สั่งฟ้อง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ผู้ชุมนุม MRT ท่าพระ แม้ตร.เคยปรับข้อหาใช้เครื่องเสียงไปแล้ว

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 – อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาตลิ่งชัน 2 สำนักงานอัยการสูงสุด ได้มีคำสั่งฟ้องคดีกับ นาย ลำไย จันทร์งาม อายุ 43 ปี ชาวจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ชุมนุม #ม็อบ2พฤศจิกา ที่ MRT ท่าพระ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 โดยเขาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดของ พ...ฉุกเฉินฯ มาตรา 9 และ พ...ชุมนุมฯ มาตรา 10 “เป็นผู้จัดให้มีการชุมนุมโดยไม่แจ้งการชุมนุมล่วงหน้า หลังฟังคำสั่งฟ้อง ลำไยได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกันต่อศาลอาญาตลิ่งชัน ต่อมาศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวโดยไม่ต้องวางหลักประกัน แต่ให้สาบานตนว่าจะมาตามนัดครั้งต่อๆ ไป

ในคดีนี้ซึ่งมี พ.ต.ท.วิสิทธิ์ สายบัวทอง รองผู้กำกับสืบสวน สน.ท่าพระ เป็นผู้กล่าวหา ในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาของตำรวจระบุพฤติการณ์ของลำไยว่า ในวันที่มีการชุมนุมที่บริเวณ MRT ท่าพระ ตั้งแต่เวลา 15.00 . จนถึงราว 20.40 . ได้มีการจัดการชุมนุมทางการเมืองโดยไม่ได้มีการแจ้งการชุมนุมล่วงหน้าตามข้อกำหนดของ พ...ชุมนุมฯ พบว่าผู้ต้องหาได้เข้าร่วมในการชุมนุมดังกล่าว และเป็นผู้ขับรถกระบะไม่ติดป้ายทะเบียนซึ่งบรรทุกเครื่องขยายเสียงมาจอดบริเวณใต้สะพานเกาะกลางข้ามแยกท่าพระ ผู้ปราศรัยในการชุมนุมได้ผลัดกันขึ้นพูดผ่านเครื่องขยายเสียงของลำไย ซึ่งในระหว่างพูด ผู้ต้องหาได้ยืนประกบอยู่ด้านข้างบนรถกระบะ และยืนอยู่จนสิ้นสุดการชุมนุม

อ่านพฤติการณ์คดีโดยละเอียดที่ >>> ดำเนินคดีซ้ำ ตร.สน.ท่าพระแจ้งข้อหาใหม่ผู้ชุมนุม MRT ท่าพระ ในคดีที่สิ้นสุดแล้ว

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าที่อัยการจะมีคำสั่งฟ้องในวันนี้ ลำไยได้เคยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต และนำรถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนมาใช้ในทางเดินรถ จากการเข้าร่วมในการชุมนุมครั้งดังกล่าว โดยเขาได้เดินทางมาที่ สน. ท่าพระ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาและเปรียบเทียบปรับเป็นเงินจำนวน 700 บาท ตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563

อ่านรายละเอียดการดำเนินคดีเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ที่ >>> แจ้งข้อหา-ปรับผู้ชุมนุมหน้า MRT ท่าพระ #ม็อบ2พฤศจิกา ใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

เป็นที่น่าตั้งคำถามว่า  การสั่งฟ้องลำไยในคดีนี้ถือเป็นกระบวนการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากลำไยเคยถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมครั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2563 โดยพนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบปรับลำไย ทำให้คดีถึงที่สิ้นสุด แต่ทางเจ้าหน้าที่กลับนำพฤติการณ์เดิมมาแจ้งข้อกล่าวหาอีกต่อบุคคลเดิม ขัดต่อหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า “บุคคลไม่อาจถูกลงโทษหลายครั้งสำหรับการกระทำความผิดครั้งเดียวได้” ซึ่งคุ้มครองสิทธิของบุคคลไม่ให้ถูกดำเนินคดีหลายครั้งจากการกระทำเพียงครั้งเดียว

ในระบบกฎหมายไทยได้บัญญัติเพื่อคุ้มครองสิทธิดังกล่าวไว้ใน ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 หรือที่เรียกกันว่า “ฟ้องซ้ำ” ซึ่งมีหลักการดังนี้

  1.       ผู้ถูกดำเนินคดีเป็นคนเดียวกัน
  2.       ข้อหาความผิดทั้งสองคดีมาจากการกระทำอันเป็น “กรรมเดียวกัน”
  3.       ผู้ถูกดำเนินคดีถูกดำเนินคดีจนคดีสิ้นสุดไปแล้ว

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่าการที่นายลำไยถูกเปรียบเทียบปรับไปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 คดีย่อมสิ้นสุดลงตาม ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 (3) ซึ่งเป็นเหตุให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาระงับไปตาม ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (3) เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีลำไย จากเหตุกรณีการชุมนุมวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ได้อีก

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง คือตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ มาตรา 3 (6) มีบทบัญญัติให้งดเว้นการบังคับใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้ข้อหาตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ และการฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้

 

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง:

แจ้งข้อหา ม.112 “ชูเกียรติ” เหตุปราศรัยเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ที่ MRT ท่าพระ

ม.ค. 64: คดีชุมนุม/แสดงออกทางการเมืองพุ่งไปกว่า 183 คดี ผู้ถูกกล่าวหากว่า 291 คน

X