จากปฏิบัติการของนักกิจกรรมในรอบหลายปีที่ผ่านมาดังกล่าว ผศ.ดร.กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นถึงการนำกลยุทธ์ “อดอาหาร” มาใช้ประท้วงเพื่อให้บรรลุข้อเรียกร้องทางการเมืองบางประการไว้ว่า
“ขบวนการเคลื่อนไหวปัจจบุันมีการใช้วิธีการต่อสู้หลักเพื่อให้บรรลุข้อเรียกร้องหลากหลายรูปแบบและสร้างสรรค์มาก ไม่ว่าจะเป็นการทำโพล การเดินขบวน การไม่ยืนในโรงภาพยนตร์ ฯลฯ นี่คือรูปแบบการเคลื่อนไหวหลักที่ขบวนการต้องการให้บรรลุข้อเรียกร้องทางการเมือง อย่างข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ และให้นายกรัฐมนตรีลาออก
.



.
“การเคลื่อนไหวระลอกล่าสุดของคนรุ่นใหม่ ‘การอดอาหาร’ หรือ ‘Hunger Strike’ คือกลยุทธ์การต่อสู้รูปแบบรอง ไม่ใช่การต่อสู้รูปแบบหลัก การอดอาหารเกิดขึ้นบ่อยครั้งภายใต้เงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงเมื่อนักเคลื่อนไหวถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ถูกจับกุม ถูกคุมขัง และมีเป้าหมายระยะสั้น โดยเฉพาะเป้าหมายเกี่ยวกับข้อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือสิทธิในการประกันตัว
.

โดยอดอาหารนานถึง 58 วันจนได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
(ขวามือ) ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล 1 ในนักกิจกรรมที่ถูกคุมขังและอดอาหารประท้วงกับพริษฐ์
.
“ทั้งนี้ข้อเรียกร้องของผู้อดอาหารประท้วงอาจไม่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องของขบวนการเคลื่อนไหวโดยตรง แต่เป็นการประท้วงต่อการถูกจับกุมและการกระทำที่ไม่ชอบธรรมของรัฐที่เป็นปัญหามากกว่า เพื่อบอกกับรัฐว่าการจับกุมและดำเนินคดีนั้นไม่เป็นธรรม เป็นการพรากเสรีภาพ ถูกทำให้เป็นนักโทษ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำผิดทางกฎหมาย หรือกฎหมายนั้นอาจมีปัญหาตั้งแต่แรก เป็นการยืนกรานต่อการต่อสู้รูปแบบหลักว่าไม่ใช่สิ่งที่เป็นอาชญากรรม
“การอดอาหารเป็น ‘อาวุธชิ้นสุดท้าย’ เมื่ออาวุธและทรัพยากรอย่างอื่นในการเคลื่อนไหวถูกรัฐพรากไปทั้งหมดแล้ว เหลือเพียง ‘ร่างกาย’ เท่านั้นที่สามารถใช้เป็นอาวุธต่อสู้ต่อไปได้ รัฐคุมขังคุณไว้ในเรือนจำเพื่อที่จะพยายามพรากการเคลื่อนไหวไปจากคุณ การอดอาหารจึงตีความทางการเมืองได้ว่าเป็นการยืนกรานว่า ‘ยังมีชีวิตทางการเมืองอยู่’ เพียงเท่านี้ก็อาจมองได้ว่าเป็นความสำเร็จเบื้องต้นของการอดอาหารได้แล้ว และเมื่อคุณหาแนวร่วมจำนวนมากเข้าร่วมได้ รวมถึงสื่อสารไปยังสังคมภายนอกให้สร้างแรงกดดันต่อรัฐได้ แน่นอนว่าย่อมสร้างแรงกดดันที่มากขึ้น และอาจจะบรรลุข้อเรียกร้องได้มากกว่าด้วยเวลาน้อยกว่าด้วย
.

ตั้งแต่มีการรัฐประหาร ปี 2557
.
“หากมองการอดอาหารผ่านเลนส์ประวัติศาสตร์วงกว้าง จะพบว่าเป็นการประท้วงที่บ่อยครั้งถูกทำให้เกิดขึ้นในเรือนจำเสียส่วนใหญ่โดยนักเคลื่อนไหวที่ถูกจับกุม การอดอาหารเป็นการต่อต้านของผู้ที่มีทรัพยากรต่ำ มีต้นทุนต่ำเพราะไม่ต้องระดมทรัพยากรเพิ่ม ไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรมาก ใช้เพียงร่างกายของตัวเองเป็นอาวุธเท่านั้น
“กรณีของประเทศตุรกี จะเห็นได้ชัดว่าการอดอาหารส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือของผู้ต้องขังที่เป็นนักโทษทางการเมืองในเรือนจำ ถูกกระทำขึ้นเป็นหมู่คณะ โดยเฉพาะในช่วงปี 2001 มีจำนวนผู้ทั้งหมดอาหารมากถึง 1,500 คน เมื่อมีแนวร่วมจำนวนมากขึ้นการต่อสู้นั้นก็จะมีอำนาจต่อรองมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้แรงกดดันจากภายนอกก็สำคัญด้วยเช่นกัน ทั้งจากภาคประชาสังคม การเมืองบนถนนที่รับช่วงต่อนำวิธีการอดอาหารไปกดดันรัฐด้วยอีกแรงหนึ่ง หากทำได้ ก็จะทำให้มีอำนาจต่อรองให้รัฐผ่อนปรนมากยิ่งขึ้น
.

.
“บทเรียนจากตุรกีอีกอย่างคือ ในสมัยนั้นการอดอาหารยังคงเป็นวัฒนธรรมต่อเนื่องมา ขณะที่ขบวนการการเคลื่อนไหวอยู่ใน ‘ขาลง’ และผู้ต้องขังทางการเมืองถูกปล่อยตัวออกมาแล้วก็ตาม แต่พวกเขายังยืนกรานที่จะใช้การอดอาหารเพื่อบรรลุข้อเรียกร้องบางอย่างอยู่ต่อไป เมื่อสังคมชินชาและเพิกเฉยกับวิธีการอดอาหาร จนมีผู้เห็นด้วยและเข้าร่วมน้อยลงมาก ทำให้การอดอาหารกลายเป็นการประท้วงแบบปัจเจกบุคคลกระทำแบบกระจัดกระจาย ทำไม่พร้อมกัน ท้ายที่สุดต้องยอมรับว่าแรงกดดันหรืออำนาจต่อรองกับรัฐที่จะให้รัฐตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของผู้ประท้วงก็ย่อมยากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน”
.

และเป็นคนล่าสุดตั้งแต่มีการรัฐประหาร 2557 ภาพจากประชาไท
.
.
อ่านบทความของ ผศ.ดร.กรพินธุ์ ที่เผยแพร่ในประชาไทเพิ่มเติม >> กายาศาสตราวุธของผู้ถูกกดขี่: การเมืองเรื่องการอดอาหาร
อ่านรายงานสรุปการอดอาหารของนักกิจกรรมและประชาชน ตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2557 เป็นต้นมา >> จากไผ่ถึงตะวัน: ทบทวนปฏิบัติการ 18 ราษฎร “อดอาหาร” เพื่อประท้วง-เรียกร้อง-ต่อต้าน ให้รัฐและตุลาการมอบความยุติธรรมกลับคืน