เช็กลิสต์! สิ่งที่ต้องสังเกตและจดบันทึกเมื่อถูกเจ้าหน้าที่รัฐคุกคาม

เมื่อประชาชนคนธรรมดาคนหนึ่งต้องเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองติดตามมาถึงที่อยู่หรือสถานศึกษา ความรู้สึกกดดันมักเพิ่มพูนจนทำตามที่เจ้าหน้าที่บอกทุกอย่าง ไม่ต้องพูดถึงการจดจำรายละเอียดต่างๆ ที่ยากจะรวบรวมสติทำได้ในสถานการณ์อันบีบใจ

อย่างไรก็ตาม การจดจำและบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างถูกเจ้าหน้าที่ติดตามหรือคุกคาม มีประโยชน์ต่อการปกป้องสิทธิของเราอย่างมากในภายหลัง เพราะบ่อยครั้งการ “มาหา” ของเจ้าหน้าที่ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นนอกกฎหมายและละเว้นขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตามหลักการปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชนหลายประการ ซึ่งประชาชนมีสิทธิปฏิเสธที่จะทำตามหรือให้ข้อมูล และมีสิทธิเอาผิดเจ้าหน้าที่ภายหลังได้ (อ่าน “ข้อสังเกตและคำแนะนำต่อกระบวนการนอกกฎหมาย บังคับให้ข้อมูล และทำบันทึกข้อตกลง” ได้ ที่นี่)

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ชวนแปรเปลี่ยนสถานการณ์เผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ครั้งหน้า เป็นการตั้งใจ สังเกต-จดจำ-จดบันทึก สิ่งที่เกิดขึ้น โดยแบ่งสิ่งที่ควร สังเกต-จดจำ-จดบันทึก เป็น 5 หมวดหมู่ เพื่อให้ประชาชนเปลี่ยนบทบาทของตนจากผู้รับสถานการณ์ด้วยความหวั่นไหวเป็นผู้รุก ดังนี้

หมายเหตุ: ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม “แบบบันทึก : สิ่งที่ควรจดบันทึกเมื่อถูกเจ้าหน้าที่รัฐคุกคาม” ฉบับ  PDF  ได้ ที่นี่

 

1. บันทึกลักษณะการมาถึง

  • วัน/เดือน/ปี ที่เจ้าหน้าที่มาถึง……………………………
  • เวลาที่เจ้าหน้าที่มาถึง (ระบุเป็นชั่วโมงหรือนาที)………..น. เวลาที่เจ้าหน้าที่ออกไป……….น.
  • ระยะเวลาที่ถูกคุกคาม…………ชั่วโมง………..นาที
  • สถานที่ที่ถูกคุกคาม (เช่น บ้าน/โรงเรียน/มหาวิทยาลัย/ที่ทำงาน/สถานที่ชุมนุม ฯลฯ)………………………………………

 

2. บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่

  • จำนวนเจ้าหน้าที่ที่มาทั้งหมด………….คน
  • เจ้าหน้าที่แต่งตัวอย่างไร (บรรยายลักษณะการแต่งตัว/ในหรือนอกเครื่องแบบ/ระบุสังกัดหรือไม่)…………….
  • พาหนะของเจ้าหน้าที่มีลักษณะอย่างไร (รายละเอียดในป้ายทะเบียน/ยี่ห้อ สี รุ่นของพาหนะ/มีตราสัญลักษณ์บ่งชี้หน่วยงานชัดเจนหรือเป็นพาหนะส่วนบุคคล ฯลฯ)……………………………………………
  • เจ้าหน้าที่แนะนำตัวหรือไม่ ……………………หากแนะนำตัว ตำแหน่งงานของเจ้าหน้าที่คืออะไร (ระบุตำแหน่งให้ชัดเจน เช่น ทหารในเครื่องแบบ/ทหารนอกเครื่องแบบ/ตำรวจในเครื่องแบบ/ตำรวจนอกเครื่องแบบ/เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ว่าราชการจังหวัด อบต. อบจ. ฯลฯ หรือเจ้าหน้าที่ไม่ทราบฝ่าย)…………………………..หากไม่แนะนำตัว เจ้าหน้าที่ให้เหตุผลที่ไม่แนะนำตัวอย่างไร (เช่น แค่มาพูดคุยเท่านั้น ไม่ได้จับกุม มาหาเพราะปรารถนาดี ฯลฯ)………………………………………

 

3. บันทึกพฤติกรรมเมื่อเจ้าหน้าที่แสดงตัว

  • เจ้าหน้าที่มาด้วยเรื่องหรือเหตุผลอะไร………………………………………
  • เจ้าหน้าที่แสดงตัวพร้อมเอกสารหรือไม่………..หากมี เอกสารนั้นคือเอกสารอะไร (เอกสารที่เจ้าหน้าที่มักใช้ในขั้นตอนนี้ ได้แก่ หมายเรียก หมายจับ หมายค้น หากเจ้าหน้าที่แสดงเอกสารเหล่านี้ เรามีสิทธิเต็มที่ที่จะขอเอกสารตัวจริงหรือถ่ายรูปเอกสารไว้)……………………………… หากไม่มี เจ้าหน้าที่บอกเหตุผลที่ไม่มีเอกสารมาด้วยอย่างไร (ในกรณีเจ้าหน้าที่ไม่มีเอกสารมา เรามีสิทธิปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวใดๆ แก่เจ้าหน้าที่ รวมทั้งไม่ไปไหนตามที่เจ้าหน้าที่ชวนหรือพยายามกดดัน ควบคุมตัว)…………………………………………
  • เจ้าหน้าที่เข้ามาในบ้านหรือไม่ หรือเพียงยืนอยู่นอกรั้วหรือประตู…………………………………..
  • เจ้าหน้าที่พกอาวุธมาหรือไม่………… หากมีอาวุธ อาวุธนั้นคืออะไร……………………….เจ้าหน้าที่มีพฤติการณ์แสดงอาวุธเพื่อต้องการข่มขู่หรือไม่ อย่างไร…………………
  • นอกจากตัวเราแล้ว ใครเป็นผู้อยู่ในสถานการณ์และได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่อีก (เช่น เพื่อน พ่อแม่ แม่บ้าน คนที่เปิดประตูให้ ฯลฯ)………………………หากพูดคุย พูดคุยว่าอย่างไร…………………………………….

4. บันทึกพฤติกรรมเจ้าหน้าที่เมื่อได้พูดคุยกันแล้ว

  • เจ้าหน้าที่ตั้งคำถามอะไรบ้าง………………………………………………
  • ท่าทีของเจ้าหน้าที่เป็นอย่างไร (ข่มขู่คุกคามหรือพูดคุยอย่างดี หากจำรายละเอียดได้มากเท่าไหร่ยิ่งดี)…………………………………………………………………………..
  • เจ้าหน้าที่บันทึกภาพนิ่ง/วิดีโอหรือไม่…………………………….
  • เจ้าหน้าที่ขอดูอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ (หากขอดูให้ระบุอย่างละเอียด เช่น โทรศัพท์มือถือ/คอมพิวเตอร์/แท็บเลต)…………………………………………………………..
  • เจ้าหน้าที่ให้เซ็นเอกสารหรือไม่………..(หากให้เซ็น เอกสารนั้นคืออะไร)………………………………….
  • ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากได้พบและพูดคุยกันแล้ว (เช่น ถูกดำเนินคดี/ถูกจับกุม/ถูกควบคุมตัว/ถูกไล่ออกจากที่อยู่-ที่ทำกิน/ถูกข่มขู่/ถูกกดดัน/เกิดผลกระทบกับตนเอง-ครอบครัว/ลักษณะสภาพจิตใจและความกังวลที่เกิดขึ้นขณะนั้นเป็นอย่างไร ฯลฯ)………………………………………………………………………………….

5. บันทึกรายละเอียดระหว่างถูกควบคุมตัว (หากถูกควบคุมตัว)

  • เจ้าหน้าที่แจ้งอำนาจที่ใช้รองรับการควบคุมตัวหรือไม่…………..หากแจ้ง แจ้งว่าว่าควบคุมตัวโดยอาศัยอำนาจทางกฎหมายใด……………………………………………
  • พาหนะที่ใช้ตอนควบคุมตัวไปมีลักษณะอย่างไร (รายละเอียดในป้ายทะเบียน/ยี่ห้อ สี รุ่นของพาหนะ/มีตราสัญลักษณ์บ่งชี้หน่วยงานชัดเจนหรือเป็นพาหนะส่วนบุคคล ฯลฯ)…………………………………………..
  • เจ้าหน้าที่พาตัวไปในลักษณะไหน (ถามความยินยอมหรือไม่/ให้เราใช้สิทธิติดต่อญาติและทนายความก่อนหรือไม่/ใช้กำลังพยายามควบคุมตัวหรือไม่)…………………………………………………..
  • เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไปช่วงเวลาใด…………………..น.
  • ถูกควบคุมตัวเป็นระยะเวลานานแค่ไหน (ระบุอย่างละเอียด)……….วัน…………ชั่วโมง………..นาที
  • สภาพของสถานที่ที่ถูกควบคุมตัว (บรรยายลักษณะของที่นอน ที่ควบคุมตัว อาหารที่ได้รับ มีลักษณะอย่างไร ได้รับอาหารกี่มื้อ เป็นต้น)……………………………………..
  • สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างถูกควบคุมตัว (มีใครมาพูดคุยด้วย พูดคุยในลักษณะใด มีการบันทึกการพูดคุยหรือไม่ มีการซ้อมทรมานหรือไม่)………………………………………….
  • เอกสารที่เจ้าหน้าที่ให้เซ็นรับรองระหว่างควบคุมตัวมีอะไรบ้าง (เช่น บันทึกคำให้การ/บันทึกข้อตกลงหรือ MOU/ภาพแคปเจอร์จากหน้าจอโทรศัพท์ ฯลฯ)………………………………………….
  • เหตุที่ทำให้การควบคุมตัวสิ้นสุดลง…………………………………………..

 

เพิ่มเติม: รวมซีรีส์จาก TLHR เกี่ยวการรับมือเมื่อถูกติดตาม ควบคุมตัว จับกุม คุกคาม และล่าแม่มด

คำแนะนำเบื้องต้นกรณีถูกเจ้าหน้าที่รัฐควบคุมตัวจากการโพสต์หรือแชร์ข้อความในโซเชียลมีเดีย

ข้อสังเกตและคำแนะนำต่อกระบวนการนอกกฎหมาย บังคับให้ข้อมูล และทำบันทึกข้อตกลง

“มือใหม่หัดม็อบ”: คู่มือว่าด้วยการรับมือทางกฎหมาย เมื่อเจอการปิดกั้น/คุกคามการชุมนุม

รีวิวประสบการณ์ถูก “คุมตัวไปคุย” หลังโพสต์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ของ 1 หนุ่มออฟฟิศ 2 นักเรียน-นักศึกษา

ทำอย่างไรเมื่อถูกล่าแม่มด 10 วิธีรับและรุกเมื่อถูกล่าฯ

X