รู้จัก/รำลึก พ.ร.บ. รักษาความสะอาด กับเครื่องมือทางการเมือง
จากที่วานนี้ (1 พ.ค. 59) “จ่านิวและประชาชนอีก 3 คน” ถูกจับกุมและแจ้งข้อหาตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ (หรือชื่อเต็มๆคือ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535)
กฎหมายฉบับนี้ก็เริ่มเป็นที่รู้จักกันดี ภายหลังการรัฐประหารของ ค.ส.ช. ที่อาจกล่าวได้ว่า เป็น “หนึ่งในเครื่องมือทางการเมือง”
….ซึ่งนี่ไม่ใช่กรณีแรก…ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้รวมตัวเลขอย่างคร่าวๆของการใช้กฎหมายดังกล่าว พบว่ามีการใช้มาแล้วอย่างน้อย 3 ครั้ง ประกอบด้วย
ครั้งที่ 1 ช่วง 31 ส.ค. 57 ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณฺ์ปี ’53 จัดกิจกรรมโปรยใบปลิวเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ผู้เสียชีวิต หลังศาลอาญาชี้ว่าการสลายการชุมนุมอยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช. ซึ่งผู้จัดกิจกรรมผู้ จนท.ตำรวจ สน.บางซื่อ แจ้งข้อหาและปรับเป็นเงิน 5,000 บาท
ครั้งที่ 2 ช่วง 25 ก.ย. – 1 ต.ค. 57 นศ. กลุ่ม ศนปท. จัดกิจกรรมแขวนผ้าดำรำลึก 8 ปี รัฐประหาร 19 กันยาที่บริเวณอนุสรณ์ ‘นวมทอง ไพรวัลย์’ และบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งต่อมา นศ. ถูก จนท.ตำรวจ สน.สุทธิสารและสน. ปทุมวัน แจ้งข้อหาตามกฎหมายฉบับนี้และถูกปรับ 1,000-2,000 บาท
ครั้งที่ 3 วานนี้ (1 พ.ค. 59) กลุ่มพลเมืองโต้กลับจัดกิจกรรม “โพสต์-สิทธิ” ที่สกายวอล์คช่องนนทรี แต่ถูก จนท. ตำรวจ สน.ทุ่งมหาเมฆ จับกุมและแจ้งข้อหาตามกฎหมายฉบับนี้ กล่าวอ้างว่าสิ่งปฏิกูลบนที่สาธารณะ โดยนัดสอบคำให้การอีกครั้งวันที่ 16 พ.ค.ที่จะถึงนี้