ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนก่อตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหาร 2557 ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยมีมูลเหตุทางการเมืองนับตั้งแต่หลังรัฐประหารต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังทำงานเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในประเด็นด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย
ความรับผิดชอบหลัก
- ติดตามสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน และความเคลื่อนไหวทางการเมืองของประเทศไทย
- ติดตามและรวบรวมเอกสาร คำแถลง และเอกสารที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศรัฐบาลต่างประเทศและสื่อเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
- จัดทำรายงานข้อมูลอัพเดตสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำเดือน ค้นหาวิจัยข้อมูล สังเกตการณ์คดีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และลงพื้นที่เพื่อจัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรายเดือนสำหรับการเผยแพร่สู่สาธารณะ
- เขียนรายงานสรุป บันทึกย่อ บทสรุป แถลงการณ์ เอกสารและสื่อเกี่ยวกับสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน และเผยแพร่ไปยังผู้มีบทบาทสำคัญและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลส่งทางอีเมล ทเผยแพร่ทางเว็บไซต์และช่องทางการสื่อสารออนไลน์ของศูนย์ทนายความฯ (Website, Facebook, Twitter) และออฟไลน์
- ทำงานสนับสนุนการบันทึกและรวบรวมข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อขับเคลื่อนประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเชิงนโยบายในประเทศไทย
- แปลและร่างรายงานภาษาอังกฤษและเอกสารที่จำเป็นเป็นภาษาไทยและอังกฤษ
- ประสานงานและสนับสนันการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น จัดการฝึกอบรมนักศึกษาฝึกงาน การดูแลและอัพเดทฐานข้อมูลของผู้ติดต่อ การพิมพ์และการเผยแพร่เอกสาร การจัดบรรยายสรุปทางการทูต
- ร่างและเขียนคำร้องเรียน (communications) คำร้องเรียนอุทธรณ์เร่งด่วน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการขอแบบฟอร์มยินยอมของเหยื่อหรือผู้ที่อาจถูกละเมิดสิทธิ เพื่อส่งเรื่องไปยังกระบวนการพิเศษของ UN (ผู้รายงานพิเศษ/ คณะทำงาน) และหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน
- รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ร่างคำร้องหรือเอกสารจากข้อมูลที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนติดตามและรวบรวม และตามกรอบกฎหมายและประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกรณี ติดต่อเหยื่อหรือผู้ที่อาจถูกละเมิดสิทธิหรือตัวแทนเพื่อขอความยินยอมในการส่งเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิไปยังกระบวนการของสหประชาชาติ
- ติดตามตรวจสอบความคืบหน้าการร้องเรียนการละเมิดสิทธิและคำตอบหรือการสื่อสารโดยรัฐที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยจากฐานข้อมูลของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN OHCHR) ความคิดเห็นของคณะทำงานสหประชาติ UN เรื่องการจับกุมและควบคุมตัวโดยมิชอบ คณะทำงานสหประชาชาติเกี่ยวกับการหายตัวไปโดยถูกบังคับและอื่นๆ สรุปเนื้อหาจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเพื่อขับเคลื่อนประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเชิงนโยบายในประเทศไทย
- ติดตามผลการตอบกลับหรือการสื่อสารของรัฐไทยต่อผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ
- ร่างและพัฒนารายงานและเอกสารเพื่อมีส่วนร่วมกับกลไกสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติและหน่วยงานตามสนธิสัญญาของสหประชาชาติ รวมถึงการส่งรายงานหรือคำร้องเรียน การบรรยายสรุปสถานการณ์ทำเอกสารสรุปข้อเท็จจริงหรือบทสรุปกรณี และเอกสารสนับสนุน ประสานงานและสานความร่วมมือ กับองค์กรหรือกลุ่มที่เป็นพันธมิตรในการทำงาน ทั้ง ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติในการผลักดันและสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิในไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ร่างและพัฒนาเอกสารและเอกสารประกอบการบรรยายสรุปแก่นักการทูต ตัวแทนสถานทูต หน่วยงานของสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศ
- เป็นตัวแทนของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนในการบรรยายสรุปแก่นักการทูตและประชาคมระหว่างประเทศ และในการประชุมกับองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้แทนรัฐบาล สื่อ และผู้บริจาคสนับสนุนงบประมาณแก่ศูนย์ทนายความฯ
คุณสมบัติหลัก
- ปริญญาตรี นิติศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น รัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- ประสบการณ์ในการทำงาน 1-2 ปี ในงานที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม และมีความรู้ ความเข้าใจเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐาน กลไก และแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
- มีความรู้ ความเข้าใจบริบทด้านสิทธิมนุษยชน การเมือง สังคมและเศรษฐกิจในประเทศไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก
- ความสามารถในการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ข้อมูลขับเคลื่อนประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเชิงนโยบาย
- ทักษะการสื่อสารทั้งภาษาไทยและอังกฤษทั้งในด้านการเขียนและการพูด
- ความสามารถในการทำงานหลายอย่าง แก้ปัญหา และทำงานในทีมที่มีความหลากหลาย
- ความสามารถในการทำงานภายใต้ความกดดันและทันกำหนดเวลาของทีม
- มีความรับผิดชอบสูงในการทำงานให้เสร็จทันเวลา
- มีความสามารถในการทำงานชั่วโมงที่ยืดหยุ่นและตอบสนองต่อสถานการณ์เร่งด่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถรักษาความลับของข้อมูล คำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงานของตนเอง องค์กร แหล่งข้อมูล
- สนใจและเห็นคุณค่าในหลักการสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย รวมทั้งติดตามข่าวสารและสถานการณ์การเมืองและสิทธิมนุษยชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
สัญญาการจ้าง
- ระยะเวลาตามกำหนดของโครงการ
- ระยะเวลาทดลองงาน 3 เดือน
- 15 วันหยุดประจำปี
- โปรแกรมสุขภาวะองค์รวมสำหรับพนักงาน – ยิม และเงินสนับสนุนสุขภาวะองค์รวม
- สวัสดิการรักษาพยาบาล ทำฟัน ประกันชีวิต กองทุนเลี้ยงชีพ
- สามารถเบิกค่าเดินทางในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ได้ตามจริง
วิธีการสมัครงาน
- แนบจดหมายแนะนำตัว พร้อมรายละเอียดประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ส่งมาทางสมัครงานกับเรา ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2565.
- หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามเพิ่มเติมติดต่อ [email protected]