เปิดฐานข้อมูลคดี 112 ที่ศูนย์ทนายฯ ให้ความช่วยเหลือทาง กม.

หลัง คสช. เข้ายึดอำนาจในปี 2557 นับเป็นช่วงเวลาที่การใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ หรือกฎหมายอาญามาตรา 112 ดำเนินไปอย่างเข้มข้น โดยมีผู้ถูกดำเนินคดีอย่างน้อย 169 คน แบ่งเป็นผู้ถูกตั้งข้อหาจากการแสดงความคิดเห็นอย่างน้อย 106 คน และกรณีแอบอ้างสถาบันกษัตริย์เรียกรับผลประโยชน์อีกอย่างน้อย 63 คน

ในเวลาเดียวกันนั้น ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ติดตาม “คดี 112” ตลอดจนตั้งข้อสังเกตต่อกระบวนการทางกฎหมายผ่านมุมมองด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอไปพร้อมกัน จนเกิดเป็นฐานข้อมูลของคดี 112 ที่กลั่นกรองจาก 55 คดี และชีวิตของผู้ต้องคดีรวม 65 คน ที่ศูนย์ทนายฯ ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย

ฐานข้อมูลคดี 112 เป็นส่วนหนึ่งของ “ฐานข้อมูลคดีสิทธิและเสรีภาพในช่วง 5 ปี คสช.” ซึ่งบันทึกสถิติการละเมิดสิทธิเสรีภาพหลังการรัฐประหารปี 2557 จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ตลอดจนพฤติการณ์-รายละเอียดของหลากหลายคดีตามหมวดหมู่ให้สืบค้น อีกทั้งจัดทำลำดับเหตุการณ์ (timeline) ทั้งในด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการใช้อำนาจทางกฎหมาย ฯลฯ ฐานข้อมูลนี้นับเป็นการตอบสนองภารกิจประการหนึ่งของศูนย์ทนายฯ นั่นคือเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ช่วยกันจดจำว่าเคยมีเรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้น ด้วยความหวังว่าหลายสิ่งจะไม่เกิดขึ้นซ้ำ โดยฐานข้อมูลนี้เปิดให้ทุกคนเข้าใช้และสืบค้นได้ที่ https://database.tlhr2014.com/

สำหรับฐานข้อมูลคดี 112 มีความน่าสนใจอย่างไร? และเก็บบันทึกข้อมูลด้านไหนไว้บ้าง? ศูนย์ทนายฯ ได้รวบรวมเนื้อหาบางส่วนมานำเสนอผ่าน “สถิติ” ซึ่งมาพร้อมความทรงจำอันยากจะลืมเลือน ดังนี้

 

70 ปี ระยะเวลาจองจำที่ไม่น่าเป็นไปได้

การกำหนดโทษของกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์มีพลวัตการลงโทษ หนัก-เบา แตกต่างไปตามแต่ละยุคสมัย และสัมพันธ์อย่างมากต่อบรรยากาศด้านสิทธิเสรีภาพของสังคมในขณะนั้นๆ สำหรับยุคหลังการรัฐประหารปี 2557 ทั้งศาลทหารและศาลยุติธรรมมีแนวโน้มพิพากษาลงโทษผู้ต้องคดีนี้ด้วยอัตราโทษที่สูงขึ้น จากเดิมกรรมละ 5 ปี เป็นกรรมละ 8-10 ปี ทำให้เกิดกรณีที่ศาลทหารพิพากษาจำคุกด้วยโทษสูง 50 – 70 ปี ในคดีของ “วิชัย” “พงษ์ศักดิ์” “ศศิพิมล” และ “เธียรสุธรรม” (จำเลยรับสารภาพได้ลดโทษครึ่งหนึ่ง) ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วนของการลงโทษในคดีอาญา เนื่องจากพฤติการณ์กระทำผิดมีเพียงแค่การแสดงความเห็นเท่านั้น

 

10 ผู้ป่วยจิตเภท

ภายใต้นโยบายการดำเนินคดียุค คสช. มาตรา 112 นับว่ามี “เส้นแบ่ง” ของการทำผิดหรือไม่ผิดกฎหมายที่ค่อนข้างพร่าเลือน และได้ถูกขยายการตีความและการบังคับใช้ออกไปอย่างมาก ซึ่งนอกจากกระทบต่อการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ยังกระทบต่อหลักการตีความกฎหมายอาญาโดยเคร่งครัดในหลายคดี อาทิ

+ ดำเนินคดีผู้กดแชร์หรือไลค์โพสต์ในเฟซบุ๊กโดยผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้เขียนข้อความต่างๆ เอง เช่น คดีของ “จตุภัทร์” และคดีของ “ฐนกร”

+ ดำเนินคดีผู้ไม่ห้ามปรามคู่สนทนาที่แสดงความเห็นที่ถูกกล่าวหาว่าเข้าข่ายมาตรานี้ เช่นกรณีของ “พัฒน์นรี” (แม่ของนิว สิรวิชญ์)

+ ดำเนินคดีผู้แสดงความเห็นต่อสุนัขทรงเลี้ยงอย่าง “ฐนกร” หรือกลุ่มวางเพลิงพระบรมฉายาลักษณ์ของอดีตกษัตริย์ซึ่งไม่ได้เป็นบุคคลตามองค์ประกอบของมาตรา 112

+ ดำเนินคดีผู้แอบอ้างสถาบันกษัตริย์เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ เช่น กรณีของ “ภูชิต” ทั้งที่ไม่ใช่องค์ประกอบความผิดตามมาตรานี้

+ ดำเนินคดีกรณีแอบอ้างสมเด็จพระเทพฯ (พระอิสสริยยศในขณะนั้น) ซึ่งไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้ในคดีของ “นพฤทธิ์”

+ ดำเนินคดีผู้ป่วยจิตเภท ที่แม้กฎหมายจะกำหนดให้พนักงานสอบสวนยุติการดำเนินคดีได้ หากมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกกล่าวหาวิกลจริต แต่กลับพบการดำเนินคดีต่อกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว โดยศูนย์ทนายฯ ให้ความช่วยเหลือผู้ต้องคดีกลุ่มนี้รวม 10 คน และพบว่าในหลายกรณีศาลไม่ได้นำหลักการคุ้มครองด้านความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำผิดที่มีอาการเจ็บป่วยทางจิตมาประกอบดุลพินิจเพื่อพิพากษายกฟ้องหรือรอการลงโทษผู้ต้องคดีกลุ่มนี้ ทำให้มีผู้ป่วยทางจิตถูกพิพากษาจำคุกแล้ว 5 ราย เช่น “สมัคร”, “รุ่งเรือง” และ “สิน”

 

25 คดีในศาลทหาร

หลังเข้ายึดอำนาจปี 2557 การนำพลเรือนขึ้นศาลทหารได้หวนคืนอีกครั้งหลังว่างเว้นมานาน เมื่อคสช. ออกประกาศฉบับที่ 37/2557 และฉบับที่ 38/2557 (บังคับใช้ 25 พ.ค. 57 – 11 ก.ย. 59) ให้ความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 112 อยู่ในขอบเขตการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร โดยมีจำนวนคดีที่อยู่ในความดูแลของศูนย์ทนายฯ 25 คดี

หลายคดีที่พิจารณาโทษพลเรือนในศาลทหาร พบปัญหาอย่างเด่นชัดเรื่องความเป็นอิสระ และกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรม เช่น คดีของ “ชญาภา” ซึ่งศาลทหารไม่ได้แจ้งให้ทนายความของชญาภาทราบล่วงหน้าว่ามีการนัดพิจารณาคดี ทำให้ชญาภาให้การรับสารภาพ โดยไม่มีโอกาสได้ปรึกษาทนายความก่อน อีกทั้งคดีที่อยู่ในศาลทหาร หากกระทำผิดในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก (20 พ.ค. 57 – 1 เม.ย. 58) จำเลยจะถูกตัดสิทธิยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา เช่น คดีของ “เธียรสุธรรม” “พงษ์ศักดิ์” และ “ธารา” ซึ่งต้องโทษจำคุก 20 ปีขึ้นไป โดยศูนย์ทนายฯ พบ 10 คดี ที่จำเลยไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว

นอกจากการขึ้นศาลทหาร จากการเก็บข้อมูลของศูนย์ทนายฯ พบว่าผู้ถูกดำเนินคดีข้อหานี้ในช่วง 5 ปี คสช. ถูกควบคุมตัวในค่ายทหารก่อนถูกส่งให้ตำรวจดำเนินคดีต่ออย่างน้อย 40 คน ทั้งกรณีที่เป็นการเข้ารายงานตัวตามคำสั่ง คสช. เช่น “คฑาวุธ” และ “เฉลียว” รวมทั้งกรณีถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเข้าควบคุมตัว เช่น “บุรินทร์” และ “เอกฤทธิ์” ซึ่งการคุมตัวในค่ายทหารก่อนเข้าสู่กระบวนพิจารณาคดีนั้นกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกคุมตัวหลายประการ เช่น ข้อเท็จจริงรวมถึงคำรับสารภาพจากการซักถามในค่ายทหาร ซึ่งผู้ถูกควบคุมตัวไม่สามารถติดต่อบุคคลที่ไว้ใจและทนายความได้ รวมทั้งถูกยึดเครื่องมือสื่อสารไปตรวจสอบ บ่อยครั้งได้ถูกนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี ทั้งที่ขั้นตอนดังกล่าวเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

18 คดีในห้องพิจารณาลับ

“สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย” เป็นสิทธิมนุษยชนอีกประการหนึ่งที่ผู้ต้องคดี 112 หลายรายไม่ได้รับ หลังรัฐประหารปี 2557 จนถึงวันที่ศูนย์ทนายฯ ยุติการเก็บข้อมูล พบว่ามีคดี 112 ที่ศาลพิจารณาคดีโดยลับอย่างน้อย 18 คดี เช่น คดีของ “อัญชัญ”, “ปิยะ” บางคดีศาลยังอ่านคำพิพากษาโดยลับด้วย เช่น คดีของ “จตุภัทร์” และ “โอภาส”

 

46 คนไม่ได้รับสิทธิประกันตัว

ผู้ต้องคดี 112 ส่วนใหญ่ไม่ได้รับ “สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม” หลายประการ ทั้งในศาลยุติธรรมและศาลทหาร เช่นสิทธิในการประกันตัว จากสถิติของผู้ต้องคดีในความดูแลของศูนย์ทนายฯ พบว่ามีผู้ไม่ได้รับการประกันตัวจำนวน 46 คน เช่น “ภรณ์ทิพย์”, “ปติวัฒน์” หรือ “จตุภัทร์” ซึ่งยื่นประกันถึง 12 ครั้ง หรือหากได้รับการประกันตัวต้องแลกด้วยการใช้วงเงินประกันสูงหลายแสนบาท และมีกรณี “สิรภพ” ที่ศาลให้ประกันตัวหลังจากถูกขังระหว่างพิจารณาคดีไปแล้วเกือบ 5 ปี นอกจากนี้ผู้ต้องคดียังมักถูกจำกัดไม่ให้ได้รับการพักโทษ ด้วยเหตุผลว่า “พฤติการณ์กระทําผิดกระทบต่อสถาบันหลักของชาติ”
.

11 คดีอันยาวนาน

สิทธิมนุษยชนประการหนึ่งที่กระบวนการยุติธรรมทำหลานหายระหว่างการดำเนินคดี 112 คือ “สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างรวดเร็ว” ของผู้ต้องคดี โดยเฉพาะคดี 112 ในศาลทหารซึ่งดำเนินไปอย่างล่าช้า เช่น คดีของ “สิรภพ” ที่เริ่มพิจารณาคดีตั้งแต่ปี 2557 ผ่านไปเกือบ 6 ปี ปัจจุบันคดียังสืบพยานไม่เสร็จ และยังมีกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกขังโดยไม่ได้รับการประกันตัว ความล่าช้าเช่นนี้นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ให้จำเลยจำนวนมากเลือกรับสารภาพมากกว่าต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ เช่น กรณีของ “สมัคร” และ “ธารา” ศูนย์ทนายฯ พบกรณีที่จำเลยรับสารภาพรวม 40 คน

ปัจจุบันการพิจารณาคดี 112 ได้เปลี่ยนผ่านมาสู่ยุคศาลยุติธรรม หรือการพิจารณาโดยระบบศาลของพลเรือน โดยผลของประกาศคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 9/2562 ที่ออกก่อน คสช. หมดบทบาท ทำให้คดีอาญามาตรา 112 ในความรับผิดชอบของศูนย์ทนายฯ จำนวน 11 คดี ที่ศาลทหารยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ถูกโอนมาให้ศาลยุติธรรมพิจารณาต่อ ซึ่งการส่งต่อการพิจารณาคดีพบความขลุกขลักอยู่บ้าง เช่น 1 ใน 2 คดีของ “บัณฑิต” ศาลยุติธรรมต้องทำคำพิพากษาโดยไม่ได้สืบพยานเอง

 

6 ผู้ถูกบังคับให้สูญหายระหว่างลี้ภัย

การบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างเข้มข้น ร่วมกับมาตรการทางทหารในสถานการณ์ที่ทหารครองอำนาจทางการเมือง ไม่เพียงทำให้มีผู้ถูกดำเนินคดีจำนวนมาก ซึ่งมีภาระต้องต่อสู้คดีและถูกคุมขัง แต่ยังผลักดันให้คนจำนวนมากต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ และยังต้องกล่าวด้วยว่า ผู้ลี้ภัยที่ถูกออกหมายจับในคดี 112 ทั้งก่อนและหลังการรัฐประหาร จำนวน 6 คน ได้ถูกบังคับให้สูญหายไปในระหว่างการลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้าน

 

12 คนยังคงถูกกักขังรับโทษ

นับตั้งแต่ปี 2561 หรือหลังการเปลี่ยนผ่านรัชสมัย แนวโน้มการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ได้ลดน้อยลง ทว่าการคุกคามปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นในประเด็นสถาบันกษัตริย์ยังคงมีอยู่ โดยศูนย์ทนายฯ พบว่ามีการใช้ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 มากล่าวหาดำเนินคดีกับกรณีดังกล่าวมากขึ้น อีกทั้งเมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มของคดีที่คงค้างอยู่ พบว่าศาลมักนำมาข้อหาอื่นๆ มาใช้พิพากษาลงโทษแทนมาตรา 112 อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม คดี 112 ที่เกิดขึ้นในยุค คสช. หลายคดียังดำเนินต่อไป โดยเฉพาะคดีที่จำเลยเลือกที่จะต่อสู้คดี เช่น คดีของ “สิรภพ” กวีผู้ถูกคุมขังและไม่ได้ประกันตัวเกือบ 5 ปี, คดีของ “ฐนกร” กรณีโพสต์เสียดสีสุนัขทรงเลี้ยง, คดีของ “พัฒน์นรี” หรือ “แม่จ่านิว” จากกรณีแชท “จ้า”, คดีของ “อัญชัญ” กรณีแชร์คลิปบรรพต 29 กรรม, คดีของ “ณัฏฐธิดา” พยานปากเอกในคดี 6 ศพวัดปทุมฯ, คดีของ “บัณฑิต” นักเขียนผู้ถูกกล่าวหาจากการแสดงความคิดเห็น 2 คดี, หรือกลุ่มคดีของผู้ป่วยจิตเวชที่ถูกกล่าวหาด้วยมาตรา 112 ปัจจุบันคดีเหล่านี้ได้ถูกโอนย้ายจากศาลทหารมาพิจารณาต่อในศาลพลเรือน

ปัจจุบันคดีอาญามาตรา 112 ที่ศูนย์ทนายฯ ให้ความช่วยเหลือ มีคดีที่ศาลจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยเสียชีวิต 2 คดี (คดี“ประจักษ์ชัย” และ “นที”) คดีถึงที่สุดแล้ว 42 คดี ในจำนวนนี้เป็นคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง 7 คดี (เช่น คดี “สมบัติ”, ผู้แชร์และคอมเมนต์โพสต์เรื่องหมุดคณะราษฎร), ศาลพิพากษายกฟ้อง 3 คดี (คดี “เค”, “นพฤทธิ์”, “สกันต์”) และพิพากษาลงโทษรวม 32 คดี/41 คน และยังมีคดีไม่ถึงที่สุด 12 คดี มีผู้รับโทษอยู่ในเรือนจำ 12 คน ซึ่งยังต้องจับตาต่อไป.

สืบค้นข้อมูลต่อได้ที่ https://database.tlhr2014.com/public/lawsuit/

—————————————————-

อ่านเพิ่มเติม >> 5 ปี คสช. พอได้หรือยัง?: ข้อเสนอว่าด้วยการจัดการผลพวงรัฐประหาร

>> ข้อเสนอต่อการจัดการผลพวงรัฐประหาร ทางกฎหมาย นโยบาย และกระบวนการยุติธรรม เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

>> การใช้ ม.112 ลดน้อยลงหรือดำรงอยู่ในรูปแบบอื่น

 

ฐานข้อมูลคดี 112

(คลิกที่ชื่อผู้ถูกดำเนินคดีเพื่ออ่านรายละเอียดในคดี)
รวมคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในยุค คสช. (22 พ.ค. 2557 – 16 ก.ค. 2562) ที่ศูนย์ทนายความฯ ให้ความช่วยเหลือ จำนวน 55 คดี
ลำดับชื่อผู้ถูกดำเนินคดีจำนวนจำเลยช่องทางการแสดงออกการกระทำที่ถูกกล่าวหาและดำเนินคดีศาล/อัยการการต่อสู้คดีผลคดี/โทษสถานะคดี
(ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 63)
1สมบัติ หรือ บก.ลายจุด1เฟซบุ๊กโพสต์ตัดต่อภาพล้อเลียน กปปส. ต้นปี 57อัยการศาลยุติธรรมปฏิเสธอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีคดีถึงที่สุด
2ยุทธศักดิ์ – คนขับแท็กซี่1ที่สาธารณะพูดคุยกับผู้โดยสารพาดพิงสถาบันฯ ช่วงเดือน ม.ค. 57ศาลยุติธรรมรับสารภาพจำคุก 5 ปี ลดเหลือ 2 ปี 6 เดือนคดีถึงที่สุด/พ้นโทษก่อนกำหนดตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษฯ
3สิรภพ – นักเขียน1เว็บบอร์ด บล็อก และเฟซบุ๊กโพสต์บทกลอน ข้อความ และภาพล้อเลียน รวม 3 ครั้ง ในปี 52, 56 และต้นปี 57ศาลทหาร-> โอนไปศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดีระหว่างสืบพยานในศาลชั้นต้น/ได้รับการประกันตัว
4คฑาวุธ – นักจัดรายการวิเคราะห์การเมือง1สไกป์และเว็บไซต์จัดรายการและเผยแพร่ออนไลน์ เมื่อ 28 มี.ค. 2557ศาลทหารรับสารภาพจำคุก 10 ปี ลดเหลือ 5 ปีคดีถึงที่สุด/พ้นโทษก่อนกำหนดตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษฯ
5เฉลียว – ช่างตัดกางเกง1เว็บแชร์ไฟล์อัปโหลดข้อความเสียงของ ‘บรรพต’ ลงในเว็บไซด์สำหรับแชร์ไฟล์ ในปี 54-55ศาลยุติธรรมรับสารภาพจำคุก 5 ปี ลดเหลือ 2 ปี 6 เดือนคดีถึงที่สุด/พ้นโทษก่อนกำหนดตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษฯ
6โอภาส – พ่อค้าในตลาด1ที่
สาธารณะ
เขียนข้อความบนบานประตูด้านในห้องน้ำชั้น 2 ของห้างสรรพสินค้าศาลทหารรับสารภาพจำคุก 3 ปี ลดเหลือ 1 ปี 6 เดือนคดีถึงที่สุด/พ้นโทษ
7โอภาส – พ่อค้าในตลาดที่
สาธารณะ
เขียนข้อความบนบานประตูด้านในห้องน้ำชั้น 1 ของห้างสรรพสินค้าศาลทหารรับสารภาพจำคุก 3 ปี ลดเหลือ 1 ปี 6 เดือน, นับโทษต่อจากคดีแรกคดีถึงที่สุด/พ้นโทษก่อนกำหนดตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษฯ
8ทะเนช – ขายของออนไลน์ (ผู้ป่วยจิตเภท)1อีเมลส่งอีเมลแนบลิงค์ของเว็บไซต์ ‘Sanamluang2008’ เมื่อปี 2553ศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี (มีการสืบพยาน)จำคุก 5 ปี ลดเหลือ 3 ปี 4 เดือนคดีถึงที่สุด/พ้นโทษก่อนกำหนดตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษฯ
9ปติวัฒน์และภรณ์ทิพย์ – ศิลปินและนักกิจกรรม2ละครเวทีแสดงละครเวที ‘เจ้าสาวหมาป่า’ เมื่อ ต.ค. 2556ศาลยุติธรรมรับสารภาพจำคุก 5 ปี ลดเหลือ 2 ปี 6 เดือนคดีถึงที่สุด/พ้นโทษก่อนกำหนดตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษฯ
10สมัคร – เกษตรกร (ผู้ป่วยจิตเภท)1ที่
สาธารณะ
ทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ ที่ซุ้มปากทางเข้าหมู่บ้านศาลทหารรับว่าทำ แต่เพราะอาการป่วย ก่อนเปลี่ยนเป็นรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาในระหว่างสืบพยานจำคุก 10 ปี ปรับ 100 บาท ลดเหลือ 5 ปี ปรับ 50 บาทคดีถึงที่สุด/พ้นโทษก่อนกำหนดตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษฯ
11บัณฑิต – นักเขียนและนักแปลอาวุโส1ที่สาธารณะแสดงความเห็นในงานเสวนาของพรรคนวัตกรรมไทยศาลทหาร-> โอนไปศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี (มีการสืบพยาน)รอฟังคำพิพากษาในศาลยุติธรรม/ได้รับการประกันตัว
12บัณฑิต – นักเขียนและนักแปลอาวุโสที่สาธารณะแสดงความเห็นในงานเสวนาเรื่องร่างรัฐธรรมนูญศาลทหาร-> โอนไปศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดีระหว่างสืบพยานในศาลชั้นต้น/ได้รับการประกันตัว
13จารุวรรณ และพวก – พนักงานโรงงาน, ทำประมง3เฟซบุ๊กโพสต์พระบรมฉายาลักษณ์พร้อมเขียนข้อความบรรยายอัยการทหารปฏิเสธถูกควบคุมตัวและขังรวม 86 วัน ก่อนอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีคดีถึงที่สุด
14เธียรสุธรรม – ธุรกิจส่วนตัว1เฟซบุ๊กโพสต์ภาพและข้อความ จำนวน 5 ครั้งศาลทหารรับสารภาพจำคุก 50 ปี ลดเหลือ 25 ปีคดีถึงที่สุด/พ้นโทษก่อนกำหนดตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษฯ
15ภูชิต1แอบอ้างสถาบันฯ เรียกรับผลประโยชน์แอบอ้างเป็นคนสนิทรัชทายาทในการเจรจาธุรกิจศาลทหารรับสารภาพจำคุก 5 ปี ลดเหลือ 2 ปี 6 เดือนคดีถึงที่สุด/พ้นโทษก่อนกำหนดตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษฯ
16พงษ์ศักดิ์ – มัคคุเทศก์1เฟซบุ๊กโพสต์ภาพและข้อความรวม 6 ครั้ง (ก.ย. 56 และ พ.ย. 57)ศาลทหารรับสารภาพจำคุก 60 ปี ลดเหลือ 30 ปีคดีถึงที่สุด/รับโทษอยู่ในเรือนจำ
17ปิยะ – โบรกเกอร์,โปรแกรมเมอร์1เฟซบุ๊กโพสต์พระบรมฉายาลักษณ์พร้อมข้อความ จำนวน 2 ภาพ เมื่อปี 2556ศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี (มีการสืบพยาน)จำคุก 9 ปี ลดเหลือ 6 ปีคดีถึงที่สุด/รับโทษอยู่ในเรือนจำ
18ปิยะ – โบรกเกอร์,โปรแกรมเมอร์อีเมลส่งอีเมลเมื่อปี 2551 และ 2553ศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี (มีการสืบพยาน)จำคุก 8 ปี, นับโทษต่อจากคดีแรกคดีถึงที่สุด/รับโทษอยู่ในเรือนจำ
19อัญชัญ – ข้าราชการ1เฟซบุ๊กและยูทูบอัพโหลดคลิปเสียง ‘บรรพต’ จำนวน 19 คลิป รวม 29 ครั้งศาลทหาร-> โอนไปศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดีระหว่างสืบพยานในศาลชั้นต้น/ได้รับการประกันตัว
20ธารา – ขายของออนไลน์1เว็บไซต์โพสต์ลิงค์คลิปเสียง ‘บรรพต’ จำนวน 6 คลิป ในเว็บไซต์ของตนเองศาลทหารปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี ต่อมาเปลี่ยนเป็นรับสารภาพ ในระหว่างการสืบพยานจำคุก 30 ปี ลดเหลือ 18 ปี 24 เดือนคดีถึงที่สุด/รับโทษอยู่ในเรือนจำ
21‘บรรพต’ และกลุ่มคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น ‘เครือข่ายบรรพต’8 (จำเลยทั้งหมด 10 คน)เว็บไซต์และเฟซบุ๊กจัดทำและเผยแพร่คลิปเสียง ‘บรรพต’ศาลทหารรับสารภาพ8 คน จำคุกคนละ 10 ปี ลดเหลือ 5 ปี / 2 คน จำคุกคนละ 6 ปี ลดเหลือ 3 ปีคดีถึงที่สุด/พ้นโทษแล้ว
22ประจักษ์ชัย – ช่างโลหะ (ผู้ป่วยจิตเภท)1ศูนย์บริการประชาชนเขียนคำร้องถึงนายกฯศาลทหาร-> โอนไปศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดีเสียชีวิตระหว่างการสืบพยานในศาลชั้นต้น/จำหน่ายคดี
23ชาญวิทย์ – รับจ้าง1ที่สาธารณะแจกใบปลิวที่ท่าน้ำนนท์เมื่อปี 2550ศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี (มีการสืบพยาน)จำคุก 6 ปีคดีถึงที่สุด/พ้นโทษก่อนกำหนดตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษฯ
24ธนิตศักดิ์ – อดีตผู้ช่วยช่างภาพ1เว็บไซต์และเฟซบุ๊กมีส่วนร่วมในการเผยแพร่คลิปเสียง ‘บรรพต’ศาลทหารรับสารภาพจำคุก 8 ปี ลดเหลือ 4 ปีคดีถึงที่สุด/พ้นโทษก่อนกำหนดตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษฯ
25ชญาภา – พนักงานบริษัท1เฟซบุ๊กโพสต์ภาพการเคลื่อนย้ายรถถังพร้อมข้อความวิจารณ์ และข่าวลือเรื่องรัฐประหารซ้อนศาลทหารรับสารภาพจำคุก 19 ปี ลดเหลือ 7 ปี 30 เดือนคดีถึงที่สุด/พ้นโทษก่อนกำหนดตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษฯ
26เสาร์ – รปภ. (ผู้ป่วยจิตเภท)1ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเขียนคำร้องให้ศาลฯ ทวงเงินของรัชกาลที่ 9 จากทักษิณ ชินวัตรศาลทหาร-> โอนไปศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดีระหว่างสืบพยานในศาลชั้นต้น/ได้รับการประกันตัว
27นพฤทธิ์ – พนักงานบริษัท1แอบอ้างสถาบันฯ เรียกรับผลประโยชน์ปลอมเป็นหม่อมหลวงและแอบอ้างเป็นคนสนิทพระเทพฯศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี (มีการสืบพยาน)ยกฟ้องคดีถึงที่สุด
28ฐนกร – พนักงานโรงงาน1เฟซบุ๊กกดไลค์เพจและโพสต์เสียดสีสุนัขทรงเลี้ยงศาลทหาร-> โอนไปศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดีระหว่างสืบพยานในศาลชั้นต้น/ได้รับการประกันตัว
29วิชัย – พนักงานบริษัท1เฟซบุ๊กปลอมเฟซบุ๊กบุคคลอื่นเพื่อแชร์หรือโพสต์คลิป/ภาพ พร้อมข้อความ รวม 10 ครั้งศาลทหารปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี ต่อมาเปลี่ยนเป็นรับสารภาพก่อนเริ่มการสืบพยานจำคุก 70 ปี ลดเหลือ 30 ปี 60 เดือนคดีถึงที่สุด/รับโทษอยู่ในเรือนจำ
30ป๋อง (นามสมมติ) – รับจ้าง1เฟซบุ๊กโพสต์แสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กของบุคคลอื่นในปี 56 รวม 3 ครั้งอัยการศาลยุติธรรมปฏิเสธอยู่ระหว่างการพิจารณาสั่งคดีของสำนักงานอัยการสูงสุด
31ป๋อง (นามสมมติ) – รับจ้างหนังสือเผยแพร่บทสัมภาษณ์ในปี 48อัยการศาลยุติธรรมปฏิเสธอยู่ระหว่างการพิจารณาสั่งคดีของสำนักงานอัยการสูงสุด
32บุรินทร์ – ช่างเชื่อมเหล็ก1เฟซบุ๊กและโปรแกรมแมสเซนเจอร์ส่งข้อความสนทนาส่วนตัวกับพัฒน์นรี และโพสต์ข้อความ รวม 2 ครั้งศาลทหารรับสารภาพในชั้นศาลจำคุก 22 ปี 8 เดือน ลดเหลือ 10 ปี 16 เดือนคดีถึงที่สุด/รับโทษอยู่ในเรือนจำ
พัฒน์นรี (แม่ ‘จ่านิว’ สิรวิชญ์) – รับจ้าง1โปรแกรมแมสเซนเจอร์สนทนาส่วนตัวตอบข้อความบุรินทร์ด้วยคำว่า “จ้า”ศาลทหาร-> โอนไปศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดีระหว่างสืบพยานในศาลชั้นต้น/ได้รับการประกันตัว
33ฤาชา – ข้าราชการบำนาญ (ผู้ป่วยจิตเภท)1เฟซบุ๊กโพสต์ภาพพร้อมข้อความ รวม 5 ครั้งศาลทหาร-> โอนไปศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดีระหว่างสืบพยานในศาลชั้นต้น/ได้รับการประกันตัว
34สราวุทธิ์ – ช่างตัดแว่นตา1เฟซบุ๊กถูกกล่าวหาว่าโพสต์ภาพของสมเด็จพระบรมฯ (ขณะนั้น) 2 ภาพ พร้อมข้อความแสดงความเห็นศาลทหาร-> โอนไปศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี (มีการสืบพยาน)ยกฟ้องระหว่างรอว่าอัยการจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่
35รุ่งเรือง (นามสมมติ) – พนักงานบริษัท (ผู้ป่วยจิตเภท)1เฟซบุ๊กโพสต์ข้อความในปี 59ศาลทหารรับสารภาพจำคุก 8 ปี ลดเหลือ 4 ปี 6 เดือนคดีถึงที่สุด/พ้นโทษก่อนกำหนดตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษฯ
36เค (นามสมมติ) – พนักงานโรงงาน1เฟซบุ๊กโพสต์ขายเหรียญลงในกรุ๊ปซื้อขายของมือสองแห่งหนึ่ง และโพสต์โต้ตอบคนที่เข้ามาคอมเมนท์ ช่วงหลังสวรรคตศาลยุติธรรมรับว่าโพสต์จริง แต่ไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ (มีการสืบพยาน)ยกฟ้องคดีถึงที่สุด
37ปราชญ์ (นามสมมติ) – ค้าขาย1เฟซบุ๊กโพสต์ภาพพร้อมข้อความประกอบ จำนวน 10 ครั้งศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี (มีการสืบพยาน)ยกฟ้อง ม. 112 แต่ให้ลงโทษตาม ม.116 และ พ.ร.บ.คอมฯ จำคุก 2 ปี ลดเหลือ 1 ปี 4 เดือนคดีถึงที่สุด/พ้นโทษแล้ว
38จตุภัทร์ หรือ “ไผ่ ดาวดิน” – นักศึกษา/นักกิจกรรม1เฟซบุ๊กแชร์บทวิเคราะห์สำนักข่าว BBC Thai “พระราชประวัติกษัตริย์พระองค์ใหม่ของไทย”ศาลยุติธรรมปฏิเสธ ต่อมาเปลี่ยนเป็นรับสารภาพในระหว่างการสืบพยานจำคุก 5 ปี ลดเหลือ 2 ปี 6 เดือนคดีถึงที่สุด/ พ้นโทษก่อนกำหนด 41 วัน ตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษฯ
39เทพไทย (นามสมมติ) – ค้าขาย1ห้างสรรพสินค้าสวมเสื้อสีชมพูเดินในห้างฯ หลังการสวรรคตอัยการศาลยุติธรรมปฏิเสธอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีคดีถึงที่สุด
40สิน (นามสมมติ) – รับจ้าง (ผู้ป่วยจิตเภท)1ทหารรักษาการณ์หน้าอนุสรณ์สถานทำและแจกเอกสารจำนวน 1 แผ่นศาลยุติธรรมปฏิเสธ ต่อมาเปลี่ยนเป็นรับสารภาพในระหว่างการสืบพยานจำคุก 2 ปี ลดเหลือ 1 ปีคดีถึงที่สุด/พ้นโทษแล้ว
41ประเวศ – ทนายความ1เฟซบุ๊กโพสต์ข้อความและภาพ จำนวน 13 ครั้งศาลยุติธรรมจำเลยไม่ยอมรับกระบวนการพิจารณาคดีของศาล โดยการไม่ให้การ และไม่นำสืบพยานยกฟ้อง ม. 112, ลงโทษตาม ม.116 และ พ.ร.บ.คอมฯ จำคุก 15 เดือน และไม่พิมพ์ลายนิ้วมือ จำคุก 1 เดือนคดีถึงที่สุด/พ้นโทษแล้ว
42ศักดิ์ (นามสมมติ) – นักวิชาการ1เฟซบุ๊กโพสต์ของ Somsak Jeamteerasakul เกี่ยวกับหมุดคณะราษฎรที่หายไป และแสดงความเห็นอัยการศาลยุติธรรมรับสารภาพอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีคดีถึงที่สุด
43ดนัย – พนักงานบริษัท1ปฎิเสธ
44ชัช (นามสมมติ) – ข้าราชการ1รับสารภาพ
45วรรณชัย – พนักงานบริษัท1รับสารภาพ
46เอกฤทธิ์1เฟซบุ๊กโพสต์ภาพรัชกาลที่ 10 พร้อมข้อความหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560ศาลยุติธรรมรับสารภาพจำคุก 8 ปี ลดเหลือ 4 ปีคดีถึงที่สุด/รับโทษอยู่ในเรือนจำ
47วัยรุ่น 6 คน – นักศึกษา6ที่สาธารณะเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่นศาลยุติธรรมรับสารภาพยกฟ้อง ม. 112 ลงโทษในความผิดอื่นๆ จำคุก 5 คนๆ ละ 3 ปี อีก 1 คน จำคุก 4 ปี 6 เดือนคดีถึงที่สุด/พ้นโทษแล้ว 2 คน, รับโทษอยู่ในเรือนจำ 4 คน
48วัยรุ่น 4 คน – นักศึกษา4ที่สาธารณะเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ อ.ชนบท จ.ขอนแก่นยกฟ้อง ม. 112 ลงโทษในความผิดอื่นๆ จำคุก 3 คนๆ ละ 3 ปี อีก 1 คน จำคุก 4 ปี 6 เดือน นับโทษต่อจากคดีแรกคดีถึงที่สุด/รับโทษอยู่ในเรือนจำ
49ด.ช.แฟง – นักเรียน1ที่สาธารณะเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ อ.บ้านไผ่ศาลยุติธรรม

(ศาลเยาวชน)

รับสารภาพถูกควบคุมตัวระหว่างสอบสวนในสถานพินิจ 90 วัน/ พิพากษาให้เข้ารายงานตัว 6 เดือนคดีถึงที่สุด
50ปรีชา และ สาโรจน์ – รับจ้าง2ที่สาธารณะเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ อ.ชนบท (2)ศาลยุติธรรมรับสารภาพยกฟ้อง ม. 112 ลงโทษในความผิดอื่นๆ จำคุกคนละ 5 ปีคดีถึงที่สุด/รับโทษอยู่ในเรือนจำ
51เผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ อ.บ้านไผ่ (2)ยกฟ้อง ม. 112 ลงโทษในความผิดอื่นๆ จำคุกคนละ 5 ปี
52เผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ อ.เปือยน้อยยกฟ้อง ม. 112 ลงโทษในความผิดอื่นๆ จำคุกคนละ 2 ปี 6 เดือน
53บุปผา (นามสมมติ) – พนักงานขาย (ผู้ป่วยจิตเภท)1เฟซบุ๊กโพสต์ภาพและข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัวพาดพิงพระบรมวงศานุวงศ์ รวม 13 โพสต์ศาลทหาร-> โอนไปศาลยุติธรรมปฏิเสธระหว่างสืบพยานในศาลชั้นต้น/ได้รับการประกันตัว
54สกันต์ – อดีตข้าราชการ1เรือนจำพูดคุยกับผู้ต้องขัง ระหว่างอยู่ในเรือนจำ รวม 3 ครั้งศาลยุติธรรมรับสารภาพยกฟ้องคดีถึงที่สุด
55สิชล (นามสมมติ) – ผู้ป่วยจิตเภท1เฟซบุ๊กโพสต์ภาพพร้อมคำบรรยาย จำนวน 2 ครั้ง, ชั้นสอบสวนแจ้งข้อหา ม.112 และ พ.ร.บ.คอมฯ แต่อัยการฟ้อง ม. 116 และ พ.ร.บ. คอมฯศาลยุติธรรมปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี (มีการสืบพยาน)ยกฟ้อง ม. 116 ลงโทษความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ จำคุก 3 ปี ลดเหลือ 2 ปีเสียชีวิตระหว่างอุทธรณ์คดี/จำหน่ายคดี

 

 

 

 

X