อธิบาย 9 คำถามสำคัญให้ความเห็นต่อร่างฯ ฉบับเข้าใจง่าย พร้อมตัวอย่างคำตอบ อ่านแล้ว “เห็นด้วย” ได้เลย 

ขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นที่มีต่อร่างกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน จากนั้นความเห็นทั้งหมดจะถูกสรุปเป็น ‘รายงาน’ ให้ สส. อ่านประกอบการพิจารณายกมือโหวตและอภิปราย เมื่อร่างฯ นี้และร่างที่คล้ายกันถูกเสนอเข้าสภาฯ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุดในครึ่งปีหลังนี้

ในแบบฟอร์มรับฟังความคิดเห็นของรัฐสภาฯ จะแบ่งเป็น 2 พาร์ทใหญ่ ๆ พาร์ทที่ 1 เป็นคำถามข้อมูลทั่วไป อาทิ อาชีพ เพศ การศึกษา ส่วนพาร์ทที่ 2 เป็นคำถาม ‘สำคัญ’ เกี่ยวกับร่างกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน ทั้งหมด 9 ข้อด้วยกัน แต่หลายคนมีเสียงสะท้อนกลับมาว่า คำถามรับฟังค่อนข้างซับซ้อน เข้าใจยาก จนทำให้ส่วนใหญ่ ‘ถอดใจ’ ตั้งแต่ข้อแรก แม้ว่าพร้อมจะเป็นหนึ่งเสียง ‘เห็นด้วย’ ก็ตาม

ศูนย์ทนายฯ ได้ย่อยคำถามทั้ง 9 ข้อให้เข้าใจง่ายขึ้น พร้อมกับแนวทางคำตอบของแต่ละข้อ อ่านเสร็จแล้วเข้าใจทันที ไม่ต้องโหลดเอกสารอื่นอ่านประกอบอีก  

พร้อมแล้ว กดให้ความเห็นเลย! ก่อนหมดเขต 12 มิ.ย. นี้ คลิกที่นี่

สนามนี้ประชาชนต้องชนะ!
นิรโทษกรรมเพื่อคืนความปกติ คืนเสรีภาพ
ก้าวแรกเพื่อยุติความขัดแย้งทางการเมืองกว่า 20 ปี


เงื่อนไขสำคัญที่ต้องรู้ก่อนตอบคำถาม!

  1. ใครก็ให้ความเห็นได้ แค่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ไม่จำกัดอายุ สถานะ อาชีพ
  2. ให้ความได้คนละ 1 ครั้งเท่านั้น กดส่งแล้วไม่สามารถแก้ไขคำตอบได้
  3. คำถามข้อที่ 1 – 8 ต้องตอบพร้อมเขียนเหตุผล 10 ตัวอักษรขึ้นไป
  4. ความเห็นของประชาชนทั้งหมด สุดท้ายจะถูกสรุปเป็นรายงานให้ สส. อ่านประกอบการอภิปรายและยกมือโหวต เมื่อร่างฯ ถูกเสนอเข้าสภาฯ 
  5. แม้ความเห็นทั้งหมดไม่ได้มีผลตามกฎหมายโดยตรง ให้ร่างฯ ‘ผ่าน’ หรือ ‘ไม่ผ่าน’ เป็นกฎหมาย แต่สัดส่วนความเห็นสามารถสะท้อนเสียงของประชาชน และสามารถถูกยกขึ้นเป็นประเด็นในสังคมได้   
  6. การให้ความเห็นไม่ได้มีผลผูกมัดตามกฎหมาย และรายละเอียดของการแสดงความเห็นนั้น ‘บุคคลอื่น’ จะไม่สามารถดูได้ 

คำถามฉบับเข้าใจง่าย! พร้อมตัวอย่างคำตอบ

พาร์ทที่ 2 ในแบบรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อร่างกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน จะเป็นคำถามสำคัญเกี่ยวกับร่างฯ รวมทั้งหมด 9 ข้อ ดังนี้

คำถามข้อที่ 2
คำถามต้นฉบับ – ท่านเห็นด้วยหรือไม่ให้มี “คณะกรรมการนิรโทษกรรมประชาชน” เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยการกระทำที่สมควรได้รับการนิรโทษกรรม และเห็นด้วยหรือไม่กับองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ และระยะเวลาดำเนินงานของคณะกรรมการนี้
สรุปคำถาม – เห็นด้วยกับการมีคณะกรรมการ และอำนาจวินิจฉัยคดีที่จะได้รับนิรโทษกรรมหรือไม่
ตัวอย่างคำตอบ เช่น

⊛ เห็นด้วย กับการให้มีคณะกรรมการนิรโทษกรรมประชาชน ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจเป็นผู้พิจารณาว่าการกระทำใดบ้างสมควรได้รับการนิรโทษกรรม เห็นด้วยกับองค์ประกอบของคณะกรรมการที่มีทั้งหมด 20 คน ซึ่งคัดสรรตัวแทนจาก สส. แต่ละพรรค 14 คน ตัวแทนประชาชนที่ถูกดำเนินคดี 4 คน องค์กรภาคประชาชนที่ทำงานค้นหาความจริงและอำนวยความยุติธรรม 2 คน และเห็นด้วยการระยะเวลาการทำงานคณะกรรมที่กำหนดให้ต้องทำงานแล้วเสร็จภายใน 2 ปี กรณีมีเหตุจำเป็นให้สภาฯ ลงมติขยายเวลาได้เพิ่มอีกไม่เกิน 1 ปี 
⊛ ไม่เห็นด้วยเพราะ เพราะเห็นว่ามีสัดส่วนของส.ส.มากเกินไป
⊛ เห็นด้วย แต่อยากให้เพิ่มสสัดส่วนของจำนวนประชาชนเพิ่ม
คำถามข้อที่ 3
คำถามต้นฉบับ – ท่านเห็นด้วยหรือไม่ให้มีการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามฐานความผิดในร่างมาตรา 5 โดยที่คณะกรรมการไม่ต้องพิจารณา 
คำถามแบบเข้าใจง่าย – เห็นด้วยหรือไม่ ให้นิรโทษกรรมคดี 5 ประเภทนี้ ‘ทันที’ 
1. คดีความผิดตามประกาศและคำสั่ง คสช.
2. คดีที่พลเรือนถูกดำเนินคดีในศาลทหารตามประกาศ คสช.
3. คดีมาตรา 112
4. คดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 
5. คดี พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
6. คดีที่เกี่ยวโยงกับความผิดข้อ 1-5
ตัวอย่างคำตอบ เช่น

⊛ เห็นด้วย ให้นิรโทษกรรมประชาชนรวมคดีมาตรา 112 ทันที 
⊛ เห็นด้วยเพราะว่าเป็นข้อหาที่ถูกนำมาใช้ในคดีการเมือง.ไม่เห็นด้วย เพราะควรรวมคดีมาตรา 116 ยุยงปลุกปั่นและคดีชุมนุมสาธารณะด้วย
คำถามข้อที่ 4
คำถามต้นฉบับ – ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการไม่นิรโทษกรรมให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงหรือการสลายการชุมนุมที่ได้กระทำไปเกินกว่าเหตุ หรือเป็นความผิดตามมาตรา 113 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
สรุปคำถาม เห็นด้วยหรือไม่ กับการยกเว้นไม่นิรโทษกรรมให้กับ ‘เจ้าหน้าที่รัฐ’ ที่ทำเกินกว่าเหตุในการสลายการชุมนุม หรือทำการยึดอำนาจรัฐประหาร 
ตัวอย่างคำตอบ เช่น

⊛ เห็นด้วย เพราะหากเจ้าหน้าที่รัฐทำเกินกว่าเหตุก็ต้องรับผิดชอบในการกระทำ และหากกระทำ ‘ไม่เกินกว่าเหตุ’ ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอยู่แล้ว นอกจากนี้ ในบางช่วงเหตุการณ์เจ้าหน้าที่รัฐยังได้รับการนิรโทษกรรมไปแล้วด้วยโดยรัฐธรรมนูญปี 2550 และ 2560
⊛ เห็นด้วยเพราะไม่อยากให้เจ้าหน้าที่พ้นความรับผิด
⊛ เห็นด้วยจะทำให้ทหารไม่กล้ารัฐประหาร
⊛ ไม่เห็นด้วย ควรให้ทุกฝ่าย
คำถามข้อที่ 5
คำถามต้นฉบับ – ท่านเห็นด้วยหรือไม่ให้บุคคลที่อาจเข้าข่ายได้รับการนิรโทษกรรม หรือสามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรส ผู้อุปการะและผู้อยู่ในอุปการะของบุคคลดังกล่าว มีสิทธิยื่นคำร้องเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัย
สรุปคำถาม – เห็นด้วยหรือไม่ว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกดำเนินคดีสามารถยื่นเรื่องขอให้นิรโทษกรรมแทนเจ้าตัวได้
แนวคำตอบ

⊛ เห็นด้วย เพราะทุกคนมีสิทธิได้รับพิจารณาให้ได้รับนิรโทษกรรมประชาชน แม้ว่าจะมีเหตุผลความไม่สะดวกต่าง ๆ อาทิ ลี้ภัยการเมืองอยู่ต่างประเทศ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ฯลฯ  
⊛ เห็นด้วยเผื่อคนถูกดำเนินคดีอยู่ในเรือนจำ
⊛ ไม่เห็นด้วยเพราะเจ้าตัวควรต้องมาดำเนินการเอง
คำถามข้อที่ 6
คำถามต้นฉบับ – ท่านเห็นด้วยหรือไม่ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการลบทะเบียนประวัติอาชญากรรมของผู้ที่ได้รับการนิรโทษกรรมตามร่างพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ต้องมีการร้องขอจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง
สรุปคำถาม – เห็นด้วยหรือไม่ กับการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ‘ลบ’ ประวัติอาชญากรรมทันที หลังมีกฎหมายนิรโทษกรรมคดีการเมือง
ตัวอย่างคำตอบ

⊛ เห็นด้วย การลบประวัติอาชญกรรมจะทำให้ทุกคนได้กลับสู่ความปกติอีกครั้ง 
⊛ เห็นด้วย คนถูกดำเนินคดีจะได้ไม่ต้องยุ่งยาก
⊛ เห็นด้วยควรจัดการอย่างเป้นระบบ
คำถามข้อที่ 7
คำถามต้นฉบับ – ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ให้บุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งจากการกระทำของผู้ที่ได้รับการนิรโทษกรรมตามร่างพระราชบัญญัตินี้ได้
สรุปคำถาม – เห็นด้วยหรือไม่ กับการให้ ‘เอกชน’ ยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งกับการกระทำของผู้ที่ได้รับการนิรโทษกรรม เช่น ห้างสรรพสินค้าหรือประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากผู้ชุมนุมประท้วงสามารถเรียกร้องกับผู้กระทำในทางแพ่งได้ แม้ว่าจะได้รับการนิรโทษกรรมความผิดทางอาญาแล้วก็ตาม 
ตัวอย่างคำตอบ เช่น

⊛ เห็นด้วย กฎหมายนิรโทษกรรมไม่ควรตัดความคุ้มครองสิทธิของเอกชนที่ได้รับความเสียหาย
⊛ ไม่เห็นด้วย ควรนิรโทษทั้งหมด ส่วนเอกชนที่เสียหายให้รัฐช่วยเยียวยา 
คำถามข้อที่ 8 – ท่านเห็นว่าการนิรโทษกรรมตามร่างพระราชบัญญัตินี้จะช่วยแก้ปัญหา ‘ความขัดแย้งทางการเมือง’ ได้หรือไม่ เพียงใด
ตัวอย่างคำตอบ เช่น 

⊛ การนิรโทษกรรมประชาชนจำเป็นและเป็นเรื่องเร่งด่วนมากที่สุดในตอนนี้ สิ่งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง และคืนความเป็นปกติให้กับประชาชน 
⊛ เมื่อนิรโทษกรรมประชาชนผ่านเป็นกฎหมายแล้ว ควรจะสร้างความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านด้วย เพื่อพาสังคมไทยออกจากวงจรความรุนแรงทางการเมือง ซึ่งมีหลักการสำคัญ ได้แก่ ความรับผิด ความจริง และความปรองดอง  
⊛ เห็นด้วย ควรรีบเอาคนออกจากคุก
⊛ เห็นด้วย จะได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ทุกฝ่าย
⊛ เห็นด้วย ทุกคนควรได้รับโอกาส
⊛ ไม่เห็นด้วย เพราะยังไม่ได้แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุความขัดแย้ง แต่ก็ควรนิรโทษก่อน
คำถามข้อที่ 9 – ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)
ตัวอย่างคำตอบ เช่น

⊛ นิรโทษกรรมต้องรวมคดี ม.112 ทันที
⊛ ต้องเร่งรัดพิจารณาให้มีการนิรโทษกรรมประชาชนโดยเร็วที่สุด
⊛ ต้องไม่เลือกปฏิบัติกับผู้ถูกดำเนินคดี ม.112
⊛ ข้อเสนอต่อสัดส่วนของคณะกรรมการนิรโทษกรรมประชาชน
⊛ ข้อเสนอต่อการครอบคลุมคดีให้ไปไกลกว่า พ.ศ. 2549  

X