เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 61 องค์กรภาคีที่สังเกตการณ์การปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (The Observatory for the Protection of Human Rights Defenders หรือองค์กรภาคีฯ) ออกใบแจ้งข่าว เรื่อง การคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรมต่อทนายอานนท์ นำภา กรณีศาลทหารเรียกไต่สวนและห้ามเผยแพร่คำเบิกความพยาน คดีแชร์ผังทุจริตราชภักดิ์-กดไลค์-หมิ่นหมา
- ศาลทหารนัดไต่สวนทนายอานนท์ เผยแพร่คำเบิกความคดีแชร์ผังทุจริตราชภักดิ์-กดไลค์-หมิ่นหมา
- แถลงการณ์กรณีศาลทหารออกข้อกำหนดห้ามเผยแพร่คำเบิกความพยานและรายงานกระบวนการพิจารณาคดีฐนกร
ใบแจ้งข่าวขององค์กรภาคีฯ มีรายละเอียดดังนี้
รัฐไทยต้องยุติการคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรมต่อทนายอานนท์
องค์กรภาคีฯ ขอประณามการคุกคามทนายอานนท์ ต่อกรณีศาลทหารเรียกไต่สวนทนายอานนท์ เกี่ยวกับการเผยแพร่คำเบิกความพยานของอัยการศาลทหาร ในคดีที่อานนท์ปฏิบัติหน้าที่เป็นทนายความจำเลย การกระทำดังกล่าวของศาลทหารเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงการละเมิดสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรมของผู้ถูกกล่าวหาและแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรมต่อนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยยังคงมีอยู่
องค์กรภาคีฯ จึงขอเรียกร้องให้ทางการไทยหยุดการกระทำที่เป็นการคุกคามทนายอานนท์ทั้งหมด ทั้งในและนอกกระบวนการยุติธรรม เพราะการกระทำนี้ดูเหมือนมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายความชอบธรรมของเขาในฐานะนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน
ทั้งนี้ องค์กรภาคีฯ ขอเรียกร้องอย่างเร่งด่วนให้นานาชาติดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งถึงทางการไทย เพื่อให้ทางการไทยดำเนินการดังต่อไปนี้
- ประกันให้เกิดความครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจของทนายอานนท์ นำภา และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ทั้งนี้ ควรดำเนินการในทุกบริบท
- หยุดการกระทำอันเป็นการคุกคามในทุกรูปแบบต่อทนายอานนท์และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศ รวมถึงการคุกคามในระดับกระบวนการยุติธรรม และรับรองในทุกบริบทให้พวกเขาสามารถทำกิจกรรมด้วยความชอบธรรม โดยปราศจากอุปสรรคหรือความกลัวจากการตอบโต้กลับของรัฐ
- ประกันในทุกบริบทให้บุคคลที่ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขในพันธกรณีที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติได้ให้การรับรองเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง[simple_tooltip content=’บุคคลทุกคนมีสิทธิ โดยลำพังหรือร่วมกับผู้อื่นที่จะส่งเสริมและต่อสู้เพื่อให้เกิดการคุ้มครอง และตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ในระดับประเทศและระหว่างประเทศ’]ข้อ 1[/simple_tooltip], [simple_tooltip content=’ด้วยจุดประสงค์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน บุคคลทุกคนมีสิทธิโดยลำพังหรือโดยร่วมกับผู้อื่น ในระดับประเทศและระหว่างประเทศในการพบหรือชุมนุมกันอย่างสันติ’]ข้อ 5 (ก)[/simple_tooltip] และ[simple_tooltip content=’รัฐต้องดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อประกันให้มีการคุ้มครองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก่บุคคลทุกคน โดยลำพังหรือโดยร่วมกับผู้อื่น จากความรุนแรง การข่มขู่ การตอบโต้ การเลือกปฏิบัติที่เป็นการปฏิบัติโดยพฤตินัยหรือนิตินัย การกดดัน หรือการปฏิบัติโดยพลการอื่นใด ที่เป็นผลจากการที่บุคคลนั้นได้ใช้สิทธิอย่างชอบธรรมตามที่อ้างถึงในปฏิญญานี้’]ข้อ 12.2[/simple_tooltip]
- รับรองถึงการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี
- ดูใบแจ้งข่าวขององค์กรภาคีฯ ได้ที่ Thailand: Judicial harassment of Mr. Anon Nampa
- ดูเพิ่มเติม ปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
รู้จักองค์กรด้านการสังเกตการณ์สถานการณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
องค์กรภาคีที่สังเกตการณ์การปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (The Observatory for the Protection of Human Rights Defenders) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ.2540) โดยความร่วมมือของสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (the International Federation for Human Rigts – FIDH) และ the World Organization Against Torture (OMCT) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันหรือเยียวยาสถานการณ์การปราบปรามต่อนักปกป้องสิทธิมุนษยชน ทั้งนี้ องค์กร FIDH และ OMCT เป็นสมาชิกของกลไกการปกป้องนักสิทธิมนุษยชนของสหภาพยุโรปซึ่งดำเนินการโดยภาคสังคมนานาชาติ
ความคืบหน้าคดีแชร์ผังทุจริตราชภักดิ์–กดไลค์–หมิ่นหมา
ในส่วนความคืบหน้าการพิจารณาคดีของฐนกร (สงวนนามสกุล) ในการกระทำอันเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 61 อัยการศาลทหารนำสืบพยานปาก พล.ต.ต. สุรศักดิ์ ขุนณรงค์ ผู้ซักถามจำเลยระหว่างถูกควบคุมตัวที่มณฑลทหารบกที่ 11 ร่วมกับ พล.ต.วิจารณ์ จดแตง เสร็จสิ้น และมีการนัดสืบพยานปากต่อไปในวันที่ 20 ธ.ค. 61 โดยในวันดังกล่าวมีผู้สังเกตการณ์จากสหประชาชาติ (OHCHR) คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) และสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดี ทั้งนี้ ศาลยังขอความร่วมมือผู้มาฟังการพิจารณาไม่ให้จดบันทึกการสืบพยานอยู่
- ดูความคืบหน้าของการสืบพยานโจทก์ในคดีฐนกรครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 61 ที่ พยานคดีแชร์ผังทุจริตอุทยานราชภักดิ์-กดไลค์-หมิ่นหมา ไม่ทราบเกิดอะไรขึ้นระหว่างจำเลยอยู่ในค่ายทหาร
- ดูรายงานการสืบพยานที่เป็นเหตุให้ศาลทหารเรียกทนายอานนท์ไต่สวน ทหารผู้กล่าวหาคดีแชร์ผังทุจริตราชภักดิ์-กดไลค์-หมิ่นหมา ใช้เฟซบุ๊กไม่เป็น แต่เห็นว่าแค่กดไลค์เพจหมิ่นฯ ก็ผิด 112
รายละเอียดเพิ่มเติม
- Military Court will conduct an inquiry on a civilian lawyer for allegedly disseminating a testimony of a military witness
- 7 เหตุผลที่ทนายอานนท์ต้องขอเพิกถอนคำสั่งห้ามเผยแพร่คดีฐนกร
- เห็นว่าการเผยแพร่คดีฐนกรชี้นำสังคม ศาลทหารยกคำร้องขอเพิกถอนรายงานพิจารณา