“อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของพระมหากษัตริย์”: การปฏิวัติทางรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญ

ศุภณัฐ บุญสด

บทความชิ้นนี้เป็นลำดับที่สองในชุดบทความ “วิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (อ่านบทความชิ้นแรกของชุดได้ที่นี่) โดยจะวิเคราะห์ผลในทางกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ 7/2559 อันเป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าคณะรัฐมนตรีจะสามารถปรับปรุงคำปรารภในร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านการออกเสียงประชามติของประชาชนได้อีกหรือไม่ การทำคำวินิจฉัยฉบับนี้ของศาลรัฐธรรมนูญอาจเรียกได้ว่าเป็น “การปฏิวัติทางรัฐธรรมนูญ” ครั้งสำคัญที่สุด กล่าวคือผลของคำวินิจฉัยได้มีเนื้อหาที่เป็นการเปลี่ยนแปลงผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายของประเทศไทย โดยผู้เขียนจะขอไล่เรียงอธิบายผลทางกฎหมายของคำวินิจฉัยดังกล่าวในรายละเอียด ดังนี้

.

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อความคิดว่าด้วย“อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ”

[simple_tooltip content=’ผู้เขียนได้อาศัยความหมายของคำว่า Pouvoir constituant ที่หมายถึง “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” มาจาก รศ.ดร ปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นหลัก แต่นอกจากนี้แล้วยังได้มีนักวิชาการทางกฎหมายได้แปลของคำดังกล่าวให้แตกต่างอยู่บ้าง เช่น ศ.ดร.หยุด แสดงอุทัย ได้แปลว่า “อำนาจในการให้รัฐธรรมนูญ” ส่วน ศ.ดร.สมภพ โหตระกิตย์ และ ศ.ดร.วิษณุ เครืองาน ได้แปลว่า “อำนาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ” เป็นต้น ‘]อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ[/simple_tooltip] (Pouvoir constituant) เป็นข้อความคิดที่สำคัญอย่างยิ่งในวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะข้อความคิดดังกล่าวมีความใกล้ชิดอย่างมากในการค้นหาคำตอบว่าภายในรัฐนั้นใครเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และจะช่วยเผยให้เห็นว่าแท้จริงแล้วรัฐดังกล่าวปกครองอยู่ในระบอบการปกครองใดได้อีกด้วย
.

อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ หากกล่าวโดยย่อหมายถึง [simple_tooltip content=’ปิยบุตร แสงกนกกุล, กฎหมายรัฐธรรมนูญ : การก่อตั้งรัฐธรรมนูญและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ, กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560, หน้า 41-43.’]อำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่เป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญใช้เพื่อตัดสินใจก่อตั้งรัฐธรรมนูญและระบอบการเมืองการปกครอง[/simple_tooltip]โดยอำนาจนี้มีลักษณะ[simple_tooltip content=’ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา, กฎหมายรัฐธรรมนูญ : หลักพื้นฐานแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย, กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, 2561, หน้า 107.’]เป็นอำนาจที่ไร้ขีดจำกัดและมิได้อยู่ภายใต้ผู้ใด หรือผูกพันอยู่ภายใต้เนื้อหาทางกฎหมายใด[/simple_tooltip] นอกจาก[simple_tooltip content=’วรเจตน์ ภาคีรัตน์, คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน, กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555, หน้า 45.’]ผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญย่อมมีเพียงหนึ่งเดียวจะแบ่งแยกให้มีผู้ทรงอำนาจมากกว่าหนึ่งไม่ได้[/simple_tooltip] กล่าวคือ ผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญสามารถใช้อำนาจก่อตั้งรัฐธรรมนูญได้เพียงลำพัง ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย

นอกจากนี้การระบุได้ว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของใคร ยังมีความเชื่อมโยงกับระบอบการปกครองด้วย กล่าวคือ หากกำหนดให้องค์พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ มีอำนาจพระราชทานรัฐธรรมนูญ หรือรัฐธรรมนูญจะมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้เมื่อมีการลงพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ย่อมหมายความว่ารัฐดังกล่าวปกครองอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ในทางตรงกันข้ามหากกำหนดว่าหน่วยทางการเมืองอย่าง [simple_tooltip content=’หยุด แสงอุทัย, คำบรรยายชั้นปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ หลักรัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2513, หน้า 43-44.’]“ประชาชน” เป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ[/simple_tooltip]  ผ่านการให้ประชาชนมีอำนาจเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือออกเสียงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญให้มีผลบังคับใช้ ก็ย่อมหมายความว่ารัฐนั้นปกครองในระบอบประชาธิปไตย

.

ใครคือผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ? ความไม่ชัดเจนในระบบกฎหมายไทย 

ภาพสมาชิกคณะราษฎร ที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดในรัฐหรืออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในยุค รัชกาลที่ 5 ได้มาสิ้นสุดลงในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เมื่อคณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติ ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เนื้อหาของระบอบดังกล่าวมีใจความอย่างเรียบง่ายปรากฎอยู่ในมาตรา 1 ของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” โดยผลการปฏิวัติดังกล่าวของคณะราษฎรได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายไทย จากองค์พระมหากษัตริย์มาอยู่ที่หน่วยทางการเมืองใหม่ คือ “ประชาชน”

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นมาในชื่อว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475” ซึ่งถูกร่างขึ้นมา[simple_tooltip content=’ รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 34 (สมัยสามัญ) วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2475 , หน้า 359.’]ภายใต้อิทธิพลการชี้นำของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7[/simple_tooltip] ข้อความที่เรียบง่ายซึ่งระบุถึงหัวใจของระบอบการปกครองที่คณะราษฎรสถาปนาขึ้น ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นข้อความที่มีความสลับซับซ้อนให้ต้องตีความ ว่า [simple_tooltip content=’รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 มาตรา 2′]“อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นแต่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”[/simple_tooltip]

10 ธันวาคม 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของไทย

คณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ยกร่างมาตราดังกล่าวโดย[simple_tooltip content=’รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 34 (สมัยสามัญ) วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2475 , หน้า 362.’]อ้างอิงกับประเพณีโบราณ[/simple_tooltip]เกี่ยวกับความเชื่อในการขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณที่มีชื่อว่า “อเนกนิกรสโมสรสมมติ” ซึ่งระบุว่าพระมหากษัตริย์ของสยามขึ้นครองราชย์โดยการอัญเชิญของพราหมณ์และข้าราชการผู้ใหญ่ จึงสะท้อนให้เห็นนับแต่โบราณเป็นต้นมาว่าอำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชน จนทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าภายหลังจากรัฐธรรมนูญฉบับถาวรนี้ มีผลใช้บังคับขึ้นมาแทนพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475  ประชาชนยังคงเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญอยู่อีกหรือไม่ โดยได้มีนักกฎหมายให้คำอธิบายออกเป็นสองแนวทาง ดังนี้

[simple_tooltip content=’หลวงประเจิดอักษรลักษณ์, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, พระนคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง, 2477, หน้า 107.’]แนวทางแรก[/simple_tooltip] ยืนยันว่าประชาชนยังคงเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ โดยหลวงประเจิดอักษรลักษณ์ได้ผลิตตำรากฎหมายรัฐธรรมนูญที่ใช้สอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง อธิบายว่า วัตถุประสงค์ของมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามไม่ได้มีความแตกต่างจากมาตรา 1 ของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475

.

[simple_tooltip content=’รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 35 (สมัยสามัญ) วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2475 , หน้า 373.’]แนวทางที่สอง[/simple_tooltip] พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแทนประชาชน โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในฐานะประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้อธิบายเหตุที่มาตราดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดยถ้อยเช่นนี้ เนื่องมาจากแม้ว่าอำนาจอธิปไตยจะมาจากปวงชน แต่ปวงชนไม่อาจรวมกันใช้อำนาจนี้เองได้ จึงได้เอาอำนาจดังกล่าวมารวมเป็นหนึ่งเดียว แล้วให้พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจนั้นแทน ซึ่งคำอธิบายเช่นนี้ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการบ่อนเซาะทำลายการเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญของประชาชนในระบบกฎหมายไทยในที่สุด
.
นอกจากการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ทำให้เกิดข้อกังขาว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญที่เป็นของประชาชน ซึ่งถูกสร้างขึ้นภายหลังการปฏิวัติโดยคณะราษฎร ได้ถูกเปลี่ยนแปลงและย้อนกลับคืนไปสู่ช่วงเวลาก่อนการปฏิวัติแล้ว รายละเอียดของรัฐธรรมนูญฉบับถาวรดังกล่าวในส่วนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ยังมีปัญหาในความสอดคล้องต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน กล่าวคือ [simple_tooltip content=’รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 มาตรา 63 ประกอบด้วยมาตรา 38 และมาตรา 39′]รัฐธรรมนูญได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจไม่เห็นชอบหรือยับยั้ง (veto)[/simple_tooltip]ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านการเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญก็ยังได้มอบอำนาจกับสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันได้ หากพระมหากษัตริย์ไม่ลงพระปรมาภิไธยในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวอีก ก็สามารถนำร่างรัฐธรรมนูญไปประกาศใช้บังคับได้ โดยไม่ต้องมีพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์

ปรีดี พนมยงค์ สมาชิกฝ่ายพลเรือนคนสำคัญของคณะราษฎร

.
แต่เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในปี พ.ศ. 2489 อันเป็นการแก้ไขที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของนายปรีดี พนมยงค์ สมาชิกฝ่ายพลเรือนคนสำคัญของคณะราษฎร ได้มีการ[simple_tooltip content=’รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 มาตรา 85 ประกอบด้วยมาตรา 20′]ยกเลิกอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการไม่เห็นชอบหรือยับยั้ง (veto)[/simple_tooltip] ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเสีย แม้ว่าในช่วงเริ่มยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้คณะกรรมาธิการยัง[simple_tooltip content=’ รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 7/2489 (สามัญ) วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2489′]ได้คงพระราชอำนาจไม่เห็นชอบหรือยับยั้ง[/simple_tooltip]ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพระมหากษัตริย์ไว้ในทำนองเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 แต่ได้มีการแก้ไขในชั้นการพิจารณาวาระที่ 2 โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎร แต่กลับไม่ปรากฏว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงมีการยกเลิกพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ดังกล่าวปรากฎอยู่ในรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

อย่างไรก็ตามภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ซึ่งถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของคณะราษฎร อำนาจของพระมหากษัตริย์ในการไม่เห็นชอบหรือยับยั้ง (veto) ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก็[simple_tooltip content=’รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 มาตรา 173 ประกอบด้วยมาตรา 77 และมาตรา 78′]ได้กลับคืนมาอีกครั้ง[/simple_tooltip]ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2492 โดยสืบทอดต่อมาจนกระทั้งถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

และสำหรับบทบัญญัติที่กำหนดว่า “อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นแต่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” ที่เริ่มต้นขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 นั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 ที่เปลี่ยนถ้อยคำมาเป็นว่า [simple_tooltip content=’รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ​. 2517 มาตรา 3′]“อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นแต่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”[/simple_tooltip]

โดยแม้ว่าในวาระเสนอการร่างรัฐธรรมนูญเข้าสู่การพิจารณาของ[simple_tooltip content=’รายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 11 วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พุทธศักราช 2517, หน้า 662.’]สภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อลงมติรับหลักการ[/simple_tooltip] ถ้อยคำของมาตรานี้จะได้มีเขียนขึ้นในทำนองเดียวกับมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 แต่ปรากฎว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ โดยได้มีคณะกรรมาธิการบางท่านได้เสนอให้เปลี่ยนจากคำว่า “มาจาก” ให้เป็น “เป็นของ” เพื่อต้องการให้รัฐธรรมนูญเน้นย้ำถึงความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของประชาชน [simple_tooltip content=’รายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 2 ครั้งที่ 52 วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พุทธศักราช 2517, หน้า 535 – 544.’]ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้เห็นชอบการแก้ไขดังกล่าว[/simple_tooltip] โดยการบัญญัติให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนยังคงมาเขียนสืบต่อมาจนกระทั่งถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

ด้วยเหตุเช่นนี้ ในทางระบบกฎหมายไทยจึงเกิดความสับสนขึ้นมา ว่าตกลงแล้วหน่วยทางการเมืองใดที่เป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญกันแน่ ระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์ เพราะด้านหนึ่งแม้รัฐธรรมนูญจะได้บัญญัติให้ประชาชนชาวไทยเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย แต่ในอีกด้าน ก็ได้มีการบัญญัติให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจยับยั้ง (veto) ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนชาวไทยด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ในทางวิชาการก็ได้มีการอธิบายออกไปเป็นสองแนวทางที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยแนวทางหนึ่งก็อธิบายว่าเป็นเอกลักษณ์ของประชาธิปไตยไทย [simple_tooltip content=’บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม 2 , กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, 2547, หน้า 204-205.’]ที่ทั้งประชาชนกับพระมหากษัตริย์ต่างเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญร่วมกัน[/simple_tooltip]

ในขณะที่อีกแนวทางก็ยืนยันว่าประชาชนเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น โดยให้เหตุผลแตกต่างกันไป บางท่านอธิบายว่าเป็นผลมาจากการปฏิวัติทางการเมือง ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ที่คณะราษฎรที่ได้ยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์และการปฏิวัติทางกฎหมายนับตั้งแต่รัชกาลที่ 7 ได้ลงนามในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ที่ทำให้อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎร [simple_tooltip content=’ปิยบุตร แสงกนกกุล, รัฐธรรมนูญ : ประวัติศาสตร์ข้อความคิด อำนาจสถาปนา และการเปลี่ยนผ่าน, นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน, 2559, หน้า 184-185.’]อันเป็นการตัดสายโซ่จากระบอบเก่าที่อำนาจสูงสุดเป็นพระมหากษัตริย์ทันที[/simple_tooltip] และบางท่านก็ได้โต้แย้งว่าในทางทฤษฎีว่าด้วยรัฐ [simple_tooltip content=’วรเจตน์ ภาคีรัตน์, คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน, กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555, หน้า 45.’]อำนาจรัฐจะต้องมีความเป็นเอกภาพ[/simple_tooltip] กล่าวคือผู้ถืออำนาจรัฐมีได้เพียงหนึ่งเดียวจะแบ่งแยกผู้ถืออำนาจรัฐไม่ได้

แต่อย่างไรก็ตามในความสับสนของระบบกฎหมายไทยดังกล่าว ก็ยังเป็นความสับสนที่ยังอยู่ภายใต้การยอมรับนับถือให้ประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญด้วย มิอาจถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและกฎหมายที่ทำลายมูลฐานทางการเมืองของระบอบประชาธิปไตยที่คณะราษฎรได้ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไปเสียทั้งหมด

จนกระทั่งวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559 หรือ 84 ปีหลังการปฏิวัติ [simple_tooltip content=’การปฏิวัติทางรัฐธรรมนูญในทางเนื้อหา หมายถึง การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีผลให้ยกเลิกหลักการพื้นฐานที่ไม่อาจละเมิดได้ โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการตามรูปแบบและกระบวนการที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่ อ้างอิงจาก ปิยบุตร แสงกนกกุล, กฎหมายรัฐธรรมนูญ : การก่อตั้งรัฐธรรมนูญและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ, กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560, หน้า 164.’]ได้เกิดการปฏิวัติทางรัฐธรรมนูญ[/simple_tooltip] ครั้งสำคัญที่ทำลายมูลฐานทางการเมืองหรือหลักการพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญดังกล่าวลงอย่างสิ้นเชิง โดยองค์กรตามรัฐธรรมนูญอย่างศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญในการผลิตคำวินิจฉัยที่มีผลผูกพันบรรดาองค์กรทางรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐทั้งหลาย

.

คำวินิจฉัยที่ 7/2559 : การปฏิวัติทางรัฐธรรมนูญเพื่อสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยศาลรัฐธรรมนูญ

ภายหลังจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน เพื่อให้ทำการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่สองขึ้นมา ภายหลังจากฉบับที่มี ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ได้ถูกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติไม่เห็นชอบและตกไป โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ร่างเสร็จในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559 และได้มีการนำไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติ [simple_tooltip content=’รัฐมีการดำเนินคดีกับผู้ที่ใช้เสรีภาพการแสดงออกที่เกี่ยวกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดนี้ทั้งหมด 113 คน แบ่งเป็นข้อหาตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ทั้งหมด 94 คน มาตรา 61 พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ 5 คน กรณีที่โดนทั้งข้อหาคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 พร้อมมาตรา 61 จำนวน 13 คน และมี 1 คนที่ถูกดำเนินคดีสองคดี คดีแรกข้อหาตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 คดีที่สองข้อหาตามมาตรา 61  สถิติดังกล่าว ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2559 อ่านเพิ่ม‘]ภายใต้บรรยากาศที่มีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รณรงค์ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559[/simple_tooltip]

ปรากฏว่าในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกคำวินิจฉัยที่ 7/2559 (ดูคำวินิจฉัยกลางฉบับเต็ม) วินิจฉัยให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมีอำนาจปรับปรุงคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

คำวินิจฉัยดังกล่าวถือว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ค่อนข้างสั้นโดยมีความยาวเพียง 7 หน้า แต่รายละเอียดของเนื้อหาภายในคำวินิจฉัยดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองของประเทศไทยไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยการให้เหตุผลที่ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมีอำนาจปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านการออกเสียงประชามติของประชาชนไปแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญมิได้อ้างบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะใด มาเป็นฐานทางอำนาจให้กับคณะร่างรัฐธรรมนูญ แต่ได้อ้างถึงประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ว่านับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยเป็นเวลา 84 ปี รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ตราขึ้น จะมีผลสมบูรณ์ได้เมื่อความยินยอมของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศ ผ่านการลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา

คำวินิจฉัยดังกล่าวยังระบุอีกว่า ดังนั้น หากพระมหากษัตริย์ยังไม่ได้ลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใด ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวก็ย่อมเป็นเพียงร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น หาได้สมบูรณ์เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไม่ จึงทำให้ร่างรัฐธรรมนูญที่แม้ว่าจะผ่านการออกเสียงของประชาชนมาแล้ว ก็ยังคงเป็นแต่เพียงร่างรัฐธรรมนูญที่สามารถดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงได้ ผลของคำวินิจฉัยได้ทำให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงอำนาจตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการสถาปนารัฐธรรมนูญ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือทำลายหลักการพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นโดยคณะราษฎรลงอย่างสิ้นเชิง

การเน้นยำว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ อันเป็นหลักการพื้นฐานของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ปรากฎอย่างชัดเจนในบรรดาคำวินิจฉัยส่วนตัวต่างๆ ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อาทิ คำวินิจฉัยส่วนตัวของนายวรวิทย์ กังศศิเทียม (คำวินิจฉัยส่วนตัวฉบับเต็ม) ได้อ้างถึงบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่สืบทอดต่อมา เพื่อยืนยันถึงการเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญของพระมหากษัตริย์ว่า

วรวิทย์ กังศศิเทียม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


“พิจารณารัฐธรรมนูญไทย นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จนถึงปัจจุบัน ปรากฎประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาโดยตลอด พระมหากษัตริย์ทรงพระราชอำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญ พระราชอำนาจในการยับยั้งร่างรัฐธรรมนูญ และพระราชอำนาจในการแก้ไขคำปรารภ” –
ความเห็นในคำวินิจฉัยคดีส่วนตนของนายวรวิทย์ กังศศิเทียม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในคำวินิจฉัยที่ 7/2559

 

คำวินิจฉัยส่วนตัวของนายปัญญา อุดชาชน (คำวินิจฉัยส่วนตัวฉบับเต็ม) ก็ได้อ้างอิงถึงข้อเท็จจริงทางการเมืองในช่วงการตราพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวภายหลังการรัฐประหาร มาเป็นฐานในการวินิจฉัยว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญว่า

ปัญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 “แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังนำร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2475 ขึ้นขอให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตราและประกาศใช้เป็นกฎหมายสูงสุดของแผ่นดิน ในการนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพิจารณาและทรงเติมคำว่า “ชั่วคราว” ลงในร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกก่อนทรงมีพระบรมราชนุมัติให้ประกาศใช้ ….

    แม้จะมีการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงการปกครองไปกี่ครั้งก็ตาม แม้โดยทฤษฎีนิติศาสตร์จะถือว่าคณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจสำเร็จจะออกกฎหมายใดใช้บังคับในบ้านเมืองได้ก็ตาม แต่การตรารัฐธรรมนูญทุกฉบับหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวขึ้นใช้เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ก็จะต้องขอให้พระมหากษัตริย์ทรงตรารัฐธรรมนูญขึ้นใช้บังคับตลอดมา…. ข้อเท็จจริงที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาโดยไม่ขาดสายนี้ย่อมยืนยันว่า พระราชอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของพระมหากษัตริย์” – ความเห็นในคำวินิจฉัยคดีส่วนตนของนายปัญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในคำวินิจฉัยที่ 7/2559

เช่นเดียวกัน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกท่าน คือนายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยส่วนตัวฉบับเต็ม) ได้อาศัยข้อเท็จจริงการจัดทำคำปรารภของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เป็นผู้ยกร่างขึ้นและการปรับปรุงแก้คำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 ตามพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาเป็นฐานในการวินิจฉัยว่าตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในทางรัฐธรรมนูญ การวินิจฉัยเกี่ยวกับถ้อยคำในคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญเป็นพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

จากการพิจารณาเนื้อหาของคำวินิจฉัยข้างต้นทั้งหมด เราจึงอาจกล่าวได้ว่านับตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2559 เป็นต้นมา การปฏิวัติทางรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญผ่านคำวินิจฉัยดังกล่าว ได้ลบล้างให้ประชาชนออกจากการเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ อันเป็นหลักการพื้นฐานทางรัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยทิ้งไปเสีย แล้วสร้างให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเพียงหนึ่งเดียวในระบบกฎหมายไทย อันถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยย้อนกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ที่ดำรงอยู่ก่อนวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อีกครั้งหนึ่ง

ดังนั้น ภารกิจในการฟื้นคืนให้ประชาชนเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ และก่อตั้งระบอบที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยอีกครั้ง นอกจากมุ่งจัดทำหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 แล้ว เรายังจะต้องจัดการลบล้างคำวินิจฉัยที่ 7/2559 ของศาลรัฐธรรมนูญที่มีผลผูกพันองค์กรทางรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐให้สิ้นไปจากระบบกฎหมายไทยอีกด้วย

สำหรับบทความลำดับต่อไปของชุดบทความ“วิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจะพาผู้อ่านไปสำรวจและวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่สำคัญที่สุดในยุคสมัยวิกฤติการเมืองช่วงปี 2556-2557 คือ คำวินิจฉัยที่ 5/2557 กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เป็นโมฆะหรือไม่ โดยคำวินิจฉัยนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้สร้างทฤษฎีลำดับชั้นทางกฎหมายและการตรวจสอบชอบด้วยรัฐธรรมนูญแบบไทยๆ ขึ้นมา ซึ่งมีความแตกต่างและพิสดารโดยสิ้นเชิงจากทฤษฎีที่ถูกสร้างขึ้นโดย Hans Kelsen โปรดติดตามตอนต่อไป

 

 

 

 

X