ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องประกันตัวทุกฉบับของ “อานนท์ – ขนุน” แม้ทั้งสองยืนยันสู้คดีถึงที่สุด ไม่หลบหนี รอผลพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน

ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2567 ทนายความยื่นคำร้องขอประกันตัว “อานนท์ นำภา” ทนายความสิทธิมนุษยชน อายุ 39 ปี และ “ขนุน” สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ นักศึกษาปริญญาโท อายุ 23 ปี ต่อศาลอาญาและศาลอาญากรุงเทพใต้ จากกรณีที่ทั้งสองคนถูกคุมขังระหว่างอุทธรณ์ในคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

ในครั้งนี้ ยื่นประกันตัวอานนท์ใน 4 คดี ต่อศาลอาญาและศาลอาญากรุงเทพใต้ ส่วนขนุนยื่นประกันตัว 1 คดีต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยศาลอาญาและศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้ส่งคำร้องทุกฉบับให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาออกคำสั่ง ก่อนในวันที่ 6 พ.ย. 2567 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องขังทางการเมืองทั้งสองคน

อานนท์ ยื่นประกันตัวใน 4 คดี รวมสูงกว่า 31 ฉบับ ส่วน “ขนุน” ยื่นประกันตัวใน 1 คดีเป็นครั้งที่ 10 แล้ว

กรณีของอานนท์ ปัจจุบันเขาถูกคุมขังด้วยโทษจำคุกรวม 14 ปี 2 เดือน 20 วัน หลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีมาตรา 112 ใน 4 คดี ได้แก่ คดีปราศรัยใน #ม็อบ14ตุลา63 ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 4 ปี, คดีโพสต์ 3 ข้อความในเฟซบุ๊ก ศาลอาญาพิพากษาจำคุกอีก 4 ปี, คดีปราศรัยใน #ม็อบแฮร์รี่พอตเตอร์2 ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาให้จำคุกอีก 2 ปี 20 วัน โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 ศาลอาญาพิพากษาจำคุกอีก 4 ปี ในคดีที่วิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินของกษัตริย์   

นอกจากนั้นยังมีคดีชุมนุม #ม็อบ27พฤศจิกาซ้อมต้านรัฐประหาร ที่ถูกศาลแขวงพระนครเหนือพิพากษาในข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จำคุก 2 เดือน แต่คดีทั้งหมดยังอยู่ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา 

อานนท์ถูกคุมขังมากว่า 1 ปี 1 เดือนเศษ  ซึ่งหากรวมการขอยื่นประกันตัวในระหว่างอุทธรณ์ทั้ง 4 คดี มีคำร้องทุกฉบับรวมกันกว่า 31 ฉบับ (จากการยื่นจำนวนรวม 13 ครั้ง) โดยศาลชั้นต้นส่งให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาสั่งประกันตัวทั้งหมด และศาลอุทธรณ์ก็ยกคำร้องทุกฉบับเรื่อยมา 

ส่วนขนุน ถูกพิพากษาให้จำคุก 2 ปี ในคดีมาตรา 112 กรณีปราศรัยในการชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎรประสงค์ บริเวณสี่แยกราชประสงค์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563 ซึ่งภายหลังฟังคำพิพากษา ทนายความได้ยื่นขอประกันสิรภพในชั้นอุทธรณ์ แต่คำร้องดังกล่าวถูกส่งไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา โดยศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง ทำให้สิรภพถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 2567 และมีการยื่นประกันตัวเป็นจำนวนกว่า 10 ครั้งแล้วในปีนี้ 

ในครั้งนี้ ทั้งสองคนได้ยื่นประกันตัวพร้อมกัน โดยอานนท์ยื่นประกันตัวใน 4 คดี วางหลักทรัพย์ประกันตัวเป็นจำนวนเงินสูงกว่า 500,000 บาทในทุกคดี ส่วนขนุนยื่นประกันตัวโดยวางหลักทรัพย์ 500,000 บาท  และในคำร้องขอประกันตัวของทั้งสองคน มีใจความสำคัญระบุถึงการอภิปรายเพื่อพิจารณา “รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม” ของสภาผู้แทนราษฎร โดยรายงานดังกล่าวถูกรับทราบไว้เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาการนิรโทษกรรมคดีทางการเมือง

จากการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ได้เสนอแนวทางการนิรโทษกรรทมไปใน 3 แนวทาง ทั้งแนวทางที่ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมในคดีมาตรา 112, เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 โดยมีเงื่อนไข และเห็นด้วยแบบไม่มีเงื่อนไข  

และเมื่อจำเลยเป็นผู้ที่ถูกดำเนินคดีและคุมขังตามมาตรา 112 ซึ่งเป็นฐานความผิดที่เข้าข่ายอาจได้รับการพิจารณานิรโทษกรรมตามรายงานฉบับดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสาเหตุที่จะหลบหนี และยืนยันที่จะต่อสู้คดีถึงที่สุด

นอกจากนี้ ในคำร้องขอประกันตัวของอานนท์ยังมีเนื้อความที่กล่าวถึง แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันกำลังนำประเทศเดินหน้ากลับสู่หนทางตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยังมีความตั้งใจเดินหน้าคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ให้กับประชาชนที่ใช้สิทธิและเสรีภาพการชุมนุมและแสดงความคิดเห็น จำเลยจึงขอให้ศาลพิจารณาสิทธิการประกันตัวในระหว่างพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์ด้วย 

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 6 พ.ย. 2567 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องทุกฉบับของผู้ต้องขังทางการเมืองทั้งสองราย โดยในส่วนของอานนท์ทุกฉบับ มีใจความระบุว่า พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว และโทษที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลย ประกอบศาลอุทธรณ์และฎีกาเคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวในระหว่างอุทธรณ์ เนื่องมาจากเกรงว่าจะหลบหนี จึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ยกคำร้อง 

ส่วนในกรณีของขนุน ศาลอุทธรณ์ระบุว่า พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดี ประกอบพยานหลักฐานที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว ข้อหามีอัตราโทษสูง การกระทำของจำเลยที่ 1 มีลักษณะก่อให้เกิดความเสื่อมเสียสู่สถาบันกษัตริย์ ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์มาแล้วหลายครั้ง และศาลฎีกาก็เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์มาแล้ว และเหตุตามคำร้องไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาต ให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง

จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่าในปี 2567 มีการยื่นประกันตัวผู้ต้องขังทางการเมืองในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 112 และ มาตรา 116 รวมกันแล้วกว่า 111 ฉบับ  หากนับรวมทุกประเภทคดีในปีนี้ มีการขอประกันตัวไปแล้วอย่างน้อย 140 ฉบับ ซึ่งมีเพียง 11 ราย เท่านั้นที่ศาลอนุญาตให้ประกันตัว (นับเฉพาะกรณีที่จำเลยถูกนำตัวไปคุมขังในเรือนจำ และได้ประกันตัว)

นอกจากนั้นยังมีคดีชุมนุม #ม็อบ27พฤศจิกาซ้อมต้านรัฐประหาร ที่ถูกศาลแขวงพระนครเหนือพิพากษาในข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จำคุก 2 เดือน แต่คดีทั้งหมดยังอยู่ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา 

อานนท์ถูกคุมขังมากว่า 1 ปี 1 เดือนเศษ  ซึ่งหากรวมการขอยื่นประกันตัวในระหว่างอุทธรณ์ทั้ง 4 คดี มีคำร้องทุกฉบับรวมกันกว่า 31 ฉบับ (จากการยื่นจำนวนรวม 13 ครั้ง) โดยศาลชั้นต้นส่งให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาสั่งประกันตัวทั้งหมด และศาลอุทธรณ์ก็ยกคำร้องทุกฉบับเรื่อยมา 

ส่วนขนุน ถูกพิพากษาให้จำคุก 2 ปี ในคดีมาตรา 112 กรณีปราศรัยในการชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎรประสงค์ บริเวณสี่แยกราชประสงค์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563 ซึ่งภายหลังฟังคำพิพากษา ทนายความได้ยื่นขอประกันสิรภพในชั้นอุทธรณ์ แต่คำร้องดังกล่าวถูกส่งไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา โดยศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง ทำให้สิรภพถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 2567 และมีการยื่นประกันตัวเป็นจำนวนกว่า 10 ครั้งแล้วในปีนี้ 

ในครั้งนี้ ทั้งสองคนได้ยื่นประกันตัวพร้อมกัน โดยอานนท์ยื่นประกันตัวใน 4 คดี วางหลักทรัพย์ประกันตัวเป็นจำนวนเงินสูงกว่า 500,000 บาทในทุกคดี ส่วนขนุนยื่นประกันตัวโดยวางหลักทรัพย์ 500,000 บาท  และในคำร้องขอประกันตัวของทั้งสองคน มีใจความสำคัญระบุถึงการอภิปรายเพื่อพิจารณา “รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม” ของสภาผู้แทนราษฎร โดยรายงานดังกล่าวถูกรับทราบไว้เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาการนิรโทษกรรมคดีทางการเมือง

จากการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ได้เสนอแนวทางการนิรโทษกรรทมไปใน 3 แนวทาง ทั้งแนวทางที่ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมในคดีมาตรา 112, เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 โดยมีเงื่อนไข และเห็นด้วยแบบไม่มีเงื่อนไข  

และเมื่อจำเลยเป็นผู้ที่ถูกดำเนินคดีและคุมขังตามมาตรา 112 ซึ่งเป็นฐานความผิดที่เข้าข่ายอาจได้รับการพิจารณานิรโทษกรรมตามรายงานฉบับดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสาเหตุที่จะหลบหนี และยืนยันที่จะต่อสู้คดีถึงที่สุด

นอกจากนี้ ในคำร้องขอประกันตัวของอานนท์ยังมีเนื้อความที่กล่าวถึง แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันกำลังนำประเทศเดินหน้ากลับสู่หนทางตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยังมีความตั้งใจเดินหน้าคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ให้กับประชาชนที่ใช้สิทธิและเสรีภาพการชุมนุมและแสดงความคิดเห็น จำเลยจึงขอให้ศาลพิจารณาสิทธิการประกันตัวในระหว่างพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์ด้วย 

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 6 พ.ย. 2567 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องทุกฉบับของผู้ต้องขังทางการเมืองทั้งสองราย โดยในส่วนของอานนท์ทุกฉบับ มีใจความระบุว่า พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว และโทษที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลย ประกอบศาลอุทธรณ์และฎีกาเคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวในระหว่างอุทธรณ์ เนื่องมาจากเกรงว่าจะหลบหนี จึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ยกคำร้อง 

ส่วนในกรณีของขนุน ศาลอุทธรณ์ระบุว่า พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดี ประกอบพยานหลักฐานที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว ข้อหามีอัตราโทษสูง การกระทำของจำเลยที่ 1 มีลักษณะก่อให้เกิดความเสื่อมเสียสู่สถาบันกษัตริย์ ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์มาแล้วหลายครั้ง และศาลฎีกาก็เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์มาแล้ว และเหตุตามคำร้องไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาต ให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง

ในวันที่ 12 พ.ย. 2567 ขนุนได้เขียนจดหมาย โดยเปิดเผยถึงจำนวนวันที่ตัวเองถูกคุมขัง และตั้งคำถามถึงสิทธิการประกันตัวที่ผู้ต้องขังทางการเมืองอย่างเขาควรจะได้รับ

“นับเป็นวันที่ 233 ภายหลังถูกพรากอิสรภาพไป จวบจนวันนี้ ผมได้ยื่นประกันตัวไปแล้วนับต่อนับ แต่ผลยังเป็นเช่นเดิม ผมยังคงถูกจองจำในที่แห่งนี้ อะไรคือบรรทัดฐานของการพิจารณาว่าใครสมควรได้รับการรับประกัน หรือไม่ได้ประกัน ในคดีเดียวกัน ศาลเดียวกัน พฤติการณ์ใกล้เคียงกัน คนหนึ่งได้รับอิสรภาพ ใช้ชีวิตอย่างที่ควรได้ใช้ อีกคนกลับต้องอยู่รอคอยวันที่จะได้ออกไป”

“ผมดีใจและยินดีกับพี่และเพื่อนทุกคนที่อยู่ข้างนอกอย่างมีอิสรภาพ ผมหวังว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มีวุฒิภาวะทางความคิดจะตระหนักถึงสถานการณ์ที่ดำเนินอยู่ในเวลานี้”

จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่าในปี 2567 มีการยื่นประกันตัวผู้ต้องขังทางการเมืองในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 112 และ มาตรา 116 รวมกันแล้วกว่า 111 ฉบับ  หากนับรวมทุกประเภทคดีในปีนี้ มีการขอประกันตัวไปแล้วอย่างน้อย 140 ฉบับ ซึ่งมีเพียง 11 ราย เท่านั้นที่ศาลอนุญาตให้ประกันตัว (นับเฉพาะกรณีที่จำเลยถูกนำตัวไปคุมขังในเรือนจำ และได้ประกันตัว)

X