เครือข่ายภาคประชาชน-องค์กรสิทธิ 52 องค์กร เรียกร้องยกเลิกพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ถ้าไม่คุ้มครองประชาชน

21 พ.ย. 2561 มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW), ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA), โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัดเวทีเสวนา “สะท้อนปัญหาการตีความบังคับใช้กฎหมายการชุมนุมสาธารณะกับการจำกัดเสรีภาพของประชาชน” ที่ห้องประชุม Auditorium เดอะคอนเน็คชั่น สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ลาดพร้าว

ในเวทีเสวนามีการกล่าวถึงประเด็นปัญหาการตีความและการบังคับใช้ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ของเจ้าหน้าที่รัฐ ตั้งแต่มีการประกาศใช้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีการสะท้อนปัญหาจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการใช้สิทธิในการชุมนุม และได้มีข้อเสนอต่อปัญหาการตีความกฎหมายดังกล่าว (สามารถดูบันทึกการเสวนาได้ ที่นี่)

ภายหลังเสร็จสิ้นวงเสวนาได้มีการอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ทบทวนกฎหมายดังกล่าว โดยเห็นว่าหากกฎหมายดังกล่าวไม่ได้คุ้มครองและส่งเสริมการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน ก็ควรจะถูกยกเลิกไป และหากจะมีการเขียนขึ้นใหม่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำกฎหมาย อีกทั้งยังเรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 3/2558 โดยเร็ว เนื่องจากเป็นคำสั่งที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ในแถลงการณ์ฉบับนี้ มีเครือข่ายภาคประชาชนและองค์กรสิทธิมนุษยชนรวม 52 องค์กร และบุคคลอีก 33 คน ร่วมลงนามด้วย โดยเนื้อหาแถลงการณ์ทั้งหมดมีดังนี้

“ยกเลิก พ.ร.บ.การชุมนุมฯ ทิ้งไป หากมิได้คุ้มครองเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนอย่างแท้จริง”

ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ได้สร้างอุปสรรคภาระและถูกใช้เป็นเครื่องมือปิดกั้นขัดขวางการใช้เสรีภาพการชุมนุมของประชาชนที่ออกมาปกป้องเรียกร้องสิทธิของตนเอง ของชุมชน หรือการเปลี่ยนแปลงในประเด็นสาธารณะ ทำให้การรวมตัวรวมกลุ่มชุมนุมสาธารณะตามวิถีทางแห่งระบอบประชาธิปไตยเป็นไปได้อย่างยากลำบาก เต็มไปด้วยความเสี่ยงและความหวาดกลัว

ความคลุมเครือไม่ชัดเจนของตัวบทกฎหมายทั้งบทนิยามและเงื่อนไขการชุมนุม เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่เลือกใช้ดุลพินิจตีความบังคับใช้ได้ตามอำเภอใจ ทำให้ประชาชนไม่อาจรับรู้ขอบเขตอำนาจของกฎหมายที่แน่ชัดและต้องตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกห้ามชุมนุมและถูกดำเนินคดีได้โดยตลอด โดยเฉพาะขอบเขตนิยาม “การชุมนุมสาธารณะ” 
ที่ถูกตีความจนครอบคลุมกิจกรรมการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนอย่างกว้างขวาง หลายกรณีจึงต้องถูกยุติการทำกิจกรรมและถูกดำเนินคดีเพียงเพราะไม่ได้แจ้งการชุมนุมล่วงหน้าและไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ

แม้แต่ในกรณีที่ประชาชนผู้ชุมนุมได้พยายามปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ โดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่กลับสร้างเงื่อนไขข้อจำกัดการชุมนุมขึ้นมาเป็นอุปสรรคเพิ่มเติม เกินกว่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้และมิได้เป็นไปเพื่อความจำเป็นในการรักษาความสงบเรียบร้อย การรักษาความปลอดภัยของสาธารณะ การจราจร และอำนวยความสะดวกแก่การชุมนุมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยเฉพาะการกำหนดเงื่อนไขควบคุมเนื้อหาและรูปแบบการแสดงออกต่อสาธารณะของผู้ชุมนุมโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย รวมถึงการอ้างเอาคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่องชุมนุมทางการเมืองที่เป็นอำนาจทับซ้อนกับ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มากำหนดเป็นข้อห้ามหรือความผิดไว้อย่างคลุมเครือ ล้วนแล้วแต่เป็นการละเมิด คุกคาม และสร้างความหวาดกลัวในการใช้เสรีภาพการชุมนุมของประชาชน

เสรีภาพการชุมนุมเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญในสังคมประชาธิปไตย เป็นเครื่องมือที่ช่วย
ส่งเสียงของประชาชนที่ไม่ถูกรับฟังให้ดังไปถึงผู้มีอำนาจ เป็นการสร้างพลังและอำนาจต่อรองเพื่อให้รัฐหันมาใส่ใจ
ในความเดือนร้อนของประชาชน หรือปัญหาสาธารณะและความไม่เป็นธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม เสรีภาพการชุมนุมจึงมีคุณค่าอย่างสำคัญในการร่วมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย และช่วยเพิ่มพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองและนโยบายสาธารณะให้มากขึ้น การตราและบังคับใช้กฎหมายของรัฐจึงต้องมิใช่เพื่อบั่นทอนทำให้เสรีภาพการชุมนุมของประชาชนและกระบวนการประชาธิปไตยทางตรงอ่อนแอลง

แต่เมื่อบทเรียนได้พิสูจน์แล้วว่า พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 มิได้ทำหน้าที่เพื่อรับรอง คุ้มครองและส่งเสริมการใช้เสรีภาพการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธของประชาชน จึงสมควรถูกทบทวนยกเลิกไป และหากจะมีขึ้นใหม่ต้องเป็นกฎหมายที่สอดคล้องกับวิถีทางแห่งระบอบประชาธิปไตย และจัดทำขึ้นโดยผ่านการ
มีส่วนร่วมของประชาชน เช่น กำหนดให้เฉพาะการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากที่ต้องถูกควบคุมตามกฎหมาย 
การไม่แจ้งการชุมนุมไม่ควรมีความผิดทางอาญาและเป็นเหตุให้การชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจำกัดเสรีภาพ
การชุมนุมทำได้เฉพาะมีเหตุจำเป็นต่อสาธารณชน และต้องมีความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐที่ขัดขวางเสรีภาพการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้น และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 อันเป็นคำสั่งที่ละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะเสรีภาพการชุมนุมและการแสดงความคิดเห็น ต้องถูกทบทวนยกเลิกโดยเร็วเช่นกัน

21 พฤศจิกายน 2561

รายนามองค์กรร่วมเรียกร้อง

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR)
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA)
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าชีวมวล อ.หนองหาน อุดรธานี
กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน จ.เลย
กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ
กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน (Land Watch Thai)
กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)
กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG)
กลุ่มรักษ์น้ำอูน
กลุ่มรักษ์บ้านแหง จ.ลำปาง
กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส จ.สกลนคร
กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ์
กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได จ.หนองบัวลำภู
กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูลำพะเนียง
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านนามูล-ดูนสาด จ.ขอนแก่น
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
ขบวนการอีสานใหม่ (New Esaan Movement)
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้)
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช. อีสาน)
เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้
เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีสาน
เครือข่ายเทใจให้เทพาหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน
เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน
เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน
เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
เครือข่ายประชาชนปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสองฝั่งเลสงขลา – สตูล
เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
เครือข่ายพลเมืองนครนายก
เครือข่ายมะพร้าวอินทรีย์บางสะพาน
เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม
เครือข่ายสลัม 4 ภาค
โครงการปฏิบัติการเพื่อสิทธิคนจน
มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
มูลนิธิบูรณะนิเวศ
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
ศูนย์กฎหมายสิทธิชุมชน
ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม
ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา
สมัชชาคนจน
สมัชชาแปดริ้วเมืองยั่งยืน
สมาคมผู้บริโภคสงขลา
สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา
สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี
สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน
กฤษกร ศิลารักษ์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล
กานต์ ตามี่ นักกฎหมาย
เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
เฉลิมศรี ประเสริฐศรี ทนายความ
ชยันต์ วรรธนะภูติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชลิตา บัณฑุวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชวกร ศรีโสภา
ชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ ทนายความ
ณัฐวุฒิ​ กรมภักดี​
ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล
เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ทวีศักดิ์ เกิดโภคา ผู้สื่อข่าวประชาไท
ทิตศาสตร์ สุดแสน ทนายความ
นลธวัช มะชัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บดินทร์ สายแสง
บารมี ชัยรัตน์
ปกรณ์ อารีกุล นักกิจกรรมทางสังคม
พฤหัส พหลกุลบุตร กลุ่มละครมะขามป้อม
ไพรินทร์ เสาะสาย
ภารนี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการผังเมือง
ภาสกร อินทุมาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรวดี ประเสริฐเจริญสุข
วีรวัฒน์ อบโอ ทนายความ
ศิริพร ฉายเพ็ชร
ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
สมบูรณ์ คำแหง
สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์
สุนี​ ไชยรส​ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม​ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ​มหาวิทยาลัยรังสิต
สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ชมรมแพทย์ชนบท
แสงศิริ ตรีมรรคา
อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์
อารียา ติวะสุระเดช
อาอีฉ๊ะ แก้วนพรัตน์ นักศึกษาคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

X