สถิติคดี “ละเมิดอำนาจศาล-ดูหมิ่นศาล” ปี 2564-67

*แก้ไขข้อมูลล่าสุดวันที่ 9 เม.ย. 2567

หลังจากที่ประชาชนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในช่วงปี 2563 จนถึงต้นปี 2564 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตอบสนองโดยการดำเนินคดีต่อผู้แสดงออกทางการเมือง ทำให้ผู้ถูกดำเนินคดีเป็นหลายรายถูกคุมขังระหว่างพิจารณา โดยศาลไม่ให้ประกันตัว

การไม่อนุญาตให้ประกันตัวผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมือง นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์บทบาทขององค์กรตุลาการอย่างกว้างขวาง และมีการจัดกิจกรรมเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้แก่ผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมืองกระจายตัวไปในหลายจังหวัด บวกรวมกับการวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของศาลในแง่มุมต่างๆ ซึ่งดำเนินต่อเนื่องมาท่ามกลางวิกฤติทางการเมืองในทศวรรษที่ผ่านมา

สถานการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การดำเนินคดี “ละเมิดอำนาจศาล” ตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 – 33 และข้อหา “ดูหมิ่นศาล” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 ที่เพิ่มมากขึ้น

สำหรับคดีละเมิดอำนาจศาล เป็นคดีที่ศาลสามารถตั้งเรื่องไต่สวน และลงโทษผู้กระทำผิดเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีการสอบสวนหรือฟ้องร้องเหมือนในคดีอาญาทั่วไป แม้จะมีโทษปรับและจำคุกก็ตาม คดีเหล่านี้มีผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลอาญา เป็นผู้กล่าวหา 

ส่วนคดีดูหมิ่นศาล ซึ่งดำเนินการในลักษณะคดีอาญาทั่วไป คือพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกให้ผู้ถูกกล่าวหาไปรับทราบข้อกล่าวหา และมีการสอบสวนหรือฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนหลังจากเริ่มชุมนุมเยาวชนปลดแอก ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. 2563 เป็นต้นมา มีการดำเนินคดี “ละเมิดอำนาจศาล” ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองแล้วอย่างน้อย 43 คน ใน 25 คดี จำนวนนี้เป็นคดีที่มีมูลเหตุจากการเรียกร้องสิทธิประกันตัว 17 คดี

หากย้อนพิจารณาตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2557 ถึงสิงหาคม 2561 รวมระยะเวลากว่า 5 ปี มีรายงานการดำเนินคดี “ละเมิดอำนาจศาล” ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองและสิทธิมนุษยชน อย่างน้อย 20 คน ใน 9 คดี 

ในส่วนของคดีดูหมิ่นศาล นับตั้งแต่เริ่มการชุมนุมเยาวชนปลดแอก มีการดำเนินคดีต่อผู้แสดงออกทางการเมืองแล้วอย่างน้อย 34 คน ใน 10 คดี

.

คดี “ละเมิดอำนาจศาล” หลังเยาวชนปลดแอก

ลำดับวันที่เกิดเหตุมูลเหตุแห่งคดีผู้ถูกกล่าวหาผู้กล่าวหาสถานะคดี
18 ส.ค. 63กล่าวปราศรัยระหว่างติดตามการฝากขังอานนท์-ภาณุพงศ์ ที่บันไดหน้าศาลอาญา รัชดา (1)พริษฐ์ ชิวารักษ์ (1)ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาจำหน่ายคดีหลังแถลงขอโทษ
28 มี.ค. 64ถ่ายรูปในห้องพิจารณาคดี ระหว่างการสั่งฟ้องคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ที่ศาลอาญา (2)1. ชินวัตร จันทร์กระจ่าง (2)
2. อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ (3)
3. อรรถพล บัวพัฒน์ (4)
ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ ปรับ 500 บาท จำคุก 15 วัน โทษจำคุกให้รอลงอาญา
315 มี.ค. 64อ่านแถลงการณ์วิพากษ์วิจารณ์ศาลและประกาศอดอาหารในห้องพิจารณาของศาลอาญา คดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร (3)พริษฐ์ ชิวารักษ์ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาศาลพิพากษาลงโทษกักขัง 14 วัน
48 มี.ค. 64ชุมนุมให้กำลังใจแกนนำราษฎรที่ถูกฟ้องคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร หน้าศาลอาญา (4)1. นวพล ต้นงาม (5)
2. เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ (6)
ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 1 เดือน ปรับคนละ 500 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
58 เม.ย. 64ทนายโต้เถียงกับอัยการในห้องพิจารณา (5)ทนายความ (7)ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาศาลพิพากษาลงโทษ ปรับ 500 บาท และให้ขอโทษคู่กรณี หากกระทำอีกจะส่งเรื่องให้สภาทนายความสอบมรรยาท
68 เม.ย. 64สะกิดไหล่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในห้องพิจารณา ระหว่างพิจารณาคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร (6)อะดิศักดิ์ สมบัติคำ (8)ราชทัณฑ์ร้องเรียน ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญา

ศาลพิพากษาลงโทษปรับ 500 บาท และตักเตือนไม่ให้ผู้ถูกกล่าวหากระทำการเช่นนี้อีก

ต่อมาศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษา เป็นยกข้อกล่าวหา เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาเพียงแค่แตะไหล่บอกกล่าว เพื่อปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะรับฟังกระบวนพิจารณาอย่างเปิดเผย
729 เม.ย. 64ชุมนุมและปราศรัยบันไดหน้าศาลอาญา ระหว่างการรอประกันตัวแกนนำราษฎร 7 คน (7)เบนจา อะปัญ (8)ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน ไม่รอลงอาญา ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษเป็นจำคุก 1 เดือน และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขัง 1 เดือนแทน 
829 เม.ย. 64ชุมนุมและปราศรัยบันไดหน้าศาลอาญา ระหว่างการรอประกันตัวแกนนำราษฎร 7 คน (8)ชินวัตร จันทร์กระจ่างผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาศาลพิพากษาลงโทษ จำคุก 4 เดือน ไม่รอลงอาญา

ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาเปลี่ยนโทษเป็นกักขัง 1 เดือน และศาลฎีกาพิพากษายืน
929 เม.ย. 64ชุมนุมและปราศรัยบันไดหน้าศาลอาญา ระหว่างการรอประกันตัวแกนนำราษฎร 7 คน (9)ณัฐชนน ไพโรจน์ (9)ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 4 เดือน ไม่รอลงอาญา ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษเป็นจำคุก 1 เดือน และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขัง 1 เดือนแทน  อยู่ระหว่างฎีกาคำพิพากษา
1029 เม.ย. 64ชุมนุมและปราศรัยบันไดหน้าศาลอาญา ระหว่างการรอประกันตัวแกนนำราษฎร 7 คน (10)ภัทรพงศ์ น้อยผาง (10)ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาศาลพิพากษาให้รอการกำหนดโทษ 2 ปี และห้ามปฎิบัติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอีก
1129 เม.ย. 64ชุมนุมหน้าศาลอาญา ระหว่างการรอประกันตัวแกนนำราษฎร 7 คน (11)พิสิฎฐ์กุล ควรแถลง (11)ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาศาลพิพากษาให้รอการกำหนดโทษเป็นเวลา 2 ปี และกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติ ห้ามแสดงพฤติการณ์ไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล
1229 เม.ย. 64ชุมนุมหน้าศาลอาญา ระหว่างการรอประกันตัวแกนนำราษฎร 7 คน (12)เอเลียร์ ฟอฟิ (12)ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาศาลพิพากษาให้รอการกำหนดโทษเป็นเวลา 2 ปี และกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติ ห้ามแสดงพฤติการณ์ไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล
1330 เม.ย. 64ชุมนุมหน้าศาลอาญา ระหว่างการรอยื่นประกันตัวเพนกวิน และถูกตั้งเรื่องละเมิดอำนาจศาล (13)1. เบนจา อะปัญ
2. ณัฐชนน ไพโรจน์
ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาศาลพิพากษาจำคุกณัฐชนนเป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และลงโทษปรับเบนจา 500 บาท
กรณีของณัฐชนน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษเป็นจำคุก 15 วัน และเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขัง 15 วัน
142 พ.ค. 64ผู้ชุมนุม #ม็อบ2พฤษภา หน้าศาลอาญา โดย REDEM (14)1. ศุภกิจ บุญมหิทานนท์ (14)
2. วีรภาพ วงษ์สมาน (15)
3. พัชรวัฒน์ โกมลประเสริฐกุล (16)
4. จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ (17)
5. ศรัณย์ อนุรักษ์ปราการ (18)
ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาศาลพิพากษาลงโทษผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ถึง 3 จำคุกคนละ 2 เดือน ลดโทษหนึ่งในสาม เหลือโทษจำคุก 40 วัน และสั่งกักขังแทน

ส่วนผู้ถูกกล่าวหาที่ 4 ลงโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 480 บาท ให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และให้คุมประพฤติ 1 ปี พร้อมทำงานบริการสังคม

และผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ลงโทษจำคุก 3 เดือน ลดโทษหนึ่งในสาม เหลือจำคุก 2 เดือน และสั่งกักขังแทน

ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
159 ส.ค. 64แสดงออกในห้องควบคุมผู้ต้องขังของศาลจังหวัดธัญบุรี หลังศาลไม่ให้ประกันตัวในคดีชุมนุมหน้า บก. ตชด. ภาค 11. พรหมศร วีระธรรมจารี (19)
2. สิริชัย นาถึง (20)
3. พริษฐ์ ชิวารักษ์
4. ภาณุพงศ์ จาดนอก (21)
5. ชาติชาย แกดำ (22)
6. ณัฐชนน ไพโรจน์
7. ธนพัฒน์ กาเพ็ง (23)
8. แซม สาแมท (24)
9. ปนัดดา ศิริมาศกูล (25)
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดธัญบุรีศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 20 วัน ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 10 วัน มีเหตุบรรเทาโทษ จึงปรับเป็นโทษกักขังคนละ 10 วันแทน
อยู่ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา
1611 ต.ค. 64ใช้คัตเตอร์กรีดแขนตนเองในห้องพิจารณาคดีชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี เรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้เบนจา-อานนท์“โจเซฟ” (26)ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลอาญากรุงเทพใต้ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 2 เดือน ปรับ 500 บาท ให้การสารภาพ จึงลดโทษเหลือจำคุก 1 เดือน ปรับ 250 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 6 เดือน
1719 ม.ค. 65ขีดเขียนข้อความทางการเมืองในห้องเวรชี้ของศาลอาญา1. ทรงพล สนธิรักษ์ (27)
2. นวพล ต้นงาม
3. ปวริศ แย้มยิ่ง (28)
4. วชิรวิชญ์ ลิมป์ธนวงศ์ (29)
5. พีรพงศ์ เพิ่มพูน (30)
6. วิโรฌา ชัชวาลวงศ์ (31)
ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาศาลอาญาลงโทษวชิรวิชญ์-ปวริศ-พีรพงศ์ จำคุก 1 เดือน รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 15 วัน พิจารณาจากอายุ-ความสำนึกผิด จึงลดเหลือโทษกักขัง 15 วัน

ส่วนอีก 3 ราย ให้ยกฟ้อง

ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนกรณี 3 ผู้ถูกกล่าวหา
1823 ธ.ค. 64ถูกกล่าวหาว่าขว้างปาสีแดงเข้าไปในบริเวณศาล ระหว่าง #ม็อบ23ธันวา64 หน้าศาลอาญา1. พรนิภา งามบาง (32)
2. วรรณวลี ธรรมสัตยา (33)
3. กัลยกร สุนทรพฤกษ์ (34)
ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาศาลอาญาลงโทษจำคุกคนละ 2 เดือน ปรับคนละ 500 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 1 เดือน ปรับคนละ 250 บาท โดยให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 1 ปี
แต่ให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติจำนวน 3 ครั้ง และให้ทํางานบริการสังคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง

ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา พิพากษายืน
1918 ก.ค. 65สื่ออิสระไลฟ์สดที่หน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ ระหว่างติดตามผลการประกันตัวบุ้งและใบปอภราดร เกตุเผือก (35)ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลอาญากรุงเทพใต้ศาลไต่สวนแล้วยกข้อกล่าวหา เห็นว่าไม่มีการติดประกาศถึงสถานที่หวงห้าม และบริเวณที่สามารถไลฟ์สดได้อย่างชัดเจน อีกทั้งไม่มีเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และไม่มีพยานหลักฐานที่ปรากฏว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบริเวณศาล
209 ส.ค. 65ถ่ายคลิปวิดีโอหน้าห้องพิจารณา ภายหลังฟังคำพิพากษาคดีคารม็อบที่ศาลแขวงสระบุรีประชาชนที่ไปให้กำลังใจ (36)ผู้อำนวยการสำนักงานประจำศาลแขวงสระบุรีศาลไต่สวนแล้ว เห็นว่าเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล แต่พฤติการณ์ไม่ร้ายแรง จึงได้กล่าวตักเตือน
2130 มี.ค. 66เหตุการณ์ชุลมุนกับเจ้าหน้าที่ศาลที่จะมานำตัวไปไต่สวน1. ทานตะวันตัวตุลานนท์ (37)
2. สายน้ำ นภสินธุ์ (38)
3. แบม อรวรรณ (39)
4. “วอน” (40)
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
2229 มี.ค. 66ถ่ายภาพห้องพิจารณาคดี“วอน”ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลเยาวชนและครอบครัวกลางศาลเยาวชนฯ พิพากษาจำคุก 30 วัน ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 15 วัน
23-2419 ต.ค. 66เหตุวุ่นวายระหว่างรอการประกันตัวคดีของ “โฟล์ค สหรัฐ” ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้1. “บุ้ง” (41)
2. “หยก” (42)
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลอาญากรุงเทพใต้กรณีบุ้ง ศาลเห็นว่ามีความผิด ลงโทษจำคุก 1 เดือน ส่วนกรณีหยก ศาลให้ตักเตือน
2525 ธ.ค. 66แต่งชุดซานต้าชูป้ายให้สื่อมวลชนถ่ายภาพ จากอาคารศาลนรินทร์ (43)ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลอาญากรุงเทพใต้ศาลพิพากษาว่ามีความผิด ให้จำคุก 15 วัน ปรับ 300 บาท แต่การเบิกความของผู้ถูกกล่าวหามีเหตุบรรเทาโทษ ให้ลดเหลือจำคุก 10 วัน ปรับ 200 บาท ไม่ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาเคยมีโทษจำคุกมาก่อน โทษให้รอลงอาญา 1 ปี
.

คดี “ดูหมิ่นศาล” หลังเยาวชนปลดแอก

ลำดับวันที่เกิดเหตุมูลเหตุแห่งคดีผู้ถูกกล่าวหาสถานีตำรวจ/ผู้กล่าวหาสถานะคดี
129 เม.ย. 64ชุมนุมหน้าศาลอาญา ระหว่างการรอประกันตัวแกนนำราษฎร 7 คน1. เบนจา อะปัญ (1)
2. ชินวัตร จันทร์กระจ่าง (2)
3. พิสิฎฐ์กุล ควรแถลง (3)
4. เอเลียร์ ฟอฟิ (4)
5. ภัทรพงศ์ น้อยผาง (5)
6. ณัฐชนน ไพโรจน์ (6)
สน.พหลโยธินตร.ออกหมายจับ โดยไม่มีการออกหมายเรียก
11 พ.ค. 64 ชินวัตร, พิสิฎฐ์กุล และเอเลียร์ ถูกจับตามหมาย ก่อนศาลให้ประกัน

เบนจา, ภัทรพงศ์ และณัฐชนน เข้าแสดงตัวก่อน ตร.แสดงหมายจับ ได้ประกันในชั้นสอบสวน

230 เม.ย. 64ชุมนุมหน้าศาลอาญา ระหว่างรอการประกันตัวพริษฐ์ ชิวารักษ์1. ณัฐชนน ไพโรจน์
2. เบนจา อะปัญ
3. สมยศ พฤกษาเกษมสุข (7)
สน.พหลโยธินตร.ออกหมายจับโดยไม่มีการออกหมายเรียก
11 พ.ค. 64 เบนจา และณัฐชนน เข้าแสดงตัว
14 พ.ค. 64 สมยศเข้าแสดงตัว ได้ประกันในชั้นสอบสวน
32 พ.ค. 64ชุมนุม #ม็อบ2พฤษภา หน้าศาลอาญา โดย REDEM (กรณีถูกออกหมายจับ)1. ศุภกิจ บุญมหิทานนท์ (8)
2. วีรภาพ วงษ์สมาน (9)
3. ปรณัท น้อยนงค์เยาว์ (10)
4. พัชรวัฒน์ โกมลประเสริฐกุล (11)
5. จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ (12)
6. อิทธิกร ทรัพย์แฉ่ง (13)
7. ปรีชญา สานจิตรสัมพันธ์ (14)
8. สุธิตา รัตนวงศ์ (15)
9. โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง (16)
10. ศรัณย์ อนุรักษ์ปราการ (17)
11. ชาติชาย แกดำ (18)
12. ชนกันต์ เคืองไม่หาย (19)
13. ยงยุทธ ฮังนนท์ (20)
สน.พหลโยธินตร.ออกหมายจับโดยไม่มีการออกหมายเรียก

14 พ.ค. 64 เข้าแสดงตัวก่อน ได้ประกันในชั้นสอบสวน

42 พ.ค. 64



ชุมนุม #ม็อบ2พฤษภา หน้าศาลอาญา โดย REDEM (กรณีเยาวชน)



1. “ภูมิ” ศศลักษณ์ เยาวชน อายุ 17 ปี (21)
2. “ณัฐ” เยาวชนอายุ 17 ปี (22)
3. เยาวชนอายุ 16 ปี (23)
4. เยาวชน (24)
สน.พหลโยธิน



สามรายแรกเข้ารับทราบข้อหาตามหมายเรียก เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 64 รายสุดท้ายวันที่ 12 ก.ค. 64
52 ธ.ค. 63โพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ 2 ข้อความ
(เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มอบอำนาจให้ มนตรี แดงศรี เป็นผู้กล่าวหา)
พริษฐ์ ชิวารักษ์ (25)สน.ทุ่งสองห้องตำรวจเข้าแจ้งข้อหาในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 65
ก่อนอัยการจะมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี
622 ส.ค. 63ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวระหว่างชุมนุม #เด็กพูดผู้ใหญ่ฟัง ที่ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี (สำนักงานศาลยุติธรรมมอบอำนาจให้ศาลจังหวัดอุบลราชธานี ร้องทุกข์กล่าวโทษ)พริษฐ์ ชิวารักษ์สภ.เมืองอุบลราชธานีตำรวจเแจ้งข้อหาเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 65
715 ก.ค. 65ปราศรัยเรียกร้องสิทธิการประกันตัว “บุ้ง-ใบปอ” ที่หน้าศาลแพ่งกรุงเทพใต้ (สันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล รองอธิบดีศาลอาญากรุงเทพใต้ มอบอำนาจให้ เนติพันธ์ สมจิตต์ เป็นผู้กล่าวหา)1. เงินตา คำแสน (26)
2. จิรัชยา สกุลทอง (27)
สน.ยานนาวาตำรวจเข้าจับกุมเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 65 โดยไม่เคยมีหมายเรียกมาก่อน
วันที่ 19 ก.ย. 66 ศาลพิพากษาจำคุก 6 เดือนไม่รอลงอาญา
81 ส.ค. 65ปราศรัยระหว่างการฝากขัง “ไบรท์ ชินวัตร” ที่หน้าศาลอาญากรุงเทพใต้จิรัชยา สกุลทองสน.ยานนาวาตำรวจเข้าจับกุมเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 65 โดยไม่เคยมีหมายเรียกมาก่อน
928 ก.ย. 65ร่วมกิจกรรม “ยืนบอกเจ้าว่าเราโดนรังแก” หน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ เรียกร้องสิทธิประกันตัวบุ้ง-ใบปอ และมีการติดป้ายข้อความ
(สำนักงานศาลยุติธรรม โดยสุรศักดิ์ กิจชาลารัตน์ เป็นผู้รับมอบอำนาจกล่าวหา)
1. เงินตา คำแสน
2. เชน ชีวอบัญชา (28)
สน.ยานนาวาตำรวจเข้าจับกุมเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 66 โดยไม่เคยมีหมายเรียกมาก่อน
1030 ก.ย. 65ติดป้ายข้อความในเมืองเชียงใหม่ หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดี 8 ปีประยุทธ์เป็นนายกฯ
(สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยมนตรี แดงศรี เป็นผู้กล่าวหา)
6 นักกิจกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ (29-34)สภ.เมืองเชียงใหม่เข้ารับทราบข้อหาเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 66

.

X