ศาลแพ่งงดไต่สวนฉุกเฉิน หลัง “ประยุทธ์” ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง แต่รับฟ้องไว้นัด 19 ม.ค. 64

หลังวานนี้ (21 ต.ค.) 6 นิสิตนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมเครือข่ายทนายความสิทธิมนุษยชน เป็นตัวแทนประชาชน ยื่นฟ้อง พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ และพล...สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ขอให้ศาลเพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง  รวมทั้งประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงฯ และได้ยื่นขอคุ้มครองชั่วคราว พร้อมขอไต่สวนฉุกเฉิน ก่อนศาลแพ่งนัดฟังคำสั่งในวันถัดมา

 

 

รับฟ้องเหตุศาลยุติธรรมมีเขตอำนาจศาลทั่วไป นัดกำหนดประเด็นข้อพิพาทปีหน้า 

วันนี้ (22 ต.ค. 63) 9.20 . ห้องพิจารณา 410 ศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้รับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา ด้วยเหตุการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในกรุงเทพมหานครนี้ เป็นคำสั่งทางปกครองที่ใช้บังคับต่อประชาชนทั่วไป แต่เนื่องจากพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 (... ฉุกเฉินฯ) าตรา 16 บัญญัติให้ประกาศ คำสั่งและการกระทำตามพ...ฉุกเฉินฯ ไม่สามารถฟ้องคดีที่ศาลปกครองได้ รวมทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย .. 2560 าตรา 188 ประกอบมาตรา 194 บัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงเป็นการทั่วไปได้ คดีของ 6 นิสิตนักศึกษานี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมที่จะรับพิจารณาไว้ได้ 

ศาลแพ่งจีงรับฟ้องคดีนี้ นัดชี้สองสถาน และกำหนดแนวทางการดำเนินคดีหรือสืบพยานโจทก์ในวันที่ 19 .. 64 เวลา 09.00 . และในวันนี้อนุญาตให้โจทก์ไต่สวนฉุกเฉิน แต่เนื่องจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นนิสิตจุฬาฯ มีภารกิจรายงานตัวต่อพนักงานอัยการในคดีชุมนุมให้กำลังใจภาณุพงศ์ จาดนอก และอานนท์ นำภา หน้า สน.บางเขน เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ศาลจึงนัดไต่สวนโจทก์ที่ 1 พร้อมนักวิชาการ เวลา 13.00 . แทน 

 

รัฐบาลยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง อ้างเหตุความร้ายแรงคลี่คลายและยุติลง 

ก่อนเวลา 12.00 . เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศ เรื่องยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญคือ

หนึ่ง ให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 15 .. 63 และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงฯ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 16 .. 63

สอง บรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่ง ที่ออกตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงฯ ดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลง

โดยอ้างเหตุผลในการยกเลิกประกาศดังกล่าวเนื่องจากปัจจุบันเหตุการณ์ร้ายแรงอันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงได้คลี่คลายความรุนแรงและยุติลง โดยอยู่ในภาวะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการบังคับใช้มาตรการตามที่กำหนดในกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว” การยกเลิกนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 .. 2563 เวลา 12.00 . เป็นต้นไป

 

งดไต่สวนฉุกเฉิน ยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว เหตุละเมิดสิทธิและเสรีภาพอย่างต่อเนื่องยาวนานจากประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ หมดไป 

14.15 . ผู้พิพากษา 4 คน ลงนั่งบัลลังก์ในห้องพิจารณา และอ่านคำสั่งว่า พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 15 .. 63 และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 .. 63 และบรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงดังกล่าวแล้ว ซึ่งการยกเลิกนี้มีผลตั้งแต่วันนี้ (22 .. 63) เวลา 12.00 . เป็นต้นไป ทำให้เหตุในการขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาและคำขอในกรณีฉุกเฉินของโจทก์ทั้งหมด ที่ว่าการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงฯ และประกาศคำสั่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะละเมิดสิทธิและเสรีภาพอย่างต่อเนื่องยาวนานต่อโจทก์และประชาชนเป็นอันสิ้นสุดลง โดยผลของการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง ดังกล่าว 

ศาลแพ่งจึงให้งดไต่สวนฉุกเฉินโจทก์ที่ 1 และนักวิชาการ พร้อมยกคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ด้วยเหตุแห่งการวินิจฉัยตามคำร้องขอได้สิ้นสุดลงแล้ว 

ผู้พิพากษาได้เน้นย้ำว่าคดีนี้ศาลแพ่งรับฟ้องไว้แล้ว และนัดกำหนดแนวทางการดำเนินคดีในวันที่ 19 .. 2564 เวลา 09.00 . ก่อนจะลงบัลลังก์ไป 

 

ในวันเดียวกันนี้ ห้องพิจารณา 802 เวลา 10.00 น. ศาลแพ่งมีคำสั่งรับฟ้องและไต่สวนฉุกเฉินเพื่อมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ในคดีที่ฟ้องให้เพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ของนายวัชระ เพชรทอง อดีต ..พรรคประชาธิปัตย์ กับพวก และของน.พ.ชลน่าน ศรีแก้ว ..พรรคเพื่อไทย โดยศาลกำหนดให้ทั้งสองคดีนี้มาฟังคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ในวันที่ 28 .. 63  

 

 

ทนายความชี้การยกเลิกไม่เท่ากับการเพิกถอน รัฐอ้างความชอบด้วยกฎหมายในการกระทำใดก่อนการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงได้

ด้านสุรชัย ตรงงาม เครือข่ายทนายความสิทธิมนุษยชน จากมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) เห็นว่าการ “ยกเลิก” ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงฯ วันนี้ มีผลไม่เท่ากับการ “เพิกถอน” ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงฯ ตามที่นิสิตนักศึกษาได้มีคำขอให้ศาลแพ่งเพิกถอนแต่อย่างใด

เนื่องจากการยกเลิก ยังทำให้เจ้าหน้าที่รัฐอ้างได้ว่าการออกประกาศคำสั่งและดำเนินมาตรการต่างๆ ที่ผ่านมาแล้วหลังวันที่ 15 .. 63 นั้นมีอำนาจทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น การฉีดน้ำแรงดันสูงผสมสารเคมีสลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 16 .. 63 และการจับกุมนักศึกษาและประชาชน ไปควบคุมที่ บก.ตชด.ภาค 1 ตั้งแต่วันที่ 15 .. 63 จนถึงเช้าวันนี้ 

ดังนั้น นิสิตนักศึกษาจึงจำเป็นต้องดำเนินคดีต่อไป เพื่อให้ศาลได้ตรวจสอบและวินิจฉัยว่าประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาตั้งแต่ต้น และรัฐต้องมีการเยียวยาความเสียหาย โดยการเพิกถอนหมายจับและปล่อยตัวผู้ชุมนุมที่โดนข้อหาฝ่าฝืน ...ฉุกเฉินฯ โดยทันที ส่วนข้อหาอาญาอื่นๆ หากเกี่ยวข้องกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงก็ต้องยุติการดำเนินคดีโดยทันที

 

ในคดีนี้มีเครือข่ายองค์กรด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชน 8 องค์กร ได้ร่วมกับนิสิต นักศึกษา ดำเนินการยื่นฟ้องคดีด้วย ได้แก่ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม, สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน, มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม, สมาคมนักกฎหมายคุ้มครองสิทธิและสิ่งแวดล้อม, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน

 

อ่านเพิ่มเติม:

สรุปประเด็นคำฟ้อง ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ

จับตา! ศาลแพ่งจะมีคำสั่งรับฟ้องให้เพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงหรือไม่ พรุ่งนี้ (22 ต.ค.) 

แถลงการณ์ กรณีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงและสลายการชุมนุม

ความคิดเห็นทางกฎหมายเรื่อง “สถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง” ยิ่งทำลายหลักนิติรัฐ ขยายอำนาจจนท.รัฐ ตุลาการตรวจสอบไม่ได้

X