เปิดฐานข้อมูล “คดีสหพันธรัฐไท” จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

องค์กรที่ถูกเรียกว่า “สหพันธรัฐไท” ปรากฎตามรายงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในช่วงปี 2561 โดยเป็นข้อมูลที่ถูกนำมาใช้กล่าวหาบุคคลในคดีต่างๆ ซึ่งถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ต่อต้าน คสช. ซึ่งได้หลบหนีไปเคลื่อนไหวในประเทศลาว มีแกนนำหลัก 5 คน ได้แก่ นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ “โกตี๋”, นายวัฒน์ วรรลยางกูร, นายชูชีพ ชีวะสุทธิ์ หรือ “ลุงสนามหลวง”, นายสยาม ธีรวุฒิ หรือ “สหายข้าวเหนียวมะม่วง” และนายกฤษณะ ทัพไทย หรือ “สหายยังบลัด”

นอกจากนี้กลุ่มคนดังกล่าวยังถูกระบุว่ามีความมุ่งหมายต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศไทย จากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปเป็นระบอบสหพันธรัฐที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยหวังจะแบ่งแยกพื้นที่การปกครองของประเทศออกเป็นมลรัฐต่างๆ

เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงระบุว่ากลุ่มดังกล่าวมีการเผยแพร่แนวความคิดผ่านทางโลกออนไลน์ โดยเฉพาะการจัดรายการวิทยุทางช่อง Youtube หรือที่เรียกกันว่า “วิทยุใต้ดิน” โดยแกนนำสามรายหลัง ได้แก่ ชูชีพ, สยาม และกฤษณะ มีการจัดรายการร่วมกันในนาม “สามทหารเสือ”  กลุ่มดังกล่าวยังมีการเผยแพร่สัญลักษณ์ประจำกลุ่ม ได้แก่ ธงสีขาวสลับแดง และมีการเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์ โดยการจัดทำเสื้อยืดสีดำและสติกเกอร์ แจกจ่ายให้สมาชิก และยังมีการเผยแพร่ใบปลิวไปตามสถานที่ต่างๆ ด้วย

ในรายชื่อกลุ่มแกนนำดังกล่าว วุฒิพงศ์ หรือ “โกตี๋” ปรากฏเป็นข่าวตั้งแต่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 ว่าเขาหายตัวไปจากสถานที่ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้าน ก่อนจอม เพชรประดับ สื่อมวลชนอิสระ จะเผยแพร่ข้อมูลยืนยันข่าวจากบุคคลใกล้ชิด ว่าโกตี๋ได้ถูกกลุ่มชายชุดดำ ประมาณ 10 คน คลุมใบหน้าด้วยหมวกไหมพรม พร้อมอาวุธครบมือ บุกเข้าจับกุมตัวไปจากบ้านพัก เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 60 และหลังจากนั้นก็ไม่มีใครทราบชะตากรรมของเขาอีก ทำให้ความเกี่ยวข้องของโกตี๋กับการเคลื่อนไหวกรณีสหพันธรัฐไทในช่วงปี 2561 ยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัด

ต่อมา ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2561 ยังปรากฏข่าวการถูกอุ้มหายไปของผู้ลี้ภัยทางการเมืองซึ่งเคลื่อนไหวจัดรายการวิทยุทางการเมือง และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศลาวอีกกลุ่มหนึ่ง จำนวน 3 ราย ได้แก่ สุรชัย แซ่ด่าน, ไกรเดช ลือเลิศ, ชัชชาญ บุปผาวัลย์  ก่อนไม่กี่อาทิตย์ถัดมา ในช่วงปลายเดือนเดียวกัน จะพบศพของบุคคลสองรายหลัง ถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม และถูกทิ้งศพอยู่ในแม่น้ำโขง

สถานการณ์ดังกล่าวก็ทำให้ความเคลื่อนไหวทางโลกออนไลน์ของ “สามทหารเสือ” ค่อยๆ เงียบหายไปในช่วงเวลาเดียวกันด้วย กระทั่งเดือนพฤษภาคม 2562 “ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน” ได้เผยแพร่ข้อมูลว่า “สามทหารเสือ” ชูชีพ, สยาม และกฤษณะ ได้ถูกทางการเวียดนามส่งตัวกลับมายังประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 62 หลังจากทั้งสามคนถูกจับกุมตัวระหว่างพยายามเข้าเมืองผิดกฎหมายจากประเทศลาว ตั้งแต่ในช่วงปลายเดือนมกราคม แต่ทางการไทยปฏิเสธว่าไม่ทราบเรื่องการส่งตัวทั้งสามคนกลับมาแต่อย่างใด ทำให้จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ทราบชะตากรรมของทั้งสามคน

จากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2561 จนถึงกันยายน 2562 มีผู้ถูกดำเนินคดีจากกรณีที่เกี่ยวข้องกับสหพันธรัฐไท แล้วอย่างน้อย 21 ราย โดยแยกเป็นจำนวนคดีอย่างน้อย 10 คดี 

ข้อกล่าวหาหลักที่เจ้าหน้าที่ทหารใช้แจ้งความดำเนินคดี หรือตำรวจใช้ตั้งข้อกล่าวหาต่อผู้ต้องหาในกรณีนี้ ได้แก่ ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 หรือข้อหายุยงปลุกปั่น และข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 หรือข้อหาอั้งยี่ นอกจากนี้ในบางคดีจำเลยได้ถูกแจ้งความดำเนินคดีในข้อหา พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 ด้วย


ตารางข้อมูลชุดคดีสหพันธรัฐไท 
จำนวน 10 คดี ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด 21 คน

(ข้อมูล ณ วันที่ 12 ธ.ค. 63 เป็นคดีที่ศูนย์ทนายฯให้ความช่วยเหลือ 8 คดี  )

ลำดับชื่อกลุ่มคดีชื่อผู้ถูกดำเนินคดีลักษณะแสดงออกจากข้อกล่าวหาของตำรวจข้อหาในคำฟ้องผลคดี/โทษสถานะคดี
(ข้อมูล ณ วันที่ 1 ต.ค. 63)
1สหพันธรัฐไท คดีขาย/ซื้อเสื้อ+แจกใบปลิว
(5 คน)
เทอดศักดิ์แจกใบปลิวร่วมกันเป็นอั้งยี่ ม. 209
ยุยงปลุกปั่น ม. 116
ศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 1-4 กระทำผิด มาตรา 209 วรรค 1 ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ จำคุกคนละ 3 ปี โดยจำเลยที่ 2 (เทอดศักดิ์) และ 3 (ประพันธ์) รับสารภาพในชั้นสอบสวน ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษ 1 ใน 3 จำคุกคนละ 2 ปี ไม่รอลงอาญาและยกฟ้องข้อหายุยงปลุกปั่น มาตรา 116ประกันตัวระหว่างชั้นอุทธรณ์
ประพันธ์แจกใบปลิวจำคุก เนื่องจากไม่มีเงินประกันตัว
กฤษณะมีเสื้อในครอบครองประกันตัวระหว่างชั้นอุทธรณ์
วรรณภามีเสื้อในครอบครอง + แจกจ่ายเสื้อประกันตัวระหว่างชั้นอุทธรณ์
จินดามีเสื้อในครอบครองจำหน่ายชั่วคราวเนื่องจากจำเลยไม่มาปรากฎตัวในวันสั่งฟ้อง
2สหพันธรัฐไท คดีรวมตัวที่มาบุญครอง วันที่ 5 ธค.61

(6 คน)

สมหมายสวมเสื้อดำ ช่วยถือป้ายถ่ายภาพร่วมกันเป็นอั้งยี่ ม. 209
ยุยงปลุกปั่น ม. 116
ศาลพิพากษาว่า จำเลยทั้งหกกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ฐานชุมนุมในระยะ 150 เมตร จากวัง ให้ปรับคนละ 5 ,000 บาท ไม่แจ้งการชุมนุมภายใน 24 ชม. ให้ปรับคนละ 5,000 บาท รวมโทษปรับจำเลยทั้งหกคนละ 10,000 บาท และยึดของกลาง โดยในวันนี้จำเลยได้เตรียมเงินมาจ่ายค่าปรับเป็นที่เรียบร้อย
คมสวมเสื้อดำ
สมชัยสวมเสื้อดำ ช่วยถือป้ายถ่ายภาพ
ธีณพันธ์สวมเสื้อดำ ช่วยถือป้ายถ่ายภาพ
อมรเทพสวมเสื้อดำ ช่วยถือป้ายถ่ายภาพ
ธนชาตสวมเสื้อดำ + โพสต์คลิปตำรวจจับกุมกลุ่มสหพันธรัฐไทร่วมกันเป็นอั้งยี่ ม. 209
ยุยงปลุกปั่น ม. 116 และพรบ.คอมพิวเตอร์
3สหพันธรัฐไท คดีสวมเสื้อดำไปเซ็นทรัลรามอินทรา จ.กรุงเทพฯ วันที่ 5 ธค.61

(1 คน)

รานีสวมเสื้อดำ+ถ่ายภาพเจ้าหน้าที่ที่มาขอตรวจบัตรของตนเองร่วมกันเป็นอั้งยี่ ม. 209
ยุยงปลุกปั่น ม. 116
ศาลพิพากษา จำคุก 2 ปี ปรับ 20,000 บาท ฐานเป็นอั้งยี่ จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของศาลลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญามีกำหนด 2 ปี และให้รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง โดยให้จำเลยบำเพ็ญประโยชน์ 24 ชม. ส่วนข้อหายุยงปลุกปั่น ให้ยกฟ้องคดีสิ้นสุด โจทก์ไม่อุทธรณ์
4สหพันธรัฐไท คดีสวมเสื้อดำไปเดอะมอลล์ บางกะปิ จ.กรุงเทพฯ วันที่ 5 ธค.61

(2 คน)

ประพันธ์สวมเสื้อดำมาที่ห้างสรรพสินค้าร่วมกันเป็นอั้งยี่ ม. 209
ยุยงปลุกปั่น ม. 116
ศาลพิพากษาว่าในความผิดฐานอั้งยี่ ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยถูกฟ้องและมีคำพิพากษาไปแล้ว เป็นคดีหมายเลขแดงที่ อ.91/2563 ศาลเห็นว่าแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องคนละเวลา แต่เป็นเหตุการที่เกิดต่อเนื่องกัน จำเลยยังคงเป็นสมาชิกกลุ่ม ในคดีหมายเลขแดงที่ อ.91/2563 การนำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงต้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตราที่ 39 (4)

ความผิดตาม ม. 116 โจทก์ไม่ได้นำหลักฐานที่หนักแน่นมาแสดงต่อศาล จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด ศาลเห็นว่าแม้จากการให้การของพยาน พยานย่อมทราบว่าจำเลยมีแนวคิดอย่างไร พยานทั้งสองเป็นเจ้าพนักงาน ไม่มีเหตุให้ปรักปรำจำเลย แต่พยานซึ่งให้การว่าได้ถ่ายภาพและวิดิโอเอาไว้ ไม่ได้นำหลักฐานที่หนักแน่นมาแสดงต่อศาล จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด พิพากษายกฟ้อง

ถูกขังระหว่างชั้นอุทธรณ์เนื่องจากไม่มีหลักทรัพย์ประกันตัว
เทอดศักดิ์ประกันตัวระหว่างชั้นอุทธรณ์
5สหพันธรัฐไท คดีสวมเสื้อดำไปเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ วันที่ 5 ธค.61
(3 คน)
อัมพร (นามสมมติ)สวมเสื้อดำมาที่ห้างสรรพสินค้าร่วมกันเป็นอั้งยี่ ม. 209
ยุยงปลุกปั่น ม. 116
ศาลพิพากษาว่า ไม่ปรากฎว่าจำเลยทั้งสามมีพฤติการณ์จัดรายการ แจกใบปลิว หรือเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับสหพันธรัฐ และมีพฤติการณ์เป็นสมาชิกกลุ่มดังกล่าว และไม่มีหลักฐานว่าทั้งสามได้ติดต่อกันหรือรู้จักกันมาก่อน จึงไม่ถือว่าทั้งสามมีความเป็นสมาชิกของกลุ่ม พยานหลักฐานจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามมีพฤติการณ์เป็นอั้งยี่

ในส่วนความผิดฐานยุยงปลุกปั่น จำเลยทั้งสามสวมเสื้อสีดำ ในวันเกิดเหตุ ตามภาพถ่ายที่โจทก์นำมาแสดง แม้ทั้งสาม รับว่าเคยฟังรายการสหพันธรัฐ แต่ไม่ปรากฎว่าได้มีการร่วมจัดรายการ ชักชวนให้ประชาชนออกมาต่อต้านจนถึงจะทำให้เกิดความปั่นป่วนและความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และไม่มีพฤติการณ์ก่อความรุนแรง

พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งหมดยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง

รอว่าอัยการจะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือไม่ หากไม่อุทธรณ์ถือว่าคดีสิ้นสุด
แดนศักดิ์
ภานุ
6สหพันธรัฐไท คดีสวมเสื้อดำไปเซ็นทรัลอุบลราชธานี วันที่ 5 ธค.61
(1 คน)
กาญจนา(นามสมมติ)สวมเสื้อดำมาที่ห้างสรรพสินค้าร่วมกันเป็นอั้งยี่ ม. 209
ยุยงปลุกปั่น ม. 116
ศาลพิพากษาว่า
“แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะปรากฏว่า จำเลยเป็นสมาชิกกลุ่มไลน์ของกลุ่มสหพันธรัฐไท แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นแกนนำหรือสมาชิกของกลุ่มสหพันธรัฐไท ทั้งยังไม่ปรากฏว่าจำเลยมีรหัสสมาชิกกลุ่มดังกล่าว อีกทั้งกลุ่มไลน์ดังกล่าวนอกจากจำเลยยังมีสมาชิกอื่นอีก 60-70 คน ไม่ปรากฏว่า ตำรวจได้จับกุมคนอื่น แสดงว่าตำรวจไม่ได้มองว่าการเป็นสมาชิกกลุ่มไลน์เป็นความผิดการที่จำเลยไปชูธงสีขาวแดงในห้างเซ็นทรัล จ.อุบลฯ พฤติการณ์เป็นเพียงคล้อยตามการชักจูงของแกนนำ โดยจำเลยไปทำเพียงคนเดียว ซึ่งคนอื่นๆ ก็ไปทำในลักษณะเดียวกันได้ การไปชูธงในห้างเซ็นทรัลจึงไม่อาจยืนยันว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มสหพันธรัฐไท แม้การสืบสวนของสันติบาลจะระบุว่า สมาชิกของกลุ่มสหพันธรัฐไทแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ผู้เสนอความคิด 2.ฝ่ายปฏิบัติการณ์ 3.ผู้สนับสนุน จัดหาอุปกรณ์ เช่น การทำสติ๊กเกอร์ หรือธง หรือเอกสาร โดยลักษณะของจำเลยจัดเป็นกลุ่มที่ 3 แต่ในวันเกิดเหตุจำเลยไปชูธงที่ห้างเซ็นทรัลโดยไม่ปรากฏว่าทำอย่างอื่นตามหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มที่ 3 และไม่ปรากฏว่าจำเลยนำธงไปจ่ายแจกสมาชิกคนอื่น การที่จำเลยมีธง 15 ผืน ไม่ได้เพียงพอจะบ่งชี้ว่า จำเลยจะนำไปจำหน่ายจ่ายแจก ศาลไม่อาจตีความให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยได้ ต้องฟังพยานหลักฐานอื่นประกอบให้แน่ชัด เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมานำสืบ จึงไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานเป็นอั้งยี่ในส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 โจทก์นำสืบเพียงว่า เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 61 จำเลยใส่เสื้อดำไปที่ห้างเซ็นทรัลอุบลฯ ชูธงสีขาวแดง และบันทึกภาพส่งไปในกลุ่มไลน์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยใช้กำลังข่มขืนใจผู้อื่น ประทุษร้าย หรือยุยงปลุกปั่นประชาชนให้กระด้างกระเดื่องจนถึงขั้นก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีความผิดฐาน ยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 ต้องเป็นการนำเข้า เผยแพร่ หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา เมื่อการกระทำของจำเลยที่ใส่เสื้อดำไปที่ห้างเซ็นทรัลอุบลฯ ชูธงสีขาวแดง และบันทึกภาพส่งไปในกลุ่มไลน์ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 จึงไม่อาจถือว่า การโพสต์ภาพขณะจำเลยชูธงขาวแดงเข้าไปในกลุ่มไลน์และส่งต่อ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14พิพากษายกฟ้อง
รอว่าอัยการจะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือไม่ หากไม่อุทธรณ์ถือว่าคดีสิ้นสุด
7สหพันธรัฐไท คดีสวมเสื้อดำไปเซ็นทรัลเชียงราย วันที่ 5 ธค.61
(2 คน)
ศิริเพ็ญสวมเสื้อดำมาที่ห้างสรรพสินค้าร่วมกันเป็นอั้งยี่ ม. 209
ยุยงปลุกปั่น ม. 116
จำเลยทั้งสองมีความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเรียงกระทงความผิดตามประมวลกฑหมายอาญา ม.91 ฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ จำคุกคนละ 6 เดือน ฐานยุงยงปลุกปั่น จำคุกคนละ 6 เดือน จำเลยทั้งสองคนรับสารภาพ มีเหตุให้บรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.78 คนละกระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่  3 เดือน และยุยงปลุกปั่น 3 เดือน รวมโทษจำคุกคนละ 6 เดือน ริบของกลางประกันตัวระหว่างชั้นอุทธรณ์ ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 25 ธ.ค.​63
สุคศิณี
8สหพันธรัฐไท สวมเสื้อดำ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ วันที่ 5 ธค.61

(1 คน)

ลูกแก้ว (นามสมมุติ)สวมเสื้อดำไปอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ร่วมกันเป็นอั้งยี่ ม. 209
ยุยงปลุกปั่น ม. 116
รับทราบข้อกล่าวหาและประกันตัว ยังไม่มีความคืบหน้าทางคดี
9ส่งข้อความและภาพทางไลน์สหพันธรัฐไท
(1 คน)
วันเพ็ญโพสต์ภาพรัชกาลที่ 9 , 10 พร้อมข้อความทางไลน์กลุ่มสหพันธรัฐไทร่วมกันเป็นอั้งยี่ ม. 209
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯพ.ศ.2550 มาตรา 3, 14 (2)
ศาลเห็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 และข้อหาตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (2) (เดิม) การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ให้ลงโทษฐานเป็นอั้งยี่ ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด จำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี พิเคราะห์รายงานการสืบเสาะของจำเลยแล้ว แม้จำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน แต่การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง กรณีจึงไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ ริบของกลางรับโทษและถูกขังระหว่างพิจารณาคดี
10แปะสติ๊กเกอร์สหพันธรัฐไทที่ประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่

(1 คน)

ชูวิทย์เข้าร่วมกลุ่มไลน์ สหพันธรัฐไท, ทำเพจเฟซบุ๊ก,ตัดสติ๊กเกอร์สหพันธรัฐไปแปะที่ประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่, มีบล็อกสกรีนเสื้อคำว่า สหพันธรไท Thai federaionร่วมกันเป็นอั้งยี่ ม. 209
ยุยงปลุกปั่น ม. 116
อัยการสั่งไม่ฟ้อง
X