ครูยึดโทรศัพท์, เอาตำรวจเข้ามาในโรงเรียน, ดึงโบว์ออก, ขู่ว่าจะไล่ออก ตัดคะแนน ไม่ให้เรียนต่อที่เดิม ฯลฯ คือสารพัดปรากฏการณ์ที่นักเรียนทั่วประเทศไทยขณะนี้พบเจอเมื่อแสดงออกสัญลักษณ์ทางการเมือง
เมื่อเจอเหตุการณ์เหล่านี้จะรับมืออย่างไรได้บ้าง ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรวบรวมคำตอบจากหลายคำถามที่เด็กนักเรียนทั่วประเทศกำลังสงสัย เพื่อยืนยันว่าสิทธิเด็กมีที่ทางและได้รับการคุ้มครองมากกว่าที่คิด เช่นเดียวกับวิชาชีพครูที่มีกลไกถ่วงดุล ตรวจสอบ เพื่อที่ครูจะปฏิบัติต่อนักเรียนตามหลักกฎหมาย หลักวิชาชีพ และหลักสิทธิมนุษยชนมากกว่าที่คิดเช่นกัน
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุ
Q: สิทธิเด็กอยู่ไหน? เมื่อถูกคุกคามจากโรงเรียน
A: อยู่ในกฎกระทรวงฯ และหนังสือข
Q: ในกฎกระทรวงฯ ให้อำนาจครูลงโทษนักเรียนเพ
A: นักเรียน-นักศึกษา จะได้รับการลงโทษเมื่อกระทำผิดด้วยเหตุผลใด สิ่งเหล่านี้ได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้วในกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 ซึ่งออกตามอำนาจพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 64 ซึ่งกฎกระทรวงทั้งสองฉบับนี้ ไม่ได้ให้อำนาจสถานศึกษาและโรงเรียนลงโทษนักเรียนและนักศึกษาจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การจัดการชุมนุม รวมกลุ่ม เข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบในพื้นที่โรงเรียน สถานการศึกษา และพื้นที่สาธารณะแต่อย่างใด
>> อ่านความคิดเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับกฎกระทรวงฯ ฉบับนี้ ที่นี่
Q: หากครูลงโทษนักเรียนด้วยเหตุเกินกว่าที่กฎกระทรวงฯ กำหนด จะเกิดอะไรขึ้น ?
A: โรงเรียนสามารถกำหนดระเบียบด้วยว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวง หากโรงเรียนลงโทษนอกเหนือไปจากกฎกระทรวงที่ระบุไว้ ย่อมเป็นการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและอาจมีสิทธิฟ้องเพิกถอนการลงโทษดังกล่าวต่อศาลปกครองต่อไป ยกตัวอย่างคดีฟ้องเพิกถอนคำสั่งให้พ้นสถานภาพจากการเป็นนักเรียนประจำของโรงเรียนจุฬาภรณ์วิทยาลัย จ.ตรัง โรงเรียนแพ้คดีเนื่องจากไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการลงโทษนักเรียน (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดหมายเลขแดงที่ อ.1606/2559)
Q: นอกจากฟ้องเพิกถอนคำสั่งที่ครูลงโทษเราแล้ว เราเอาผิดครูได้ไหม
A: ในกรณีเป็นโรงเรียนในกำกับรัฐบาล หากนักเรียนถูกลงโทษนอกเหนือจากกฎกระทรวงที่ระบุไว้ หากเกิดความเสียหายขึ้นแก่เนื้อตัวร่างกาย ชื่อเสียง ทรัพย์สิน เสรีภาพ อาจเป็นการกระทำโดยละเมิด ครูมีสิทธิถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือถูกสอบสวนวินัยได้ เพราะครูถือเป็นอาชีพที่มีการกำหนด “วินัยของวิชาชีพ” ในระดับที่สูงและเข้มงวด ทั้งจรรยาบรรณวิชาชีพตามคุรุสภาและพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 82-97 เช่น ส่วนหนึ่งของมาตรา 84 ระบุว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความ “เสมอภาคและเที่ยงธรรม” และ “ปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด”
มีกรณีที่ครูเคยถูกลงโทษมาแล้วจากการเหยียดหยามนักเรียนว่าโง่เป็นควาย โง่ทั้งตระกูล สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พิจารณาว่าการกระทำของครูเป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และปิดกั้นพัฒนาการของผู้เรียน มีคำสั่งลงโทษ ตามมาตรา 88 วรรคสอง ที่กำหนดว่า “การกลั่นแกล้ง ดูหมิ่นเหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงผู้เรียนหรือ
>> อ่าน มาตรฐานวิชาชีพครู ที่นี่
Q: เราสามารถร้องเรียนไปที่ไหนได้บ้างหากครูฝ่าฝืนกฎกระทรวงฯ หรือทำผิดวินัยครู
A: หากครูฝ่าฝืนกฎกระทรวงฯ นักเรียนอาจร้องเรียนกับผู้บังคับบัญชาของครู หรือผู้อำนวยการโรงเรียนก่อน โดยพยายามรวบรวมพยานหลักฐานให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้อำนวยการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยครูคนนั้น หากคิดว่าผลการสอบสวนยังไม่เป็นธรรม ให้ยื่นหนังสือต่อ “สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” (สำนักงาน ก.ค.ศ.) เพื่อให้มีการสอบสวนและสั่งลงโทษทางวินัยต่อไป และยังมีอีกวิธีการหนึ่งคือยื่นหนังสือต่อ “คณะกรรมการฯ เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู คุรุสภา” ซึ่งวิธีหลังนี้ใช้ได้ทั้งกับครูโรงเรียนรัฐและเอกชน
การยื่นหนังสือนี้สามารถอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.วินัยข้าราชการครู มาตรา 51 พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดให้บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณครู มีสิทธิกล่าวหาครูต่อคุรุสภาเพื่อเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ดูได้ในข้อบังคับคุรุสภาหมวด 3 เป็นต้น) ส่วนหนึ่งใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ระบุว่า “ครูต้องไม่เลือกปฏิบัติ ไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางสติปัญญาและทางสังคมของศิษย์ ช่วยเหลือ ส่งเสริม และให้กำลังใจแก่ศิษย์ ”
Q: การนำตำรวจเข้ามาในโรงเรียนหรือถ่ายภาพนักเรียน เพื่อกดดันนักเรียนที่แสดงออกทางการเมือง ถือเป็นการลงโทษที่อยู่นอกกฎกระทรวงไหม ?
A: ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 กำหนดโทษที่จะลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ ของสถานศึกษาไว้ 4 สถาน ดังนี้ (1) ว่ากล่าวตักเตือน(2) ทำทัณฑ์บน (3) ตัดคะแนนความประพฤติ (4) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะเห็นได้ว่าการนำตำรวจเข้ามาในโรงเรียนไม่ได้รับการระบุไว้ อีกทั้งกฎกระทรวงฯ ยังกำหนดไว้ว่าการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษานั้น ห้ามลงโทษด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษ
อีกประการหนึ่ง จากหนังสือของ “ศูนย์เฉพาะกิจเพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ” เลขที่ ศธ 04001/ว1692 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2563 ได้กำชับให้สถานศึกษาในสังกัดเปิดพื้นที่ปลอดภัยในสถานศึกษาและไม่กีดกันให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ทำกิจกรรม รวมทั้งแสดงออกได้อย่างมีเสรีภาพและสร้างสรรค์ เนื่องจากการชุมนุมหรือรวมกลุ่มเพื่อแสดงออกทางความคิดได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
และเมื่อ 18 สิงหาคม 2563 ศูนย์เฉพาะกิจเพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนฯ ยังได้ออกหนังสืออีกฉบับ เลขที่ ศธ04277/885 ขอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการให้โรงเรียนในสังกัด “เปิดพื้นที่ให้สถานศึกษาดำเนินกิจกรรมในการแสดงความคิดเห็น ภายใต้หลักการและเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด โดยขอให้ผู้บริหารโรงเรียนคำนึงถึงการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและปลอดภัยของนักเรียนโดยไม่ให้มีบุคคลภายนอกเข้าร่วมชุมนุมได้”
ดังนั้นหากการนำตำรวจเข้ามาในโรงเรียนทำให้นักเรียนรู้สึกไม่ปลอดภัย อาจขัดทั้งกับกฎกระทรวงฯ และขัดกับหนังสือของกระทรวงศึกษาธิการทั้งสองฉบับนี้ด้วย
Q: ในกฎกระทรวงฯ ระบุเรื่อง “ตัดคะแนนความประพฤติ” ว่าเป็นวิธีการลงโทษวิธีหนึ่งที่ครูจะลงโทษเราได้ ถ้าครูตัดคะแนนเราเพราะแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เราจะทำอย่างไรได้บ้าง ?
A: หากการลงโทษนั้นเป็นการลงโทษโดยอาศัยอำนาจที่อยู่ในขอบข่ายของกฎหมายเช่น ตัดคะแนนความประพฤติ หรือทำกิจกรรม “ครูต้องใช้ดุลยพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่มีเจตนากลั่นแกล้ง ไม่เช่นนั้นอาจเข้าองค์ประกอบความผิดเรื่องการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากความคิดเห็นทางการเมือง” อาจนำเรื่องขึ้นฟ้องศาลปกครองได้ แต่ทั้งนี้เราต้องเก็บหลักฐานว่าครูมีเจตนากลั่นแกล้งหรือเลือกปฏิบัติเรามาก่อน
Q: สิทธิเด็กอยู่ไหน? เมื่อถูกคุกคามจากโรงเรียน
A: อยู่ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ
Q: อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กคุ้มครองการแสดงออกและการใช้เ
A: ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child – CRC) ตั้งแต่พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา ซึ่งมีผลให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาฉบับดังกล่าว อนุสัญญาฉบับนี้คุ้มครองสิทธิของเด็กทั้งในเรื่องเสรีภาพการแสดงออก การชุมนุมโดยสงบ และการได้รับการคุ้มครองเมื่อเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย โดยดูได้จากอนุสัญญาข้อ 2, 12, 13, 15, 16, 37, 40
>> ดาวน์โหลดและศึกษาอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กได้ ที่นี่
Q: ขอตัวอย่างอนุสัญญาข้อที่ว่าคุ้มครองหน่อย
A: ตัวอย่างเช่น ในอนุสัญญาข้อ 2 (2) บอกไว้ว่า รัฐภาคีจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวง เพื่อที่จะประกันว่าเด็กได้รับการคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติ หรือการลงโทษในทุกรูปแบบ บนพื้นฐานของสถานภาพ กิจกรรมความคิดเห็นที่แสดงออก ฯลฯ ข้อ 15 (1) รัฐภาคียอมรับสิทธิของเด็กที่จะมีเสรีภาพในการสมาคม และเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ ข้อ 16 (1) เด็กจะไม่ถูกแทรกแซงโดยพลการหรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในความเป็นส่วนตัว ครอบครัว บ้าน หรือหนังสือโต้ตอบ รวมทั้งจะไม่ถูกกระทำโดยมิชอบต่อเกียรติและชื่อเสียง ฯลฯ
Q: เราจะทำอะไรได้บ้างผ่านกลไกของอนุสัญญานี้ ถ้าถูกคุกคาม
A: องค์การสหประชาชาติ มีกลไกพิเศษ (UN Special Procedures) ซึ่งเป็นกลไกติดตามสอดส่องและรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งในลักษณะสถานการณ์รายประเทศหรือในรายประเด็น หากถูกคุกคามส่งข้อมูลการถูกคุกคามที่มีลักษณะการละเมิดสิทธิเด็กไปยัง “ผู้รายงานพิเศษ” (Special Rapporteur) หรือ “คณะทำงาน” (Working Group) ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เสรีภาพในการแสดงออก โดยกลไกพิเศษจะกลั่นกรองข้อร้องเรียนต่างๆ หากเห็นว่ามีน้ำหนักจะส่งข้อร้องเรียนกลับมายังรัฐบาลไทยเพื่อขอรับข้อมูลและคำชี้แจง ทั้งยังจะมีการเผยแพร่หนังสือของผู้รายงานพิเศษหรือคณะทำงานและคำชี้แจงของรัฐไทยต่อสาธารณะ ในเว็บไซต์ของสหประชาชาติด้วย
Q: สิทธิเด็กอยู่ไหน? เมื่อถูกคุกคามจากโรงเรียน
A: อยู่ในกฎหมายอาญา
Q: ถ้าครูกระชากป้ายผ้ารณรงค์ ตบหัว ยื้อยุดเสื้อผ้าหรือส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกาย ริบโบว์ ริบโทรศัพท์ เพราะไม่พอใจที่นักเรียนแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ครูจะมีความผิดตามกฎหมายอาญาหรือไม่
A: การลงโทษหลายกรณีที่เกิดขึ้นในสถานการณ์คุกคามนักเรียนขณะนี้มีความผิดอาญาบางฐานตามมา เช่น การตบหน้า การตี อาจมีความผิดฐานการทำร้ายร่างกายที่ไม่ถึงขั้นอันตราย ตามกฎหมายอาญามาตรา 391 ซึ่งระบุไว้ว่า “ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิด 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” การริบมือถือ ริบโบว์ขาว อาจมีความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 334, 336-339 ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ หรือ ชิงทรัพย์ ซึ่งคดีอาญานั้นเป็นคดีที่ยอมความไม่ได้
Q: ครูมีสิทธิค้นหาหรือขอดูข้อมูลในโทรศัพท์เราหรือไม่
A: ครูไม่มีอำนาจค้นหาโทรศัพท์นักเรียนไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น เพราะครูไม่ใช่เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ย่อมไม่สามารถจะค้นตัวบุคคลได้ และในกรณีที่ครูจะค้นหรือขอดูข้อมูลในโทรศัพท์ก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน เพราะครูไม่ใช่ “เจ้าพนักงาน” ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2550 และการค้นข้อมูลในโทรศัพท์จะกระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งของศาลเท่านั้น ตามมาตรา 18 ประกอบมาตรา 19 ดังนั้น ครูจึงไม่มีอำนาจค้นข้อมูลในโทรศัพท์ของนักเรียน เรามีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ให้ค้นได้
Q: ถ้าครูไม่ได้ทำร้ายเราทางกายภาพแต่ “ขู่” ว่าจะตัดคะแนน ไล่ออก ไม่ให้เรียนต่อ ม.ปลายที่เดิม หลังจบ ม.ต้นแล้ว หรือขู่ว่าจะพาตำรวจมาจับเราเพราะการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ถือว่าครูมีความผิดหรือไม่ ?
A: การข่มขู่อาจเข้าข่ายองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 392 ที่ระบุไว้ว่า “ผู้ใดทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว หรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
Q: สิทธิเด็กอยู่ไหน? เมื่อถูกคุกคามจากโรงเรียน
A: อยู่ในพันธกิจของรัฐ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน และองค์กรคุ้มครองสิทธิเด็ก
Q: เราจะติดต่อองค์กรเหล่านี้อ
A: ตามนี้เลย
– ศูนย์เฉพาะกิจเพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉก.ชน.สพฐ.) เป็นศูนย์เคลื่อนที่เร็วในการเข้าถึงข้อมูลเมื่อมีกรณีนักเรียนถูกล่วงละเมิดทางร่างกายหรือจิตใจ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการศึกษา ประสานงานในการช่วยเหลือนักเรียนที่ถูกล่วงละเมิด ฯลฯ
โทร: 02-288-5599
ภาพ : กลไกการคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนกรณีความรุนแรง จาก คู่มือการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ
>> ดาวน์โหลดคู่มือฉบับเต็มได้ ที่นี่
– ติดต่อ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) สำนักงาน
– ติดต่อ คณะกรรมการฯ เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู คุรุสภา หากครูทำผิดวินัย ได้ ที่นี่
-ศาลปกครอง เป็นหน่วยงานราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ การฝ่าฝืนกฎกระทรวงหรือทำผิดวินัยครู หากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการร้องเรียนต่อองค์กรในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ สามารถนำเรื่องขึ้นฟ้องต่อศาลปกครอง (หรือฟ้องศาลปกครองแต่แรกได้) ศาลปกครองมีแผนกปรึกษาคดี ซึ่งให้คำปรึกษาฟรีพร้อมร่างคำฟ้องให้ฟรี
ควรศึกษารายละเอียดก่อนเข้ารับคำปรึกษา ที่นี่
โทร: 1355, 02-141-1111
– คณะกรรมาธิการการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
มีอำนาจผลักดันเรื่องนักเรียนถูกคุกคามในเชิงกฎหมายและนโยบาย และมีอำนาจเรียกครูที่คุกคามนักเรียน-นักศึกษาเข้ามาชี้แจงได้
เขียนจดหมายร้องเรียนหากถูกคุกคามส่งมาที่: คณะกรรมมาธิการการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กทม. 10400
โทร : 02-242-5900 ต่อ 7211
-ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
มีภารกิจหลักคือ 1)ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและคดีที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน 2) ติดตาม บันทึก เผยแพร่สื่อสารข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสร้างองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ศูนย์ทนายฯ ได้จัดทำแบบบันทึกสำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทางการเมืองแล้วถูกคุกคามหรือละเมิดสิทธิจากครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่สถานศึกษา หรือเจ้าหน้าที่รัฐใดๆ สามารถเข้ามากรอกแบบบันทึกกรณีถูกคุกคามเบื้องต้น เพื่อเป็นการบันทึกและติดตามข้อมูล ตลอดจนการติดต่อกลับเพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือทางกฎหมายต่อไปได้ที่ https://bit.ly/TLHRstudentsharassment หรือสแกนคิวอาร์โค้ดด้านล่างนี้
โทร : 092-271-3172, 096-789-3173
Facebook: lawyercenter2014
Twitter: tlhr2014
*หากมีหน่วยงาน องค์กร หรือภาคประชาสังคมใดทำหน้าที่รับร้องเรียนกรณีถูกคุกคามในโรงเรียนเนื่องจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเพิ่มเติม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจะแจ้งให้ทราบต่อไป