนายก) | พื้นที่ชุมนุมเป็นที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ผู้ร่วมชุมนุมมีเพียงประมาณ 20 คน สวมหน้ากาอนามัย ยืนห่างจากกัน ไม่มีสภาพแออัด และใช้เวลไม่นาน จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการรวมกลุ่มกันของบุคคลที่สามารถแพร่โรคได้ |
44 | คดีชุมนุม #อีสานบ่ย่านเด้อ ที่สวนรัชดานุสรณ์ จ.ขอนแก่น วันที่ 23 ก.ค. 2563 | 19 ธ.ค. 2565 (ศาลแขวงขอนแก่น) | ข้อกำหนดออกตามความในม.9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นการบังคับให้เฉพาะผู้จัดให้มีกิจกรรม เป็นผู้มีหน้าที่ในการจัดมาตรการป้องกันโรค แต่การนำสืบของโจทก์ ไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอว่าจำเลยทั้งห้าเป็นผู้ร่วมจัดการชุมนุม แม้จำเลยบางคนไม่สวมแมสก์ขณะปราศรัย แต่ก็เสี่ยงต่อการแพร่โควิดน้อย เหตุเว้นระยะห่างจากผู้ชุมนุม ไม่แออัด อีกทั้งประกาศจังหวัดขอนแก่นไม่เคร่งครัด ตำรวจ – สาธารณสุข ร่วมกิจกรรมโดยไม่สวมแมสก์เช่นกัน |
45 | คดีชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย วันที่ 21 ต.ค. 2563 ของ กรกช แสงเย็นพันธ์ (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร้ายแรง) | 27 ธ.ค. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | ศาลเห็นว่าการชุมนุมของจำเลยเป็นไปอย่างสงบ ไม่มีความรุนแรง และปราศจากอาวุธ เป็นการใช้สิทธิตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง ไม่เป็นความผิดในการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ |
46 | ร่วมกิจกรรมวันคล้ายวันเกิดทักษิณ ชินวัตร บริเวณหน้าร้านแมคโดนัลด์ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันที่ 26 ก.ค. 2564 | 27 ธ.ค. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | การชุมนุมของจำเลยไม่ถึงขนาดเป็นการมั่วสุมที่แออัด จำเลยได้จัดการชุมนุมมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพียง 20 คน ตลอดจนมีการจัดมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 การสวมหน้ากากอนามัย และแจกจ่ายเจลแอลกอฮอล์ตลอดทั้งงาน การชุมนุมจึงไม่เป็นการแออัดและเสี่ยงต่อการแพร่โรค ทั้งนี้ ศาลเห็นว่าจำเลยมีความผิดในข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ลงโทษปรับเป็นเงิน 200 บาท |
47 | คดีผู้ร่วมชุมนุมม็อบทะลุฟ้า ประชาชน VS ทรราช #ม็อบ22สิงหา2564 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (จิตรกร) | 27 ธ.ค. 2565 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานนำสืบให้เห็นว่าจำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุและกระทำความผิดอย่างไร แต่ให้ลงโทษปรับข้อหาครอบครองวิทยุสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาต |
48 | คดีชุมนุม #ม็อบ20กุมภา2564 #ปล่อยหมู่เฮา โดยราษฎรโขงชีมูล เดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขอนแก่น ไป สภ.เมืองขอนแก่น | 27 ธ.ค. 2565 (ศาลแขวงขอนแก่น) | ข้อเท็จจริงจากการนำสืบของโจทก์ยังไม่อาจบ่งชี้ได้ว่า จำเลยทั้งแปดมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการจัดชุมนุมและชักชวนให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมการชุมนุมมาตั้งแต่ต้นแต่อย่างใด บริเวณที่เกิดเหตุยังเป็นสถานที่โล่ง อากาศถ่ายเท ยังไม่ถึงขนาดเป็นสถานที่แออัด |
49 | คดีชุมนุม #ม็อบ1มีนา2564 #ผู้พิทักษ์ทรราชผู้พิฆาตประชาชน เดินขบวนจาก มข. ไปยังหน้า สภ.ย่อยมข. | 27 ธ.ค. 2565 (ศาลแขวงขอนแก่น) | ข้อเท็จจริงจากการนำสืบของโจทก์ยังไม่อาจบ่งชี้ได้ว่า จำเลยทั้งเก้ามีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการจัดชุมนุมและชักชวนให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมการชุมนุมมาตั้งแต่ต้นแต่อย่างใด บริเวณที่เกิดเหตุยังเป็นสถานที่โล่ง อากาศถ่ายเท ยังไม่ถึงขนาดเป็นสถานที่แออัด |
50 | คดีคาร์ม็อบนครราชสีมา วันที่ 21 ส.ค. 2564 | 16 ม.ค. 2566 (ศาลแขวงนครราชสีมา) | จำเลยทั้งหกไม่ใช่ผู้จัดชุมนุม จึงไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการโควิด-19 พยานโจทก์มีความสงสัย และไม่สามารถนำสืบได้ว่าใครเป็นผู้ดูแลเพจ Korat Movement ประกอบหลังการชุมนุมไม่มีผู้ใดติดเชื้อโควิด-19 |
51 | คดีคาร์ม็อบสิงห์บุรี วันที่ 31 ก.ค. 2564 | 17 ม.ค. 2566 (ศาลจังหวัดสิงห์บุรี) | การชุมนุมเป็นไปโดยสงบ ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย ยังเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ จากพยานหลักฐาน จำเลยสวมใส่หน้ากากอนามัยขณะเข้าร่วมกิจกรรม รูปแบบการชุมนุมอยู่บนรถส่วนตัว ผู้เข้าร่วมไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดกัน การชุมนุมจึงไม่ถึงขนาดแออัดเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค |
52 | คดีชุมนุม #ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันที่ 16 ส.ค. 2563 | 23 ม.ค. 2566 (ศาลแขวงดุสิต) | ศาลเห็นว่าการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต้องเป็นไปเพื่อการป้องกันการแพร่กระจายของโควิด-19 ไม่ใช่เพื่อปราบปรามผู้ชุมนุมหรือการชุมนุมอย่างไร้เหตุผล โดยในระดับการป้องกันโควิด ในพื้นที่ชุมนุมขณะเกิดเหตุนั้น เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ยังไม่ถึงขนาดเสี่ยงต่อการแพร่โรค และสถานการณ์ติดเชื้อในขณะนั้นก็เป็นศูนย์ |
53 | คดีเฉลิมชัย วัดจัง-ธนเดช ศรีสงคราม เดินขบวนไปร่วมตั้งหมู่บ้านทะลุฟ้าฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 13 มี.ค. 2564 | 23 ม.ค. 2566 (ศาลแขวงดุสิต) | โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าทั้งสองเป็นผู้จัดกิจกรรม ส่วนสถานที่เกิดเหตุไม่ใช่ที่แออัด ผู้ชุมนุมส่วนมากสวมหน้ากากอนามัย เคลื่อนไหวได้สะดวก มีจุดคัดกรองโรคระบาดโควิด-19 มีบริการเจลแอลกอฮอล์ ในช่วงเกิดเหตุไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ ไม่มีเหตุร้ายแรง เป็นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่เป็นความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ |
54 | คดีชุมนุมหน้าสถานทูตเมียนมา วันที่ 1 ก.พ. 2564 ของ “โตโต้-รุ้ง-เพนกวิน” | 30 ม.ค. 2566 (ศาลแขวงดอนเมือง) | บริเวณที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีลักษณะเปิดโล่ง ผู้ชุมนุมเว้นระยะห่างพอสมควร สถานที่ชุมนุมจึงไม่เป็นสถานที่แออัด จำเลยโพสต์เชิญชวนให้ประชาชนมาชุมนุมเท่านั้น ไม่ได้ยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย การมีข้อเรียกร้องให้ต่อต้านการรัฐประหารเป็นการแสดงออกทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตย และจำเลยทั้งสามไม่อยู่ในที่เกิดเหตุตอนสลายการชุมนุม |
.
คดีที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง อย่างน้อย 36 คดี
ลำดับ | ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี | วันที่สั่งไม่ฟ้อง | เหตุผลโดยสังเขป |
1 | คดีชุมนุม #ลำปางรวมการเฉพาะกิจ จังหวัดลำปาง วันที่ 26 ก.ค. 2563 | 3 มี.ค. 2564 | พื้นที่ชุมนุมไม่เป็นสถานที่แออัด ผู้ที่มาร่วมส่วนใหญ่สวมใส่หน้ากากอนามัย และไม่พบผู้ติดเชื้อในพื้นที่จังหวัดลำปางช่วงดังกล่าว เนื้อหาปราศรัย มีการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพ ที่มีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่มีข้อเท็จจริงว่ามีการยุยงปลุกปั่น หรือกระทําการใดๆ เพื่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง |
2 | คดียื่นหนังสือเรียกร้องความเป็นธรรมการอุ้มหายวันเฉลิม ที่สถานทูตกัมพูชา วันที่ 8 มิ.ย. 2563 (ช่วงเช้า ผู้ต้องหา 4 คน) | 17 ก.พ. 2564 | กิจกรรมไม่มีเหตุการณ์วุ่นวายหรือรุนแรง จึงไม่เป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย เป็นเพียงการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพโดยทั่วไป พื้นที่ด้านนอกสถานทูตเป็นที่โล่งและกว้างขวาง ไม่ได้เป็นสถานที่แออัด อีกทั้งผู้ต้องหาสวมหน้ากากอนามัย |
3 | คดียื่นหนังสือเรียกร้องความเป็นธรรมการอุ้มหายวันเฉลิม ที่สถานทูตกัมพูชา วันที่ 8 มิ.ย. 2563 (ช่วงบ่าย ผู้ต้องหา 6 คน) | 19 ก.พ. 2564 | กิจกรรมไม่มีเหตุการณ์วุ่นวายหรือรุนแรง จึงไม่เป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย เป็นเพียงการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพโดยทั่วไป พื้นที่ด้านนอกสถานทูตเป็นที่โล่งและกว้างขวาง ไม่ได้เป็นสถานที่แออัด อีกทั้งผู้ต้องหาสวมหน้ากากอนามัย |
4 | คดีชุมนุม #เด็กนนท์พร้อมชนเผด็จการ ที่ท่าน้ำนนทบุรี วันที่ 29 ก.ค. 2563 | 16 ก.ค. 2564 | ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าผู้ต้องหาได้การกระทำอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ที่เกิดเหตุเป็นสถานที่โล่ง มิได้เป็นสถานที่แออัด ไม่พบผู้ติดเชื้อโควิดในช่วงที่เกิดเหตุ ทั้งในวันชุมนุม มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกันจัดทางเข้าออกเป็นทางเดียว และจัดให้มีการตรวจคัดกรองวัดอุณหภูมิ และผู้ชุมนุมมีการสวมใส่หน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่าง |
5 | คดีชุมนุม #สมุทรปราการจะไม่ทน ที่ลานหน้าหอชมเมืองสมุทรปราการ วันที่ 25 ก.ค. 2563 | 10 พ.ย. 2564 | ไม่มีรายละเอียดคำสั่งของอัยการ |
6 | คดีคาร์ม็อบจังหวัดตาก วันที่ 15 ส.ค. 2564 | 20 ธ.ค. 2564 | ผู้เข้าร่วมมีการสวมใส่หน้ากากอนามัย มีการรวมตัวในระยะเวลาอันสั้น ไม่ปรากฏว่ามีการสัมผัสใกล้ชิด หรือการกระทำอื่นใดที่จะทำให้เห็นว่าเป็นการเสี่ยงต่อการแพร่โรคติดต่อ ทั้งที่เกิดเหตุเป็นที่โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก |
7 | คดีคาร์ม็อบจังหวัดมุกดาหาร วันที่ 29 ส.ค. 2564 | 7 ม.ค. 2565 | ไม่มีพยานหลักฐานว่าผู้ต้องหาทั้งสามเป็นผู้จัดกิจกรรมครั้งนี้ จึงไม่มีหน้าที่ต้องขออนุญาตเจ้าพนักงานในการจัดกิจกรรม |
8 | คดีคาร์ม็อบ 1 ส.ค. 2564 จากหน้าสนามบินดอนเมือง ไปตามถนนวิภาวดี-รังสิต | 8 มี.ค. 2565 | การชุมนุมเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ลักษณะเป็นการขับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไปตามถนน ไม่ได้อยู่ในสถานที่แออัดจะเสี่ยงต่อการแพร่โรค และผู้ร่วมชุมนุมมีการใส่หน้ากากอนามัย และไม่ปรากฏว่ามีการปิดกั้นการจราจร |
9 | คดีคาร์ม็อบ “รวมพลังคนพันธุ์ R อาชีวะขับไล่เผด็จการ” วันที่ 15 ส.ค. 2564 โดยกลุ่มอาชีวะพิทักษ์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย | 11 เม.ย. 2565 | ห้างสรรพสินค้าซึ่งตั้งอยู่ที่เกิดเหตุเปิดทำการ ย่อมมีบุคคลทั่วไปสัญจรไปมาโดยใช้รถใช้ถนนเข้าออก, ผู้ต้องหาได้เข้าชี้แจงกำหนดการจัดกิจกรรมกับผู้กำกับก่อนจัดกิจกรรม อันถือได้ว่าเป็นการขอความร่วมมือหรือขออนุญาตเจ้าพนักงานโดยปริยายแล้ว ประกอบกับที่เกิดเหตุเป็นถนนเปิดโล่ง ผู้คนสัญจรไม่หนาแน่น มีการใส่หน้ากากอนามัย และการขับขี่ยานพาหนะย่อมมีการเว้นระยะห่างระหว่างรถแต่ละคันอยู่เป็นปกติวิสัย ถือได้ว่ามีมาตรการเว้นระยะห่างของบุคคลที่ปลอดภัยพอสมควรแล้ว |
10 | คดีผู้ร่วมสังเกตการณ์ #ม็อบทะลุแก๊ส ดินแดง วันที่ 23 ส.ค. 2564 (ชาญชัย-เอกชัย) | 1 มิ.ย. 2565 | ไม่มีพยานยืนยันว่าผู้ต้องหาทั้งสองเป็นแกนนำหรือผู้จัดกิจกรรมการชุมนุม สถานที่ชุมนุมเป็นที่โปร่งโล่งแจ้ง ไม่แออัดที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ผู้เข้าร่วมชุมนุมส่วนใหญ่สวมใส่หน้ากากอนามัย |
11 | คดีผู้ร่วมสังเกตการณ์ #ม็อบทะลุแก๊ส ดินแดง วันที่ 2 ก.ย. 2564 (ชาญชัย-ธีรเมธ) | 20 มิ.ย. 2565 | ข้อเท็จจริงพิสูจน์ได้เพียงว่าผู้ต้องหาทั้งสองปรากฏตัวในที่ชุมนุมเท่านั้น โดยไม่มีพยานหลักฐานว่าเป็นผู้จัดการชุมนุม การชุมนุมดังกล่าวมีจุดประสงค์ในการแสดงความไม่พอใจต่อรัฐบาลเท่านั้น ไม่มีพฤติกรรมที่เป็นการเสี่ยงต่อการแพร่โรค |
12 | คดีผู้ถูกจับกุมบริเวณใต้แฟลตดินแดง ช่วงเช้าวันที่ 7 ต.ค. 2564 (ประชาชน 11 คน) | 31 พ.ค. 2565 | คดีไม่มีพยานยืนยันได้ว่าผู้ต้องหาทั้ง 11 ได้เข้าร่วมกับกลุ่มที่เป็นผู้ทำการจัดกิจกรรมชุมนุม หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค มิใช่เป็นการจับกุมได้ในขณะที่มีการร่วมชุมนุม การตรวจค้นไม่พบสิ่งผิดกฎหมายในครอบครอง ภาพพิสูจน์ทราบตัวบุคคลก็เป็นภาพถ่ายในระยะไกล มิได้แสดงให้เห็นลักษณะการร่วมชุมนุม |
13 | คดีผู้ร่วมสังเกตการณ์ #ม็อบทะลุแก๊ส ดินแดง วันที่ 20 ก.ย. 2564 (กตัญญู-ธีรเมธ) | 18 ก.ค. 2565 | ผู้ต้องหาทั้งสองแค่มาปรากฏตัวในที่ชุมนุม เป็นเพียงบุคคลที่น่าสนใจซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจดูพฤติกรรม โดยไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหารายใดเป็นแกนนำจัดกิจกรรมชุมนุม ทั้งผู้ชุมนุมส่วนมากสวมหน้ากาก มีจำนวนไม่มาก ยืนกันมีระยะห่าง ไม่เบียดเสียดแน่นใกล้ชิด เป็นพื้นที่โล่ง ไม่ได้ปิดทึบ จึงไม่เสี่ยงต่อโรค |
14 – 16 | คดีคาร์ม็อบจังหวัดสกลนคร 3 คดี วันที่ 1, 7 และ 15 ส.ค. 2564 | 21 ก.ค. 2565 | อัยการสั่งไม่ฟ้องในข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ-พ.ร.บ.จราจรฯ ผู้ต้องหาจึงยินยอมให้ตำรวจเปรียบเทียบปรับในข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้คดีสิ้นสุดลง |
17 | คดีคาร์ม็อบจังหวัดลำพูน วันที่ 1 ส.ค. 2564 | 27 ก.ค. 2565 | อัยการสั่งไม่ฟ้องในข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ผู้ต้องหาจึงยินยอมให้ตำรวจเปรียบเทียบปรับในข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้คดีสิ้นสุดลง |
18 | คดีผู้ร่วมสังเกตการณ์ #ม็อบทะลุแก๊ส ดินแดง วันที่ 11 ก.ย. 2564 (ประชาชน 8 คน) | 7 ก.ค. 2565 | ผู้ต้องหาแค่มาปรากฏตัวในที่ชุมนุม เป็นเพียงบุคคลที่น่าสนใจซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจดูพฤติกรรม โดยไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหารายใดเป็นแกนนำจัดกิจกรรมชุมนุม ทั้งผู้ชุมนุมส่วนมากสวมหน้ากาก มีจำนวนไม่มาก ยืนกันมีระยะห่าง ไม่เบียดเสียดแน่นใกล้ชิด เป็นพื้นที่โล่ง ไม่ได้ปิดทึบ จึงไม่เสี่ยงต่อโรค |
19 | คดีผู้ร่วมสังเกตการณ์ #ม็อบทะลุแก๊ส ดินแดง วันที่ 18 ก.ย. 2564 (ชาญชัย-ธีรเมธ) | 4 ส.ค. 2565 | พยานหลักฐานระบุได้เพียงว่าผู้ต้องหาทั้งสองปรากฏตัวในที่ชุมนุมเท่านั้น โดยไม่มีพยานหลักฐานว่าเป็นผู้จัดการชุมนุม ทั้งไม่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ขณะที่ชาญชัยมีพฤติการณ์การไปตั้งเต็นท์ปฐมพยาบาล อันเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการสาธารณสุข ซึ่งได้รับการยกเว้นตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ |
20 | คดีชุมนุม #ม็อบ18สิงหา ไล่ล่าทรราช ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันที่ 18 ส.ค. 2564 | 18 ส.ค. 2565 | อัยการสั่งไม่ฟ้องในข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่ฟ้องเฉพาะข้อหาร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะ และร่วมกันกีดขวางการจราจร ซึ่งมีอัตราโทษปรับ |
21 | คดีเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น 37 คน ชุมนุมทวงสัญญาการยุติการสร้างนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึก ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล | ก.ย. 2565 | |
22 | คดีคาร์ม็อบ #คนเชียงรายไม่ทน วันที่ 1 ส.ค. 2564 | 9 ก.ย. 2565 | อัยการสั่งไม่ฟ้องในข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ-พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ เห็นว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมใส่หน้ากากอนามัย ไม่มีการรวมกลุ่มในสถานที่แออัด ไม่มีการยุยงให้เกิดความไม่สงบหรือก่อให้เกิดเหตุรุนแรง ส่วนข้อหาบีบแตรเสียงดังโดยไม่มีเหตุอันควร คดีหมดอายุความแล้ว |
23 | คดีผู้ร่วมสังเกตการณ์ #ม็อบทะลุแก๊ส ดินแดง วันที่ 3 ก.ย. 2564 | ||
24 | คดีผู้ร่วมสังเกตการณ์ #ม็อบทะลุแก๊ส ดินแดง วันที่ 9 ก.ย. 2564 (ประชาชน 4 คน) | 3 ส.ค. 2565 | ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหาเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมชุมนุม เป็นเพียงบุคคลที่น่าสนใจที่ตำรวจติดตามดูพฤติกรรมที่ปรากฏตัวในที่ชุมนุมเท่านั้น ทั้งไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าทั้งสามมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือสร้างความเดือดร้อนเสียหายอย่างไร |
25 | คดีผู้ร่วมสังเกตการณ์ #ม็อบทะลุแก๊ส ดินแดง วันที่ 15 ก.ย. 2564 (ประชาชน 5 คน) | 5 ต.ค. 2565 | ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหาเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมชุมนุม เป็นเพียงบุคคลที่น่าสนใจที่ตำรวจติดตามดูพฤติกรรมที่ปรากฏตัวในที่ชุมนุมเท่านั้น ทั้งไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าทั้งสามมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือสร้างความเดือดร้อนเสียหายอย่างไร |
26 | คดีผู้ร่วมชุมนุม #เคาะรั้วเจ้าของหมา บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วันที่ 7 ส.ค. 2564 | 29 มิ.ย. 2565 | ไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าเป็นแกนนำจัดกิจกรรม ผู้ต้องหาเป็นเพียงบุคคลน่าสนใจซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจดูพฤติกรรมที่ปรากฏตัวในที่ชุมนุมเท่านั้น และไม่ปรากฏพยานหลักฐานยืนยันได้ชัดเจนว่า ผู้ต้องหาอยู่ในที่ชุมนุมหรือไม่ สร้างความเดือดร้อนเสียหายอย่างไรหรือมีพฤติกรรมที่เป็นการเสี่ยงต่อการแพร่โรคอย่างไร |
27 | คดีชุมนุม #ศุกร์13ไล่ล่าทรราช บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วันที่ 13 ส.ค. 2564 (ประชาชน-นักกิจกรรมรวม 13 คน) | 26 ก.ย. 2565 | พยานหลักฐานมีเพียงว่าผู้ต้องหาทั้ง 13 เข้าร่วมชุมนุมเท่านั้น ไม่ใช่ผู้จัดกิจกรรม ที่จัดชุมนุมยังเป็นสถานที่โล่งกว้าง อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีสภาพแออัด ทั้ง 13 คน เพียงขึ้นเวทีปราศรัยแสดงความคิดเห็นถึงข้อเรียกร้องที่ประชาชนสามารถกระทำได้ ไม่มีพฤติการณ์ยุยงให้เกิดความไม่สงบ พฤติการณ์ยังไม่พอฟังว่าผู้ต้องหากระทำความผิด |
28 | คดีผู้ร่วมสังเกตการณ์ #ม็อบทะลุแก๊ส ดินแดง วันที่ 20 ส.ค. 2564 (ชาญชัย-วสันต์-เอกชัย) | 4 ต.ค. 2565 | ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหาเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมชุมนุม เป็นเพียงบุคคลที่น่าสนใจที่ตำรวจติดตามดูพฤติกรรมที่ปรากฏตัวในที่ชุมนุมเท่านั้น ทั้งไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าทั้งสามมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือสร้างความเดือดร้อนเสียหายอย่างไร |
29 | คดี #คณะราษฎรอีสาน รอการชุมนุมใหญ่ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (กลุ่มถูกออกหมายเรียกภายหลัง 6 คน) | 17 ส.ค. 2565 | สถานที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่เปิดโล่งกว้าง ไม่ปรากฏว่ามีผู้ชุมนุมอยู่หนาแน่นตลอดพื้นที่ อันเสี่ยงต่อการใกล้ชิดสัมผัสและแพร่เชื้อโรค ไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหาปราศรัยในลักษณะให้ก่อความรุนแรงและให้ใช้กำลังขัดขวางเจ้าหน้าที่ อันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ทั้งการกระทบกระทั่งระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่นั้น เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมเกิดความไม่พอใจเจ้าหน้าที่จะเข้าจับกุมตัวจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ขณะเดียวกัน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ ยังไม่นำมาใช้บังคับในระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน |
30 | คดีผู้ร่วมสังเกตการณ์ #ม็อบทะลุแก๊ส ดินแดง วันที่ 3 ต.ค. 2564 (ประชาชน 3 คน) | พยานหลักฐานระบุได้เพียงว่าผู้ต้องหาปรากฏตัวในที่ชุมนุมเท่านั้น โดยไม่มีพยานหลักฐานว่าเป็นผู้จัดการชุมนุม ทั้งไม่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค การชุมนุมไม่ใช่ในสถานที่แออัด ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่สวมหน้ากากอนามัย | |
31 | คดี #ภาคีSaveบางกลอย ยื่นหนังสือถึงรมต. ที่หน้ากระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม วันที่ 5 ก.พ. 2564 | ||
32 | คดีผู้ร่วมสังเกตการณ์ #ม็อบทะลุแก๊ส ดินแดง วันที่ 7 ก.ย. 2564 (ประชาชน 8 คน) | 21 พ.ย. 2565 | พยานหลักฐานระบุได้เพียงว่าผู้ต้องหาปรากฏตัวในที่ชุมนุมเท่านั้น โดยไม่มีพยานหลักฐานว่าเป็นผู้จัดการชุมนุม ทั้งไม่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ขณะที่ภาพถ่ายที่อ้างว่าเป็นผู้ต้องหา 5 ราย ก็เป็นภาพที่ถ่ายในระยะไกล ไม่ชัดเจน ไม่เห็นหน้า จึงไม่อาจยืนยันตัวบุคคลได้ชัดเจน |
33 | คดีผู้ร่วมสังเกตการณ์ #ม็อบทะลุแก๊ส ดินแดง วันที่ 24 ส.ค. 2564 (ชาญชัย-จีรพงษ์-วรวรรณ) | 26 ต.ค. 2565 | ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหาเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมชุมนุม เป็นเพียงบุคคลที่น่าสนใจที่ตำรวจติดตามดูพฤติกรรมที่ปรากฏตัวในที่ชุมนุมเท่านั้น ทั้งไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าทั้งสามมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือสร้างความเดือดร้อนเสียหายอย่างไร |
34 | คดีชุมนุมหน้ารัฐสภา วันที่ 17 พ.ย. 2563 (นักกิจกรรม 4 คน) | 8 ธ.ค. 2565 | ไม่ปรากฏพฤติการณ์บ่งชี้ว่า ผู้ต้องหาทั้งสี่เป็นผู้ใช้กำลังประทุษร้ายเจ้าพนักงาน หรือก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหาทั้งสี่เป็นผู้ดูแลหรือผู้รับผิดชอบในการจัดการชุมนุม จึงไม่มีหน้าที่ขออนุญาตจัดการชุมนุม และไม่มีหน้าที่โดยตรงในการจัดมาตรการป้องกันโรค ทั้งเมื่อบริเวณที่เกิดเหตุ มีลักษณะเป็นพื้นที่เปิดโล่ง อากาศถ่ายเท มีพื้นที่ว่างให้บุคคลสามารถยืนโดยเว้นระยะห่างเพียงพอ สถานที่ชุมนุมจึงไม่มีลักษณะเป็นสถานที่แออัด ไม่ถือว่าผู้ต้องหาร่วมกันชุมนุมหรือทำกิจกรรมในสถานที่แออัด |
35 | คดี 3 คนขับรถเครื่องขยายเสียง ใน #ม็อบสมรสเท่าเทียม เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2564 | 25 พ.ย. 2565 | อัยการไม่สั่งฟ้องในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่ฟ้องเฉพาะข้อหากีดขวางทางสาธารณะ ต่อมาจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพข้อหานี้ในชั้นศาล ศาลลงโทษปรับคนละ 500 บาท |
36 | คดีชุมนุม #ปทุมธานีไม่ปรานีเผด็จการ ลานรถตู้ตรงข้ามฟิวเจอร์รังสิต วันที่ 23 ก.ค. 2563 |
.
คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ต่อสู้คดี และศาลพิพากษาว่ามีความผิด อย่างน้อย 20 คดี
ลำดับ | ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี | วันที่พิพากษา | เหตุผลโดยสังเขป |
1 | คดีชุมนุม #ม็อบ2พฤศจิกา63 ที่ MRT ท่าพระ (ถูกฟ้องทั้งข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ) | 29 เม.ย. 2565 (ศาลอาญาตลิ่งชัน) | พิพากษาปรับ 5,000 บาท เห็นว่าจำเลยเป็นผู้นำรถเครื่องเสียงมาให้แก่ผู้ชุมนุม ทั้งยังคอยตรวจความเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ชุมนุม ถือเป็นผู้มีพฤติการณ์ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้ร่วมจัดให้มีการชุมนุม แต่จำเลยมิใช่แกนนำหรือผู้มีอำนาจสั่งการในการจัดการชุมนุมสาธารณะ ทั้งการชุมนุมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย จำเลยเพียงแต่ไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้ง |
2 | คดีชุมนุม #ม็อบ15เมษา #รดน้ำกดหัวประยุทธ์ กลุ่มทะลุฟ้า หน้าทำเนียบรัฐบาล | 27 พ.ค. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | พิพากษาปรับคนละ 2,000 บาท เห็นว่าพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสี่ มีลักษณะแออัด และผู้ร่วมกิจกรรมไม่เข้าข่ายของการเว้นระยะห่าง หรือมีมาตรการตามสมควรมิให้แพร่ระบาดของโรค เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค |
3 | คดีชุมนุม #Saveวันเฉลิม สกายวอล์กปทุมวัน วันที่ 5 มิ.ย. 2563 | 12 ก.ค. 2565 (ศาลแขวงปทุมวัน) | พิพากษาจำคุกคนละ 2 เดือน ปรับ 10,000 บาท รอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปี เห็นว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมในการจัดกิจกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แม้ไม่มีหลักฐานมาแสดง โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาพฤติการณ์ชุมนุมว่าเป็นไปตามมาตรการป้องกันโรค เกิดขึ้นในสถานที่แออัดหรือไม่ หรือมีความไม่สงบเรียบร้อยหรือไม่ |
4 | คดีชุมนุม #ม็อบ11สิงหาไล่ล่าทรราช ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วันที่ 11 ส.ค. 2564 (ประชาชน 7 ราย) | 2 ส.ค. 2565 (ศาลอาญา) | พิพากษาจำคุก 1 ปี ปรับคนละ 20,000 บาท ให้รอการลงโทษจำคุก มีระยะเวลา 3 ปี เห็นว่าแม้กิจกรรมจะจัดขึ้นในที่โล่งแจ้ง อากาศถ่ายเทสะดวก และไม่เข้าข่ายการแพร่ระบาดโควิด-19 รวมทั้งจำเลยไม่ได้เป็นผู้จัดกิจกรรม แต่หากพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อใช้รักษาความสงบเรียบร้อยแล้ว กรณีเช่นนี้ จึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นอื่นอีก เพียงแต่จำเลยได้เข้าร่วมกิจกรรมและมีจำนวนกว่าห้าคนขึ้นไป ก็เป็นความผิดแล้ว แต่ข้อหาอื่นๆ ให้ยกฟ้อง |
5 | คดีกิจกรรมรำลึกครบรอบ 10 ปี ล้อมปราบการชุมนุมเสื้อแดง บริเวณหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ วันที่ 19 พ.ค. 2563 (นพ.ทศพร เสรีรักษ์ และ อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ เป็นจำเลย คดีนี้ ทนายความจาก สกสส. ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย) | 9 ส.ค. 2565 (ศาลแขวงปทุมวัน) | ศาลเห็นว่าแม้จำเลยจะต่อสู้ว่าข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก. ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่ปรากฏจำเลยเคยร้องหรือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จึงเห็นว่าประกาศฯ ดังกล่าวออกโดยชอบ และเห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิด แต่เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดด้วย จึงเห็นควรให้รอการกำหนดโทษไว้ 2 ปี |
6 | คดีชุมนุมแยกอุดมสุข ถึงสี่แยกบางนา วันที่ 1 พ.ย. 2563 | 31 ส.ค. 2565 (ศาลอาญาพระโขนง) | ศาลเห็นว่า การชุมนุมตามฟ้องจัดโดยไม่มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนด แม้โจทก์นำสืบจะไม่ปรากฎว่า จำเลยทั้งสามเป็นผู้จัดกิจกรรม แต่ทั้งสามได้ผลัดกันขึ้นปราศรัย ศาลจึงเห็นว่าการทำหน้าที่ปราศรัยนั้น มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการชุมนุมให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ด้วย และถึงแม้จะไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 หลังจาการชุมนุมดังกล่าว แต่สถานการณ์ยังมีการแพร่ระบาดอยู่ ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสาม ในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คนละ 5,000 บาท ข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต 200 บาท รวมปรับคนละ 5,200 บาท แต่เนื่องจากให้การเป็นประโยชน์ จึงลดให้กึ่งหนึ่ง เหลือปรับคนละ 2,600 บาท |
7 | คดีชุมนุมหน้าอาคารเนชั่น ถนนบางนา-ตราด วันที่ 29 ต.ค. 2563 | 31 ส.ค. 2565 (ศาลอาญาพระโขนง) | ศาลวินิจฉัยเช่นเดียวกับคดีชุมนุมแยกอุดมสุข ถึงสี่แยกบางนา |
8 | คดีชุมนุม #ม็อบ3กันยา64 ที่แยกราชประสงค์ | 5 ก.ย. 2565 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าจำเลย 2 รายที่เข้าร่วมชุมนุมมีความผิด แม้ไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้จัดการชุมนุม เนื่องการเข้าร่วมชุมนุมฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่ว่าจะมีการจัดมาตรการป้องกันโรคหรือไม่ หรือมีผู้ติดเชื้อจากการชุมนุมหรือไม่ ลงโทษปรับคนละ 20,000 บาท ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษปรับเหลือคนละ 13,333.33 บาท |
9 | คดีชุมนุม #ม็อบมุ้งมิ้ง ที่หน้ากองทัพบก วันที่ 20 ก.ค. 2563 | 17 ต.ค. 2565 (ศาลแขวงดุสิต) | ศาลเห็นว่าการชุมนุมไม่ได้จัดให้มีจุดคัดกรอง ไม่มีการเว้นระยะห่าง ลงโทษปรับคนละ 20,000 บาท และ ปรับข้อหาใช้เครื่องเสียงคนละ 200 บาท รวมปรับคนละ 20,200 บาท แต่ลดโทษให้ 1/4 เนื่องจากให้การเป็นประโยชน์เหลือปรับคนละ 15,150 บาท รวมปรับ 75,750 บาท |
10 | คดีผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กล่าวยุยงให้ผู้ชุมนุมขว้างปาก้อนหินใส่เจ้าหน้าที่บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง ระหว่าง #ม็อบ7สิงหา64 (ถูกกล่าวหาในข้อหาอื่นๆ ด้วย) | 18 ต.ค. 2565 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าการชุมนุมของจำเลยไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ลงโทษจำคุก 1 ปี และปรับ 15,000 บาท นำสืบจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาบรรเทาโทษ ลดโทษเหลือจำคุก 8 เดือน และปรับ 10,000 บาท จำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน จึงให้รอลงอาญามีกำหนด 2 ปี และคุมประพฤติจำเลย |
11 | คดีคาร์ม็อบอุตรดิตถ์ วันที่ 15 ส.ค. 2564 | 25 ต.ค. 2565 (ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์) | ศาลเห็นว่าแม้การชุมนุมจะมีลักษณะขับขี่รถไปตามท้องถนน เป็นที่โล่งแจ้ง มีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่และสามารถแพร่โรคได้เช่นกัน ส่วนจำเลยที่ 2 ศาลเห็นว่าเป็นตัวการร่วมที่โพสต์ให้มีการชุมนุม พิพากษาว่ามีความผิดตามฟ้อง จำคุกจำเลย คนละ 2 เดือน โดยไม่รอลงอาญา |
12 | คดีคาร์ม็อบยะลา วันที่ 1 ส.ค. 2564 | 1 พ.ย. 2565 (ศาลจังหวัดยะลา) | ศาลเห็นว่าจำเลยทั้งหกมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เห็นว่าผู้ชุมนุมบางคนไม่สวมหน้ากากอนามัย และจำเลยสองรายบางช่วงดึงหน้ากากอนามัยลง ถึงจะเป็นที่โล่งแจ้ง แต่มีผู้คนเข้าร่วมจำนวนมาก และหน้ากากอนามัยที่ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่สวมใส่นั้นไม่ใช่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ลงโทษจำคุกจำเลยคนละ 3 เดือน ปรับคนละ 6,000 บาท ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษให้หนึ่งในสาม เหลือจำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท และลงโทษปรับจำเลยสามราย คนละ 400 บาท ในฐานขับรถในลักษณะกีดขวางทางจราจร เนื่องจากไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้คนละ 1 ปี |
13 | คดีธนพร วิจันทร์ เป็นตัวแทนเรียกร้องแก้ไขปัญหาของกลุ่มแรงงานข้ามชาติระหว่างการระบาดของโควิด-19 ที่กระทรวงแรงงาน วันที่ 29 ต.ค. 2564 | 7 พ.ย. 2565 (ศาลแขวงพระนครเหนือ) | ศาลเห็นว่ามีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พิพากษาลงโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 20,000 บาท แต่จำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงให้รอลงอาญา 1 ปี |
14-15 | คดีคาร์ม็อบปัตตานี วันที่ 7 และ 14 ส.ค. 2564 | 10 พ.ย. 2565 (ศาลจังหวัดปัตตานี) | ศาลยกฟ้องจำเลยสองราย เห็นว่าพยานหลักฐานไม่เพียงพอว่าฟังว่าเป็นผู้จัดกิจกรรม แต่ลงโทษจำเลยอีก 1 ราย เห็นว่าพยานหลักฐานเข้าข่ายเป็นผู้จัดการชุมนุม ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 เดือน ปรับ 20,000 บาท รวมจำคุก 4 เดือน ปรับ 40,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี |
16 | คดีชุมนุม #ตามหานาย สาดสี-ปาไข่ หน้าประตูทางเข้า ม.พัน 4 พล.1 รอ. (นักกิจกรรม 3 คน) | 1 ธ.ค. 2565 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่ามีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และข้อหาอื่นๆ โดยลงโทษข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ให้จำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา |
17 | คดี “ภูมิ” ศศลักษณ์ ร่วมชุมนุมคณะราษฎรอีสาน วันที่ 13 ต.ค. 2563 | 13 ธ.ค. 2565 (ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง) | ศาลลงโทษจำคุก 1 ปี ในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รวมทั้งลงโทษในข้อหาอื่นๆ รวมจำคุก 2 ปี 5 วัน โดยเปลี่ยนจากโทษจำคุกเป็นนำตัวไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เป็นระยะเวลา 6 เดือน |
18 | คดีคาร์ม็อบของกลุ่มคนรุ่นใหม่นนทบุรี วันที่ 1 ส.ค. 2564 | 20 ธ.ค. 2565 (ศาลแขวงนนทบุรี) | ศาลเห็นว่าจำเลยบางคนไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี และมีการถอดหน้ากากอนามัยคุยกันในระหว่างที่ร่วมการชุมนุม อันเป็นการสร้างความเสี่ยงต่อการแพร่โรคโควิด–19 พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ให้ลงโทษปรับคนละ 5,000 บาท ฐานส่งเสียงอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันควร ปรับคนละ 1,000 บาท รวมปรับคนละ 6,000 บาท |
19 | คดี “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ ชุมนุมตั้งเวทีให้กำลังใจผู้ถูกดำเนินคดี ม.112 ที่หน้าสน.ยานนาวา | 12 ม.ค. 2566 (ศาลแขวงพระนครใต้) | ศาลเห็นว่าจำเลยไม่ได้ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่จำเลยถือเป็นผู้จัดการชุมนุม มีหน้าที่แจ้งการชุมนุม เมื่อจำเลยไม่ได้แจ้งการชุมนุม จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดเรื่องการจัดกิจกรรม ส่วนข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง ลงโทษปรับ 3,000 บาท จำเลยให้การเป็นประโยชน์ลดโทษลง 1 ใน 3 คงปรับ 2,000 บาท |
20 | คดีสิทธิโชค เศรษฐเศวต ถูกกล่าวหานำของเหลวคล้ายเป็นน้ำมันฉีดใส่ฐานพระบรมฉายาลักษณ์ ระหว่างชุมนุม #ม็อบ18กรกฎา2564 (พ่วงข้อหา ม.112) | 17 ม.ค. 2566 (ศาลอาญา) | ศาลเห็นว่าจากพยานหลักฐาน จำเลยเข้าร่วมการชุมนุมดังกล่าวจริง การที่จำเลยอยู่ในที่ชุมนุมขณะที่มีการประกาศบังคับใช้ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จึงถือว่าเป็นความผิด ลงโทษจำคุก 6 เดือน ส่วนข้อหา ม.112 ลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุกรวม 2 ปี 4 เดือน |
.
คดีข้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ และอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง
ลำดับ | ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี | ข้อหาหลัก | วันที่สั่งไม่ฟ้อง | เหตุผลโดยสังเขป |
1 | คดีสุชาติ จั่นแก้ว พกป้ายไล่ประยุทธ์ ที่ท่าน้ำปากเกร็ด วันที่ 30 ก.ย. 2564 | ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง-ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, ก่อความเดือดร้อนรำคาญ | 27 ธ.ค. 2564 | ผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ยังไม่มีการนำแผ่นป้ายดังกล่าวออกจากกระเป๋า ซึ่งเป็นการไม่แน่ว่าผู้ต้องหาจะใช้แผ่นดังกล่าวกระทำหรือไม่กระทำการใด ตำรวจจับกุมโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ผู้ต้องหาจึงไม่มีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน |
2 | คดี “นายพล” กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ชวนเข้าร่วมชุมนุมเดือนก.ค.-ส.ค. 2564 ทำให้เกิดการล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน | ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 | ก.ย. 2565 | พยานหลักฐานไม่เพียงพอว่าผู้ต้องหาเป็นแอดมินของเพจกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย และเป็นผู้โพสต์ข้อความตามข้อกล่าวหา แม้จะมีภาพถ่ายว่าผู้ต้องหาเข้าร่วมการชุมนุม และได้กล่าวเชิญชวนในไลฟ์ แต่ก็ไม่มีข้อความที่มีลักษณะปลุกปั่น ปลุกระดมมวลชนให้มีการกระทำที่กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน |
.