มาตราฐานสากลในเรื่องการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมในศาลทหาร

มาตราฐานสากลในเรื่องการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมในศาลทหาร

มาตราฐานสากลในเรื่องการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมในศาลทหาร[1]

แปลโดย พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ

ในหลายๆ ประเทศก็มีศาลทหารที่ใช้ในพิจารณาคดีเจ้าหน้าที่ทหารที่ทำผิดวินัย  แต่ก็มีความห่วงกังวลว่าในบางประเทศขยายเขตอำนาจศาลทหารไปถึงการพิจารณาคดีพลเรือน หรือการพิจารณาคดีอาญาธรรมดาอื่นๆกับเจ้าหน้าที่ทหาร รวมทั้งคดีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการกระทำของทหาร หรือการกระทำอาชญกรรมที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

มีการพัฒนาให้แนวคิดที่จะให้ศาลทหารมีเขตอำนาจศาลที่จำกัดลง เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของศาลทหารเท่านั้น  รวมทั้งการพัฒนาหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมโดย ตุลาการที่มีความเหมาะสม เป็นอิสระ และไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด  อีกทั้งพัฒนาถึงภาระหน้าที่ของรัฐในการทำให้แน่ใจว่าศาลที่พิจารณาคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการกระทำของทหาร หรือการกระทำอาชญกรรมที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศนั้นตรวจสอบได้

เมี่อมีการพิจารณาคดีบุคคลใดบุคคลหนึ่งในศาลทหารสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมต้องได้รับการเคารพในศาลทหาร นั้นหมายรวมถึงการพิจารณาคดีเจ้าหน้าที่ทหารที่ทำผิดวินัยในศาลทหารด้วย

การพิจารณาถึงการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมในศาลทหาร หมายถึงการที่ศาลทหารมีเขตอำนาจศาลที่แน่นอนกำหนดไว้ในกฎหมายในประเทศและมีมาตราฐานสากล   ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจอื่นๆต้องไม่มีอิทธิพลเหนือองค์คณะตุลาการทหาร การพิจารณาคดีในชั้นศาลก็ต้องทำโดยองค์คณะที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการอำนวยความยุติธรรมได้ องค์คณะตุลาการก็ต้องมีและถูกมองว่ามีความเหมาะสม เป็นอิสระ และไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และรวมทั้งผู้ถูกกล่าวหาต้องสามารถได้รับหลักประกันขั้นตำในเรื่องมาตราฐานการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม

ความเหมาะสม ความเป็นอิสระ และการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของศาลทหาร  เมื่อจะต้องมีการประเมินถึงความเป็นอิสระของศาลทหาร คำถามที่ควรจะถามหมายรวมถึงผู้พิพากษาที่โดยปกติเป็นเจ้าหน้าที่ทหารจบนิติศาสตร์หรือไม่  ขั้นตอนการแต่งตั้งตุลาการทหารเป็นอย่างไร  มีเงื่อนไขการทำงานและมีหลักประกันอย่างไรว่าตุลาการทหารจะเป็นอิสระในการพิจารณาคดี  ตุลาการทหารเป็นอิสระจากผู้บังคับบัญชาหรือไม่ หรือมีความสัมพันธ์ระหว่างอัยการทหารและตุลาการทหารที่นั่งพิจารณาคดีร่วมกันในคดีเดียวกัน

การพิจารณาคดีพลเรือนในศาลทหารนั้นในบางประเทศ ศาลทหารมีเขตอำนาจศาลในการพิจารณาดคีพลเรือนที่กระทำความเสียหายต่อทรัพยสินของทหารหรือข้อหาคดีความมั่นคง แต่ก็มีการพัฒนาไปจนเป็นที่ยอมรับในทางสากลแล้วว่า ศาลทหารไม่ควรเป็นศาลที่พิจารณาคดีพลเรือนเพราะอาจทำให้การพิจารณาคดีที่ไม่เป็นกลางและอาจาเป็นการฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

คณะกรรมการขององค์การสหประชาชาตว่าด้วยการควบคุมตัวไม่ชอบ (Working group on Arbitrary Detention) ได้เรียกร้องให้รัฐสมาชิกที่มีกำลังอยู่ในขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงหรือการปรับปรุงกฎหมายที่ยังอนุญาตให้ศาลทหารพิจารณาคดีพลเรือนนั้นต้องสามารถยื่นคำร้องคัดค้านในเรื่องความเหมาะสมของศาลทหารได้

+++++++++

[1] สรุปย่อจาก Fair Trial Manual  องค์กรนิรโทษกรรมสากล จัดพิมพ์ปี 2557 หน้า 221-222

http://voicefromthais.wordpress.com/2014/05/28/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2/

X