ประกาศรางวัล No Bail Prize รางวัลแด่ศาลที่ให้ประกันตัวผู้ต้องขังคดีการเมืองยากที่สุดแห่งปี 2566 

จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2566 ยังคงมีประชาชนถูกคุมขังในเรือนจำจากคดีที่แสดงออกทางการเมือง หรือมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับการเมือง 37 คน โดยไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดี จำนวนอย่างน้อย 24 คน

ในจำนวนของผู้ที่ไม่ได้รับการประกันตัวในระหว่างต่อสู้คดีมีผู้ที่ถูกคุมขังจากคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 จำนวน 15 คน ในจำนวนนี้เป็นเยาวชน 2 คน และในคดีครอบครองวัตถุระเบิด – เผารถตำรวจ รวม 9 คน

ตลอดทั้งปี 2566 พบว่าในเดือนพฤศจิกายน มีการยื่นประกันตัวผู้ต้องขังในคดีการเมืองสูงที่สุดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 15 คน โดยศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวเพียง 4 คน ได้แก่ เก่ง พลพล, อาร์ม วัชรพล, ต้อม จตุพล และ แบงค์ ณัฐพล ซึ่งเป็นกลุ่มจำเลยในคดีเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์คดีมาตรา 112 รวมถึงคดีที่เกี่ยวเนื่องกับระเบิดในเหตุการณ์ชุมนุมที่บริเวณดินแดง ภายหลังศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา พบว่าแนวโน้มของการไม่อนุญาตให้ประกันตัวในระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุดมีเพิ่มมากขึ้น โดยในเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่มีผู้ถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาคดี 19 คน ปัจจุบันพบว่ามีสูงขึ้นถึง 25 คนแล้ว

การยื่นประกันตัว “ผู้ต้องขังคดีการเมือง” ส่งท้ายปี 2566 คาดการณ์ว่าแนวโน้มคนถูกคุมขังได้คืนสิทธิประกันตัวยากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง

📌อ่านรายงานประกันตัวส่งท้ายปี 2566 : https://tlhr2014.com/archives/62991

รางวัลที่ 1 Court of The year ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ รวม 42 ครั้ง โดยเป็นคำสั่งไม่ให้ประกันตัวคดี ม.112 รวม 24 ครั้ง และไม่ให้ประกันตัวในคดีชุมนุมที่เกี่ยวเนื่องกับระเบิด – วางเพลิง 18 ครั้ง

รางวัลที่ 2 ได้แก่ ศาลชั้นต้น รวม 15 ครั้ง ไม่ให้ประกันตัวในคดี ม.112 รวม 5 ครั้ง ไม่ให้ให้ประกันตัวในคดีชุมนุมที่เกี่ยวเนื่องกับระเบิด – วางเพลิง 10 ครั้ง

รางวัลที่ 3 ได้แก่ ศาลฎีกา รวม 13 ครั้ง ไม่ให้ประกันตัวในคดี ม.112 รวม 11 ครั้ง ไม่ให้ให้ประกันตัวในคดีชุมนุมที่เกี่ยวเนื่องกับระเบิด – วางเพลิง 2 ครั้ง

รางวัล No ranking in 112 ได้แก่ ศาลอาญา รวม 0 ครั้ง ไม่เคยมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวด้วยตนเอง โดยมักส่งให้ศาลสูงเป็นผู้วินิจฉัยในคดีของจำเลย ม.112 ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาและถูกคุมขังอยู่ในตอนนี้

X