ถ้อยคำแถลงคำวินิฉัยคณะตุลาการประชาชน:สมรสเท่าเทียม

​ท่ามกลางกระแสเรียกร้องเพื่อความหลากหลายทางเพศที่เพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย ประชาชนย่อมมีความคาดหวังต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าจะมีมติไปในทางบวกต่อการรับรองสิทธิของเพศอันหลากหลาย อย่างเรื่องการ #สมรสเท่าเทียม ให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2564 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยกรณีสมรสเท่าเทียมออกมาเป็นเอกฉันท์ว่า “กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ซึ่งอนุญาตให้เฉพาะชายกับหญิงเท่านั้นสมรสกันได้ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ พร้อมกับมีข้อแนะนำให้รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรากฎหมายเพื่อรับรองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างเหมาะสมต่อไป” 

จากคำวินิจฉัยดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติของตุลาการที่ไม่เข้าใจปัญหาความเหลื่อมล้ำในสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศที่ถูกกดทับอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายที่มีอยู่เดิม รวมทั้งไม่ได้มีความยึดโยงกับประชาชน ซ้ำยังผลักไสกลุ่ม LGBT ที่เป็นชายขอบของสังคมให้หลุดจากสิทธิตามกฎหมาย ทั้งในแง่คุณภาพชีวิตและสถานะทางเศรษฐกิจของคู่สมรส เช่น สิทธิการรักษาพยาบาล การลดหย่อนภาษี การได้รับสวัสดิการจากภาครัฐ ฯลฯ

ในเมื่อคำพิพากษาเขียนมาจากตุลาการปิตาธิปไตย ความเป็นธรรมทางเพศเลยบิดเบี้ยว แต่ยังมีกลุ่มประชาชนที่ตระหนักถึงความสำคัญของความเท่าเทียมทางเพศ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, กลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก, เฟมินิสต์ฟูฟู, เฟมินิสต์เมอร์เมด, เฟมินิสต์โขงชีมูล และคณะตุลาการประชาชน จึงได้ร่วมกันเขียนคำวินิจฉัยเรื่องสมรสเท่าเทียมนี้ขึ้นมาใหม่ เพื่อยืนยันว่าเราจะไม่ยอมให้ใครกดขี่และพรากสิทธิอันชอบธรรมไป 

.

.

.

.

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

สมรส (ไม่) เท่าเทียม: คืนคำพิพากษาให้กับประชาชนภาคปฏิบัติ

สำรวจ ‘Feminist Judgments’: เมื่อประชาชนลุกขึ้นเขียนคำพิพากษาเองด้วยมุมมองใหม่

.

X