การอดอาหารประท้วง (Hunger Strike) ในเรือนจำ ปี 2567

ปัจจุบันมีผู้ต้องขังคดีการเมือง ‘อดอาหารประท้วง’ ในเรือนจำ อย่างน้อย 4 คน ได้แก่ บุ้ง, ตะวัน,แฟรงค์ และบัสบาส ทำให้ปี 2567 มีผู้ต้องขังคดีการเมืองอดอาหารประท้วงรวมแล้ว อย่างน้อย 4 คน 

เมื่อรวมกับการอดอาหารประท้วงก่อนหน้านี้ ทำให้ตั้งแต่ภายหลังการรัฐประหาร 2557 จนถึงปัจจุบัน (11 มี.ค. 2567) มีผู้ต้องขังคดีการเมืองอดอาหารในเรือนจำแล้ว อย่างน้อย 25 คน ใน 30 ครั้ง

อัปเดตข้อมูลล่าสุด เมื่อ 25 มี.ค. 2567

ลำดับผู้ประท้วงสถานะข้อเรียกร้องสถานที่คุมตัววันที่เริ่มวันที่ยุติ
1บุ้ง เนติพรอดอาหารและจำกัดน้ำ1. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
2. ต้องไม่มีคนเห็นต่างทางการเมืองถูกคุมขังอีก
รพ.ธรรมศาสตร์27 ม.ค.
2ตะวัน ทานตะวันอดอาหารและจำกัดน้ำ1. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
2. ต้องไม่มีคนเห็นต่างทางการเมืองถูกคุมขังอีก
3. ประเทศไทยไม่ควรเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
รพ.ธรรมศาสตร์14 ก.พ.
3แฟรงค์ ณัฐนนท์อดอาหารและจำกัดน้ำ1. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
2. ต้องไม่มีคนเห็นต่างทางการเมืองถูกคุมขังอีก
3. ประเทศไทยไม่ควรเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
รพ.ราชทัณฑ์14 ก.พ.
4บัสบาส มงคลอดอาหาร1. ให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองทุกคนโดยไม่มีเงื่อนไข เรือนจำกลางเชียงราย27 ก.พ.

สรุปไทม์ไลน์ผู้ประท้วง

1. บุ้ง เนติพร  

ภาพจาก ไข่แมวชีส
  • 26 ม.ค. – ถูกคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง
  • 27 ม.ค. – อดอาหารและน้ำวันแรก 
  • 2 ก.พ. – ลงนามเอกสารพินัยกรรม ถูกพาตัวไปตรวจที่ รพ.ราชทัณฑ์ และกลับเรือนจำ
  • 5 ก.พ. – แพทย์ชี้ว่าบุ้งมีกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะมีสีส้มแดง เข้ม และขุ่น และมีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือด ผิวหนังแห้งบางส่วนลอกออก
  • 6 ก.พ. – ถูกย้ายตัวไปยัง รพ.ราชทัณฑ์ นอนไม่ได้ เพราะมีภาวะกรดไหลย้อน
  • 7 ก.พ. – มีอาการตับอักเสบมากกว่าเดิม
  • 8 ก.พ. – ลงนามเอกสารแสดงเจตจำนงขอบริจาคร่างกาย และขอแสดงความประสงค์ไม่รับบริการสาธารณสุขเพื่อยื้อชีวิตไว้โดยจำเป็นและเป็นการสูญเปล่า
  • 12 ก.พ. – เริ่มตาเหลือง ตัวเหลือง มีเลือดออกตามไรฟัน อาเจียนขณะทนายความเข้าเยี่ยม
  • 22 ก.พ. – ถูกพาตัวกลับสถานพยาบาล ทัณฑสถานหญิงกลาง โดยอ้างว่าเตียงของโรงพยาบาลราชทัณฑ์ไม่เพียงพอแล้ว
  • 26 ก.พ. – ถูกส่งตัวกลับไปที่ รพ.ราชทัณฑ์ เนื่องจากอาเจียนมีเลือดปนไม่หยุด และอาเจียนติดต่อกันเป็นวันที่ 3 แล้ว
  • 27 ก.พ. – ตัดสินใจเริ่มจิบน้ำในปริมาณที่จำกัด ทั้งยินยอมรับยารักษาและน้ำเกลือในปริมาณที่จำกัด
  • 29 ก.พ. – เริ่มแยกระหว่างความจริงและความฝันไม่ออก
  • 1 มี.ค. – ค่าแร่ธาตุโพแทสเซียมในเลือดอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติ มีโอกาสทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหยุดเต้นได้
  • 5 มี.ค. – ยังคงอาเจียนมีเลือดปน
  • 8 มี.ค. – เกร็ดเลือดต่ำ อ่อนแรง ซูบผอม 
  • 13 มี.ค. – คิดอ่านและประมวลผลช้าลง ค่าแร่ธาตุโพแทสเซียมในเลือดอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติ ที่ 2.6 mEq/L.
  • 15 มี.ค. – ระดับโพแทสเซียมในเลือดยังคงอยู่ที่ 2.6 mEq/L. ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุก 4 ชั่วโมง โดยระดับน้ำตาลยังขึ้นลงอยู่ที่ช่วง 70-75 Mg/dL ได้รับการตรวจปัสสาวะทุกวัน โดยปัสสาวะมีสีเข้มมาก ได้รับยาเคลือบกระเพาะ ยาแก้อาเจียน วิตามินซี วิตามินบีรวม และโฟลิคแอซิด ยังคงมีภาวะนอนไม่ค่อยหลับ มึนศีรษะและหน้ามืดตลอดเวลา
  • 22 มี.ค. – ซูบผอมมาก เห็นกระดูกซี่โครงและหลังชัดเจน กินน้ำหวานไม่ได้ ดื่มได้เฉพาะน้ำเปล่านั้น ค่าความเป็นปกติอื่น ๆ ของร่างกายยังคงไม่คงที่ อาทิ ระดับโพแทสเซียม ค่าคีโตน ฯลฯ

2. ตะวัน ทานตะวัน

ภาพจาก ไข่แมวชีส
  • 14 ก.พ. – ถูกฝากขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง และอดอาหารและน้ำวันแรก
  • 16 ก.พ. – เรือนจำได้ส่งตัวตะวันไป ยัง รพ.ราชทัณฑ์
  • 19 ก.พ. – มีอาการพะอืดพะอม ตัวร้อนมาก ปากแห้งแตกลอก เบลอ อ่อนเพลีย
  • 20 ก.พ. – อาเจียนออกมาคล้ายน้ำย่อย การคิดและประมวลผลช้าลง ไม่ค่อยมีสติ
  • 22 ก.พ. – ถูกนำตัวส่ง รพ.ธรรมศาตร์ โดย รพ.ราชทัณฑ์ระบุเหตุผลในการส่งต่อว่า “เกินศักยภาพ” วันนี้ตะวันน้ำหนักตัวลดลงเหลือ 40 กก. รู้สึกเจ็บหน้าอก ไม่ขับถ่ายแล้ว ซูบผอมมาก ผิวคล้ำ ใต้ตาคล้ำ ปากแห้งจนลอก
  • 23 ก.พ. – พูดจาวกวน พูดเสียงเบามาก เหนื่อยง่าย รู้สึกร้อนในร่างกายมาก ตัดสินใจจิบน้ำตามคำร้องขอของพ่อและแม่
  • 24 ก.พ. – พ่อของตะวันยื่นประกันตัวต่อศาลอาญา
  • 25 ก.พ. – พ่อยื่นเอกสารทางการแพทย์จาก รพ.ธรรมศาสตร์เพิ่มเติมให้ศาล
  • 26 ก.พ. – ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกัน
  • 27 ก.พ. – มีภาวะขาดน้ำ มีภาวะเลือดเป็นกรด ปัสสาวะออกน้อยและมีสีเข้ม เลือดประจำเดือนมีสีดำคล้ำ 
  • 29 ก.พ. – เล็บนูนเป็นคลื่น ผิวคล้ำแห้งกร้าน หน้าตอบ แขนขาเล็กมาก ตาเหลืองขุ่น 
  • 2-3 มี.ค. – แพทย์บอกว่าตะวันอาจจะเข้าสู่ ‘ภาวะโคม่า’ ได้ พะอืดพะอม อาเจียน
  • 5 มี.ค. – ตะวันปฏิเสธไม่ทานโพแทสเซียมเพื่อรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานได้ ผมร่วงเยอะ ผิวแห้งแตก
  • 8 มี.ค. – กลุ่มปัญญาชนสยาม นำโดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์ รวมถึงสุชาติ สวัสดิ์ศรี และชาญวิทย์ เกษตรศิริ ยื่นคำแถลงต่อศาลอาญาขอให้ศาลพิจารณาไม่รับฝากขังตะวันและแฟรงค์ หากรับฝากขังก็ขอให้มีคำสั่งให้ประกันตัว ทว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผัดที่ 3 อีก 12 วัน ขณะเดียวกันตะวันตกลงที่จะรับยาโพแทสเซียม เพราะค่าเลือดต่าง ๆ ต่ำลงกว่าปกติ แพทย์จึงขอให้รับยาเพื่อปรับแร่ธาตุในเลือดให้กลับมาเป็นปกติ และให้รับน้ำหวานมื้อละ 200 มล.

    และแพทย์ยังให้ตะวันรับวิตามินบี 1 ทางหลอดเลือด เพื่อป้องกันอาการ Refeeding Syndrome (RFS) ซึ่งเป็นภาวะผิดปกติของสมดุลอิเล็กโทรไลต์และสารน้ำในผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการหรือผู้ที่อดอาหารเป็นระยะเวลานาน แล้วกลับมาได้รับสารอาหารทดแทนในปริมาณเพิ่มขึ้น
  • 14 มี.ค. ประท้วงเข้าสู่วันที่ 30 แล้ว ตะวันเขียนจดหมายแจ้งว่าจะยืนยันจะประท้วงต่อไป และตั้งใจจะประท้วงไปจนกว่าจะถึงจุดที่ใกล้ “ความตาย” และ “ความทรมาน” อีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าแม้จะเหลือแค่ร่างกายและชีวิตก็จะไม่ยอมก้มหัวให้กับอำนาจเผด็จการ
  • 15 มี.ค. แพทย์แจ้งกับตะวันว่าอาจเกิดภาวะหมดสติหรือหัวใจหยุดเต้นได้ตลอดเวลา แพทย์ขอให้มีการเจาะเข็มเปิดเส้นเลือดเอาไว้เผื่อกรณีต้องรักษาชีวิตอย่างฉุกเฉิน แต่ตะวันยืนยันปฏิเสธโดยแจ้งว่า “หากไม่ทันก็ไม่เป็นไร ให้มันเป็นไปตามนั้น” และกลางดึกถูกย้ายไปหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงรวมเพื่อเฝ้าระวังอาการ
  • 19 มี.ค. ตะวันยืนยันเซ็นปฏิเสธไม่รับสารน้ำที่ให้ความหวาน ข้อแขนช้ำเขียวจนม่วง เพราะต้องเจาะเลือดทุกวัน
  • 20 มี.ค. ศาลอนุญาตให้ฝากขังตะวันและแฟรงค์เป็นผัดที่ 4 ต่อไปอีก 12 วัน และยกคำร้อง
  • 22 มี.ค. ทนายความยื่นประกันตัวเป็นครั้งที่ 6 แต่ศาลยังคงยืนยันยกคำร้อง อ้างว่าไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง แม้ว่าจะยื่นเหตุผลประกอบคำร้องยื่นประกันด้วยเหตุผลใหม่แล้วก็ตาม

3. แฟรงค์ ณัฐนนท์

ภาพจาก ไข่แมวชีส
  • 14 ก.พ. – ถูกฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และอดอาหารและน้ำวันแรก
  • 19 ก.พ. – น้ำหนักตัวลดลงจาก 45 กก. เหลือ 39 กก. มึนหัว พูดไม่ค่อยได้ 
  • 21 ก.พ. – น้ำหนักลดเหลือ 38.4 กก. ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อาเจียนคล้ายน้ำย่อย เลือดหนืดข้น ค่าน้ำตาลในเลือดลดลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำ ปัสสาวะน้อย ไม่ขับถ่าย
  • 22 ก.พ. – ซูบผอมมาก หายใจลำบาก ยังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ รู้สึกพะอืดพะอม
  • 23 ก.พ. – น้ำหนักตัวลดลงเหลือ 38 กก. นอนไม่หลับ เห็นภาพซ้อน รู้สึกร้อนมากจากข้างในร่างกาย ซูบผอมมาก ไม่ขับถ่ายแล้ว ผิวเหลืองและคล้ำ อาเจียนคล้ายน้ำย่อย
  • 27 ก.พ. – น้ำหนักตัวลดลงเหลือ 37.55 กก. ไม่ยอมใส่เครื่องช่วยหายใจอีกต่อไป มีอาการชักเกร็ง นิ้วจีบ มองเห็นเพดานมีสีแดงส้ม
  • 29 ก.พ. – มีอาการชักเกร็งเมื่อเครียด 
  • 2-3 มี.ค. – ชีพจรเต้นอ่อน 3 ครั้ง 
  • 4 มี.ค. – ตัวเหลืองซีด ปากแห้งแตก เหม่อลอย ตอบสนองช้า อาเจียน ปวดเมื่อยตัว
  • 6 มี.ค. – ผิวหน้าเล็บแห้งและฉีกเป็นเส้น 
  • 8 มี.ค. – กลุ่มปัญญาชนสยาม นำโดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์ รวมถึงสุชาติ สวัสดิ์ศรี และชาญวิทย์ เกษตรศิริ ยื่นคำแถลงต่อศาลอาญาขอให้ศาลพิจารณาไม่รับฝากขังตะวันและแฟรงค์ หากรับฝากขังก็ขอให้มีคำสั่งให้ประกันตัว ทว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผัดที่ 3 อีก 12 วัน 
  • 9 มี.ค. – แฟรงค์ต้องรับการรักษาจากแพทย์ เนื่องจากถึงจุดที่เกินขีดจำกัดที่จะทนรับได้ไหวแล้ว อย่างไรก็ตาม รพ.ราชทัณฑ์ยังคงไม่ยอมส่งตัวแฟรงค์ไปที่ รพ.ธรรมศาสตร์
  • 16 มี.ค. – มีภาวะความเข้มข้นของเลือดแดงต่ำกว่าปกติ แพทย์จึงเจาะเลือดไปตรวจ
  • 18 มี.ค. – แฟรงค์เขียนจดหมายเผยแพร่สาธารณะใจความว่า ได้ตัดสินใจเทหมดหน้าตัก และไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นทุกคนในกระบวนการยุติธรรมล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
  • 19 มี.ค. – แฟรงค์ปฏิเสธไม่รับยาฆ่าเชื้อจากแพทย์ และแฟรงค์ยื่นคำร้องขอให้ศาลเบิกตัวไปศาลอาญาในนัดไต่สวนฝากขังผัดที่ 4 ฝากผ่านเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ออกไป
  • 20 มี.ค. ศาลอนุญาตให้ฝากขังตะวันและแฟรงค์เป็นผัดที่ 4 ต่อไปอีก 12 วัน และยกคำร้อง
  • 22 มี.ค. ทนายความยื่นประกันตัวเป็นครั้งที่ 6 แต่ศาลยังคงยืนยันยกคำร้อง อ้างว่าไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง แม้ว่าจะยื่นเหตุผลประกอบคำร้องยื่นประกันด้วยเหตุผลใหม่แล้วก็ตาม

4. บัสบาส มงคล

  • 27 ก.พ. – อดอาหารประท้วงวันแรก และประกาศว่าต่อจากนี้ 7 วันจะเริ่มอดน้ำร่วมด้วย
  • 10 มี.ค. – เริ่มอดน้ำร่วมด้วย (Dry Fasting) หลังก่อนหน้านี้ดื่มแต่น้ำและกาแฟมาตลอด
  • 12 มี.ค. – ประท้วงเข้าสู่วันที่ 15 ร่างกายดูซูมผอม น้ำหนักตัวลดลงจาก 70 กก. เหลือ 63 กก. พูดจาวกวน
  • 14 มี.ค. – ประท้วงวันที่ 17 อดน้ำวันที่ 5 บัสบาสได้กล่าวถึงข้อเรียกร้องของตัวเองและสิทธิที่ผู้ต้องขังยังเข้าไม่ถึง
  • 18 มี.ค. – แจ้งว่าได้กลับมาจิบน้ำ มีอาการหน้ามืดเป็นระยะ ความดันต่ำ น้ำหนักตัวลดลงเหลืออยู่ประมาณ 60 กก.
  • 21 มี.ค. – ตัดสินใจกลับมาดื่มน้ำ แต่ยังคงอดอาหารประท้วงต่อไปตามข้อเรียกร้อง
X