สภาพปัญหาของการบังคับใช้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 (ดาวน์โหลด PDF)
กฎหมายการชุมนุมสาธารณะเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญต่อภาคประชาชนมากที่สุดฉบับหนึ่งเพราะ เสรีภาพการชุมนุมเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญในสังคมประชาธิปไตย เป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสียงของประชาชนที่ไม่ถูกรับฟังให้ดังไปถึงผู้มีอำนาจ เป็นการสร้างพลังและอำนาจต่อรองเพื่อให้รัฐหันมาใส่ใจในความเดือดร้อนของประชาชน หรือปัญหาสาธารณะและความไม่เป็นธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม
แม้ประเทศไทยจะรับรองเสรีภาพในการชุมนุมไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ พ.ศ.2492 แต่กฎหมายการชุมนุมสาธารณะได้ผ่านเป็นพระราชบัญญัติในสมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2558 ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 จึงผ่านออกมาโดยขาดจากความยึดโยงกับประชาชนและถูกบังคับใช้ควบคู่กับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2558 ข้อ 12 ซึ่งห้ามชุมนุมมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
ตลอดระยะเวลาสามปีกว่าในการบังคับใช้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพ.ศ.2558 มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อประชาชน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นองค์กรร่วมกันในการรวบรวมข้อมูล พบว่านับตั้งแต่มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 มีผู้ถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะแล้วอย่างน้อย 218 คน แบ่งเป็นคดีความผิดฐานไม่แจ้งการชุมนุมสาธารณะอย่างน้อย 99 คน ความผิดฐานชุมนุมในรัศมี 150 เมตรจากเขตพระบรมมหาราชวังอย่างน้อย 52 คน และความผิดอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวอย่างน้อย 218 คน มีการร้องขอให้ศาลออกคำบังคับให้เลิกการชุมนุมและศาลได้เรียกมาไต่สวนอย่างน้อย 2 คดี และมีการฟ้องคดีละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ 1 คดี โดยศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจำนวน 1 คดี และพบปัญหาจากการบังคับใช้กฎหมายชุมนุมสาธารณะดังต่อไปนี้
(1) [simple_tooltip content=’มาตรา 4 พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า “การชุมนุมสาธารณะ” หมายความว่า การชุมนุมของบุคคลในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้อง สนับสนุนคัดค้าน หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยแสดงออกต่อประชาชนทั่วไป และบุคคลอื่นสามารถร่วมการชุมนุมนั้นได้ ไม่ว่าการชุมนุมนั้นจะมีการเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายด้วยหรือไม‘]นิยามของการชุมนุมสาธารณะ[/simple_tooltip]
เนื่องด้วยถ้อยคำที่บัญญัติถึงการชุมนุมสาธารณะนั้นกำหนดไว้อย่างกว้างครอบคลุมถึงการรวมตัวหรือทำกิจกรรมขนาดเล็ก ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของภาคประชาสังคมหรือประชาทั่วไป ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้พื้นที่สาธารณะ หรือเป็นลักษณะที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุม เช่น การเข้าร่วมประชุมตามหนังสือเชิญ หรือเป็นการยื่นหนังสือถึงหน่วยงานราชการหรือองค์กรบริหารส่วนตำบล เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตีความว่าเป็นการชุมนุมสาธารณะและต้องอยู่ภายใต้การปฏิบัติตามกฎหมายนี้ด้วย
“ในช่วงที่ชาวบ้านเข้าร่วมฟังความคิดเห็นมีอุปสรรคมากมาย ในเรื่องการตรวจอาวุธ ข้าวของ เราถูกแจ้งความตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ทั้งที่เราไปแสดงความคิดที่เราได้รับผลกระทบเกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำ เราเดินทางไปฟังความคิดเห็นตามคำเชิญของอบต.เขาหลวง ไม่ได้จัดการชุมนุมเอง ส่วนก็อัยการมีความเห็นฟ้องตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ แต่ศาลยกฟ้อง ตอนนี้กำลังอุทธรณ์”
วิรอน รุจิไชยวัฒน์ สมาชิกกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด เล่าถึงเหตุการณ์ที่ถูกดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 เนื่องจากเข้าร่วมประชุมตามคำเชิญของอบต.เขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 (อ่านเพิ่ม “ยกฟ้อง” 7 แม่หญิง กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ในคดี พ.ร.บ.ชุมนุมฯ)
(2) [simple_tooltip content=’กฎหมายการชุมนุมสาธารณะ กำหนดให้ผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะ ต้องแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง โดยเจ้าพนักงานต้องแจ้งสรุปสาระสำคัญการชุมนุมภายในกำหนด 24 ชั่วโมงนับแต่ได้รับแจ้ง โดยเจ้าพนักงานอาจแจ้งให้แก้ไขการชุมนุมหากเห็นว่าการชุมนุมนั้นอาจจะขัดมาตรา 7 และมาตรา 8 เรื่องการใช้สถานที่ และหากไม่มีการแก้ไขเจ้าพนักงานอาจสั่งห้ามการชุมนุมซึ่งผู้จัดการชุมนุมสามารถอุทธรณ์ไปยังผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือผู้รับแจ้งขึ้นไปหนึ่งชั้น โดยผู้ชุมนุมนั้นต้องงดการชุมนุมระหว่างการมีค าสั่งห้าม‘]การแจ้งการชุมนุมและการรับแจ้งของเจ้าหน้าที่ตำรวจ[/simple_tooltip]
ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ทำให้บุคคลทั่วไปหรือองค์กรซึ่งประสงค์จะจัดการชุมนุมต้องแจ้งรายละเอียดแห่งการชุมนุมนั้นแก่หัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะล่วงหน้า 24 ชั่วโมงก่อนการชุมนุม ทำให้การดำเนินคดีส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมผู้จัดการชุมนุมเพราะไม่แจ้งการชุมนุมล่วงหน้า หรือจับกุมเพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างว่าผู้จัดการชุมนุมกระทำความผิดเฉพาะหน้าเพราะฝ่าฝืนกฎหมายบางฉบับที่อาจนำมาบังคับใช้ได้ขณะนั้น เช่น พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 หรือปัญหาที่เมื่อผู้จัดการชุมนุมแจ้งการชุมนุมแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ตอบกลับภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงตามที่กำหนดไว้ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจสรุปสาระสำคัญของการชุมนุมและให้ “คำแนะนำ” ประกอบมาด้วย แต่คำแนะนำดังกล่าวไม่มีสถานะทางกฎหมาย หรือการตีความลักษณะการชุมนุมว่ารบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้สถานที่โดยไม่มีข้อเท็จจริงเชิงภาวะวิสัยในการออกคำสั่ง การกำหนดเงื่อนไขมาพร้อมสรุปสาระสำคัญของการชุมนุมซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขการชุมนุมตามมาตรา 7 และมาตรา 8 โดยเฉพาะการอ้างว่าการชุมนุมดังกล่าวเป็นการชุมนุมทางการเมืองและขัดกับข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 หรือการไม่อนุญาตให้ชุมนุมและอ้างถึงสถานการณ์การปรองดองของประเทศ และอาจรบกวนการทำงานของข้าราชการที่ศาลากลาง
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในทางเทคนิคทั้งการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถรับแจ้งการชุมนุมได้ เนื่องจากไม่ใช้อีเมลล์หรืออีเมลล์ที่ระบุไว้ในเวปไซต์ใช้การไม่ได้ การนับระยะเวลาแจ้งล่วงหน้า 24 ชั่วโมงภายหลังต้องเปลี่ยนสถานที่ชุมนุมเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งให้เปลี่ยน แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ใหม่กลับไม่นับระยะเวลาที่แจ้งไว้ในครั้งแรก หรือกรณีที่มีการชุมนุมต่อเนื่องแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุให้แจ้งการชุมนุมต่อทุกพื้นที่ ทั้งนี้กฎหมายกำหนดให้แจ้งในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งก็ได้
“ในกรณีของเทพา กรอบคิดชัดเจนว่าเรื่องนี้ไม่ใช่การชุมนุม เราเพียงเดินไปยื่นหนังสือให้นายก เราจึงมองปัญหาในเรื่องของ นิยาม การตีความการชุมนุม นี่เป็นเครื่องมือที่ใช้อำนาจรัฐมาควบคุมชาวบ้านให้เกิดความกลัว เมื่อเดินทางไปครึ่งวันแล้ว ตำรวจจึงแจ้งมายังชาวบ้านว่าไม่แจ้งการชุมนุม จึงตัดสินใจว่าจะแจ้งการชุมนุม”
เอกชัย อิสระทะ เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา เล่าถึงเหตุการณ์ที่ครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินทำกิจกรรมเดินเท้าเป็นเวลา 4 วัน จากอำเภอเทพา จังหวัดสงขลาไปที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะและยื่นหนังสือต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 แต่เมื่อถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 เจ้าหน้าที่ได้เข้าสลายการชุมนุมและจับกุมตัวชาวบ้าน 16 คน ที่ร่วมในกิจกรรม หนึ่งในนั้นมีเยาวชนอายุ 16 ปี และแจ้งข้อกล่าวหาตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ.2522 และข้อหาพกพาอาวุธและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (อ่านเพิ่ม เทใจให้เทพา: คดีพ.ร.บ.ชุมนุมฯและต่อสู้ขัดขวางฯ จากการเดินคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน) (เครดิตภาพ Region Calling)
(3) [simple_tooltip content=’ตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะซึ่งไม่สามารถแจ้งการชุมนุมได้ภายในกำหนดเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงล่วงหน้าก่อนการชุมนุม สามารถแจ้งการชุมนุมและขอผ่อนผันกำหนดเวลาดังกล่าวต่อผู้บังคับการตำรวจผู้รับผิดชอบพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร หรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดในจังหวัดอื่นแล้วแต่กรณีก่อนเริ่มการชุมนุม และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับคำผ่อนผันมีหนังสือแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับคำขอ‘]การขอผ่อนผันการแจ้งการชุมนุม[/simple_tooltip]
ตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวอนุญาตให้ผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุมสามารถขอผ่อนผันการชุมนุมหากไม่สามารถแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจล่วงหน้าภายใน 24 ชั่วโมงได้ แต่ยังไม่มีกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจรับการผ่อนผัน ทั้งอ้างว่าเพราะการชุมนุมนั้นเริ่มต้นขึ้นแล้ว หรือการแจ้งให้ผู้ชุมนุมผ่อนผันเต่เพราะเหตุที่เห็นว่าการกักตัวผู้ชุมนุมที่กำลังเดินทางให้อยู่ในจุดตรวจนั้น เป็นการชุมนุมอย่างนึง ทั้งที่การกักตัวนั้นกระทำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเองโดยมุ่งประสงค์มิให้บุคคลดังกล่าวเข้าร่วมการชุมนุมในกรุงเทพมหานคร ซึ่งนับว่าเป็นการใช้อำนาจที่ย้อนแย้งระหว่าง “การควบคุมตัวโดยมิชอบ” และการตีความคำว่า “การชุมนุมสาธารณะ” ของเจ้าหน้าที่รัฐ
“กลุ่มชาวบ้านในเครือข่ายขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move) ถูกควบคุมตัว ณ บริเวณด่านตรวจจังหวัดลำพูนและจังหวัดเชียงราย ขณะกำลังเดินทางจากภาคเหนือเพื่อไปเข้าร่วมการชุมนุม “ลดความเหลื่อมล้ำ คืนความเป็นธรรม ปกป้องชุมชน” หน้าทำเนียบรัฐบาล ที่กรุงเทพมหานคร ช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านซึ่งถูกควบคุมตัว ณ ด่านตรวจจังหวัดลำพูน ได้รับหนังสือแจ้งเตือนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.แม่ทาให้ผ่อนผันการจัดการชุมนุม เพราะพิจารณาแล้วว่าชาวบ้านที่ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว ณ ด่านตรวจนั้น กำลังจัดการชุมนุมแต่ยังไม่ได้แจ้งการชุมนุม จึงต้องดำเนินการแจ้งต่อผู้รับแจ้งตามมาตรา 10 และมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558” (อ่านเพิ่ม อ้างคำสั่งปราบปรามผู้มีอิทธิพล ทหาร-ตร. บุกคุมตัว 3 แกนนำเครือข่าย P-move ที่ลำพูน)
(4) [simple_tooltip content=’ตามมาตรา 11 พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 กำหนดว่า กรณีที่ผู้รับแจ้งเห็นว่าการชุมนุมสาธารณะอาจขัดมาตรา 7 และมาตรา 8 (เงื่อนไขในเรื่อสถานที่) ให้ผู้รับแจ้งมีคำสั่งให้ผู้แจ้งการชุมนุมแก้ไขภายในเวลาที่กำหนด หากผู้แจ้งการชุมนุมไม่ปฏิบัติ เจ้าพนักงานจะสั่งห้ามการชุมนุม คำสั่งห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวสามารถอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือผู้รับแจ้งขึ้นไปหนึ่งชั้น และให้ผู้รับอุทธรณ์วินิจฉัยและแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง โดยต้องงดการชุมนุมระหว่างอุทธรณ์‘]การอุทธรณ์คำสั่งแก้ไขหรือห้ามชุมนุม[/simple_tooltip]
นอกจากนี้ ยังพบปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่วินิจฉัยและไม่แจ้งคำวินิจฉัยมาภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากผู้จัดการชุมนุมแจ้งการชุมนุม ทั้งที่ในมาตรา 11 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับแจ้ง และปัจจุบันยังไม่มีกลไกทางกฎหมายที่ใช้ในการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว หรือกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจกำหนดเงื่อนไขอื่นซึ่งไม่เป็นตามมาตรา 11 ประกอบกับมาตรา 7 และมาตรา 8 ว่าผู้จัดการชุมนุมตลอดทั้งผู้ชุมนุมจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งนั้นหรือไม่
“เจ้าหน้าที่ตำรวจเฉพาะในเครื่องแบบกว่า 1,000 นาย เคลื่อนกำลังพลมาประชิดกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งใช้ชื่อว่า “คนอยากเลือกตั้ง” ที่รวมตัวกันภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ ประมาณ 250 คน ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2561 และจัดกิจกรรมปราศรัยตลอดทั้งวางแผนเดินไปยื่นหนังสือหน้าทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2561 อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ผู้ชุมนุมจะเดินทางออกจากหน้ามหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ประกาศว่าการชุมนุมดังกล่าวผิดกฎหมาย เนื่องจากเป็นการชุมนุมทางการเมืองซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558” (อ่านเพิ่ม รวมเหตุการณ์การชุมนุมภาคเช้า ‘คนอยากเลือกตั้ง’ ที่ มธ. วันนี้)
(5) [simple_tooltip content=’ตามมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 กำหนดการชุมนุมในสถานที่แต่ละประเภทแตกต่างกันได้แก่ (1) พื้นที่ห้ามชุมนุมในรัศมี 150 เมตรโดยเด็ดขาด ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วัง ฯลฯ (2) พื้นที่ห้ามชุมนุมภายใน ได้แก่ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาลและศาล โดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจประกาศห้ามชุมนุมในรัศมี 50 เมตร โดยดูจากจำนวนและพฤติการณ์ผู้ชุมนุม และ (3) พื้นที่ที่ชุมนุมได้แต่ห้ามไม่กีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่สถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน สถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ หรือสถานที่ทำการองค์การระหว่างประเทศและสถานที่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด‘]สถานที่ชุมนุม[/simple_tooltip]
ภายใต้การบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวที่จำกัดหรือระบุข้อกำหนดในการใช้สถานที่ไว้อย่างเคร่งครัด ทำให้มีประชาชนต้องถูกดำเนินคดี เช่น จัดการชุมนุมไม่เกิน 150 เมตรจากพระบรมมหาราชวังฯ ซึ่งสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ต้องห้ามมิให้ชุมนุม และยังสร้างปัญหาให้ประชาชนโดยทั่วไปเพราะส่วนใหญ่ไม่ทราบระยะห่างที่แน่นอนและไม่ทราบเกณฑ์ในการวัด หรือการให้อำนาจผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดพื้นที่ห้ามชุมนุมในรัศมี 50 เมตรรอบทำเนียบรัฐบาลโดยไม่มีความชัดเจนว่าจะมีระยะเวลาในการประกาศเท่าใด และมีลักษณะใช้บังคับถาวร มิได้ประกาศเป็นครั้งคราว และแม้กระทั่งจัดการชุมนุมในสถานที่ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติ เช่น สถานศึกษา วัด และที่เอกชน แต่เจ้าหน้าที่กลับขอให้แจ้งการชุมนุม หรืออ้างว่าการชุมนุมนั้นจะกีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่ ซึ่งนำไปสู่การออกคำแนะนำให้ย้ายสถานที่ชุมนุม หรือคำสั่งห้ามการชุมนุมในหลายกรณี นอกจากนี้ แม้ในมาตรา 9 จะกำหนดให้หน่วยงานรัฐสามารถจัดสถานที่ชุมนุมไว้ให้ประชาชนเป็นการเฉพาะได้ แต่ยังไม่มีกรณีที่หน่วยงานใดจะดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว มีเพียงคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละแห่งว่าประสงค์จะให้ผู้ชุมนุมไปชุมนุมที่ใด
“เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2561 กลุ่มประชาชนรวมตัวกันชุมนุมที่ลานสกายวอล์กหน้าหอศิลปกรุงเทพฯ เพื่อประท้วงกรณีที่สนช.กำหนดให้พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งฯ มีผลบังคับใช้ 90 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งอาจจะมีผลให้การเลือกตั้งล่าช้าไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ระหว่างการชุมนุมเจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้กำลังยุติการชุมนุมแต่ในเวลาต่อมามีการตั้งข้อกล่าวหากับบุคคล 9 คนที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นแกนนำในการชุมนุมรวมสามข้อกล่าวหาได้แก่ข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ข้อหาชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปขัดคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 และข้อหาชุมนุมในสถานที่หวงห้ามตามมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558” (อ่านเพิ่ม การชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่หอศิลป์กรุงเทพ #MBK39 (คดีผู้จัดการชุมนุม)
(6) [simple_tooltip content=’ในการชุมนุมสาธารณะนั้นตามมาตรา 19 ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะมีอำนาจอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะอันเป็นสถานที่ชุมนุม รักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวก หรือบรรเทาเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่นซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ชุมนุม รักษาความปลอดภัยหรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ชุมนุมในสถานที่ชุมนุม อำนวยความสะดวกในการจราจรและการขนส่งสาธารณะในบริเวณที่มีการชุมนุมและบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการชุมนุมน้อยที่สุด รวมถึงอำนาจตาม (5) กำหนดเงื่อนไขหรือมีคคำสั่งให้ผู้จัดการชุมนุม ผู้ชุมนุม หรือผู้อยู่ภายในสถานที่ชุมนุมต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่‘]เงื่อนไขการชุมนุม[/simple_tooltip]
ตามมาตรา 19 ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 กำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถกำหนดเงื่อนไขหรือมีคำสั่งให้ผู้จัดการชุมนุม ผู้ชุมนุม หรือผู้อยู่ภายในสถานที่ชุมนุมต้องปฏิบัติตาม แต่ยังมีปัญหาต้องพิจารณาว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถกำหนดเงื่อนไขก่อนการเริ่มชุมนุมได้หรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจมักกำหนดเงื่อนไขหรือคำแนะนำไว้ในสรุปสาระสำคัญของการชุมนุมซึ่งต้องแจ้งและส่งกลับไปยังผู้จัดการชุมนุมภายในเวลา 24 ชั่วโมงหลังได้รับแจ้ง นอกจากนี้ยังมีกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจกำหนดเงื่อนไขเกินกว่าที่มาตรา 19 บัญญัติไว้ ทำให้ประชาชนทั่วไปตั้งข้อสังเกตถึงวัตถุประสงค์ของการมีพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ว่าเป็นกฎหมายที่ไม่ได้ลดภาระในการปฏิบัติตามหรือการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชุมนุมแต่อย่างใด ในทางกลับกัน ผู้จัดการชุมนุมยังต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นในการใช้เครื่องเสียง การใช้ไฟฟ้าหรือการใช้ห้องสุขา และเมื่อบังคับใช้พระราชบัญญัตินี้ควบคู่กับการตีความข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ยังทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจกล่าวล่วงไปพิจารณาถึงเนื้อหาของการชุมนุมว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองหรือไม่ ซึ่งขัดกับวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ที่ไม่ได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปวินิจฉัยถึงเนื้อหาของการชุมนุมแต่อย่างใด และแม้บางกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่สั่งห้ามว่าชุมนุมทางการเมือง แต่กลับห้ามไม่ให้ผู้ชุมนุมชูป้ายผ้า ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องขยายเสียง หรือห้ามใส่เสื้อซึ่งมีข้อความรณรงค์ระหว่างการชุมนุม ซึ่งขัดต่อธรรมชาติของการชุมนุมที่เป็นการเคลื่อนไหวเพราะประสงค์จะให้คนทั่วไปทราบถึงเจตนาหรือข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมกลุ่มนั้น
“พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ เป็นปัญหา ทำให้เราหวาดกลัว เราปฏิบัติตามกฎหมาย แต่เราถูกกักตัว ถูกมองว่ามีอาวุธ (ปากกาอาร์ตไลน์) ซึ่งมันยุ่งยากตั้งแต่การแจ้งชุมนุมแล้ว และยังต้องมากังวลว่าเราจะได้รับอนุญาตชุมนุมหรือไม่ วิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ก็มีปัญหา ไปตรงนั้นไม่ได้ ใช้เสียงเกินนี้ไม่ได้ เรามองว่าเป็นการปฏิบัติโดยคุมคามกลายๆ สร้างความหวาดกลัวให้เรามากขึ้น”
แสงศิริ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพเล่าถึงกลุ่มคนรักหลักประกันสุ
(7) [simple_tooltip content=’ ตามมาตรา 21 และมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 กำหนดว่า กรณีที่เจ้าพนักงานเห็นว่าการชุมนุมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อกำหนดระยะเวลาแก้ไขหรือกำหนดระยะเวลาให้เลิกการชุมนุมแล้วผู้ชุมนุมไม่แก้ไขการชุมนุมหรือไม่เลิกการชุมนุม เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะร้องขอต่อศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะเพื่อมีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุม โดยศาลต้องพิจารณาคำขอเป็นการด่วน คำสั่งดังกล่าวสามารถอุทธรณ์ไปศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคได้ และเป็นที่สุด‘]เจ้าหน้าที่ร้องขอให้ศาลไต่สวนเพื่อสั่งให้เลิกชุมนุม[/simple_tooltip]
ทั้งนี้ ในกรณีดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถกระทำได้หากเห็นว่าการชุมนุมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อกำหนดระยะเวลาแก้ไขหรือกำหนดระยะเวลาให้เลิกการชุมนุมแล้ว ผู้ชุมนุมไม่แก้ไขการชุมนุมหรือไม่เลิกการชุมนุม ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 2 กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเลิกการชุมนุม ในกรณีแรกศาลนัดไต่สวนภายใน 3 วันหลังยื่นคำร้องเนื่องจากศาลไม่เปิดทำการในวันหยุดประจำสัปดาห์ แต่ในระหว่างนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารใช้อำนาจตามข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ควบคุมตัวแกนนำผู้ชุมนุม 3 คนเข้าค่ายทหารมณฑลทหารบกที่ 11 และควบคุมตัวผู้ชุมนุม 11 คนไปยังที่กองกำกับการสายตรวจ 191 หรือกรณีที่สองซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจยื่นขอให้ศาลสั่งให้เลิกการชุมนุมเนื่องจากผู้จัดการชุมนุมไม่แจ้งการชุมนุม แต่ศาลไม่ส่งหมายหรือปิดหมายไต่สวนไปยังผู้จัดการชุมนุมแต่อย่างใด ทำให้ผู้จัดการชุมนุมซึ่งภายหลังได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีนัดจากหมายศาล ไม่แน่ใจว่าเป็นนัดหมายจากศาลจริงหรือไม่ ทำให้ไม่มีผู้ชุมนุมเข้าร่วมการไต่สวนดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ชุมนุมเสียสิทธิในการโต้แย้งคัดค้านระหว่างไต่สวนของศาลนั่นเอง
(8) [simple_tooltip content=’หมวด 4 ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 โดยเฉพาะมาตรา 19 กำหนดลักษณะการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะไว้ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจในแต่ละท้องที่นั้นๆที่มีการจัดการชุมนุมสาธารณะ ทั้งนี้ เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะมีหน้าที่โดยประการสำคัญในการคุ้มครองความสะดวกของประชาชนและการดูแลการชุมนุมสาธารณะ รวมถึงการรักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวก หรือบรรเทาเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ทั้งผู้ชุมนุมและประชาชนที่อยู่รอบข้างที่ชุมนุม ตลอดทั้งแจ้งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการชุมนุมสาธารณะหรือหน่วยานประชาสัมพันธ์ของรัฐหรือเอกชนในท้องที่นั้นทราบด้วย‘]การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่[/simple_tooltip]
ระหว่างการบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังพบลักษณะการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและบางกรณีรวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานระดับจังหวัดและภูมิภาคที่เข้ามาปิดกั้นการชุมนุมโดยอ้างว่าใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ทำให้ไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 หรือระหว่างการชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างว่าผู้ชุมนุมกระทำความผิดตามกฎหมายอื่นซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้าและจับกุมตัวบุคคลนั้นไปจนไม่อาจจัดการชุมนุมจนเสร็จสิ้นได้ บางกรณีเจ้าหน้าที่อ้างว่าใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 13/2559 เรื่องการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทําลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อกักตัวและควบคุมตัวผู้ที่ประสงค์เข้าร่วมชุมนุมในกรุงเทพมหานครไว้บริเวณด่านตรวจจังหวัดลำพูนและจังหวัดเชียงใหม่ บางส่วนถูกเจ้าหน้าที่ทหารนำตัวไปพูดคุยในค่ายทหาร ส่วนคนขับรถโดยสารก็ยังถูกควบคุมตัวโดยอ้างว่าต้องนำไปตรวจหาสารเสพติด ยิ่งไปกว่านั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารยังใช้มาตรการอื่นสร้างความยุ่งยากในการใช้เสรีภาพในการชุมนุมแก่ผู้เข้าร่วมการชุมนุมอีกเช่น การขอตรวจบัตรประชาชน การขอค้นรถ การปิดกั้นไม่ให้ผู้ที่เดินทางมาภายหลังเข้าร่วมการชุมนุม ทั้งระหว่างการปฏิบัติการมีเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบคอยติดตาม ถ่ายรูป ข่มขู่ และควบคุมตัวผู้เข้าร่วมชุมนุมไปจนถึงติดตามไปที่ยังที่พักอาศัยอีกด้วย
“ในประเด็นแรกของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 มีความทับซ้อนกันกับคำสั่งหัวหน้าคสช. 3/2558 ตามนิยามทำให้มีการใช้ซ้ำซ้อนกัน ในมหาลัยเราทำแบบนี้แต่ไม่ผิด แต่พอก้าวเท้าออกจากมหาลัย เรากลับถูกดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งสองแบบ” – กรกช แสงเย็นพันธ์กลุ่มคนอยากเลือกตั้งเล่าถึงเหตุการณ์การปิดกั้นการเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลและการควบคุมตัวแกนนำ-ผู้ชุมนุม “คนอยากเลือกตั้ง” จำนวน 15 คน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2561 บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ (อ่านเพิ่ม ระหว่างชุมนุมคนอยากเลือกตั้ง ทหาร-ตร.ตามติดประชาชนทุกฝีก้าวในหลายพื้นที่ หวั่นมากทม.)
(9) [simple_tooltip content=’การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งหมายความถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ถือเป็นการปฏิบัติการทางปกครอง ที่หากผู้จัดการชุมนุมและผู้ชุมนุมเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติการหรือกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น สั่งให้แก้ไขหรือเลิกการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้จัดการชุมนุมสามารถอุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะได้ เช่น ผู้บังคับบัญชาการภาคต่างๆ ภายใต้สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหากผู้จัดการชุมนุมไม่พอใจในคำวินินจฉัยอุทธรณ์ สามารถฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ภายใน…..‘]กรณีการขอคุ้มครองชั่วคราวและฟ้องคดีต่อศาลปกครอง[/simple_tooltip]
จนกระทั่งปัจจุบัน มีเพียง 2 คดีเท่านั้นที่ผู้ชุมนุมใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยในคดีแรก แม้ศาลปกครองจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้เจ้าพนักงานดำเนินการสกัดกั้นผู้ชุมนุมจนกระทั่งสามารถดำเนินกิจกรรมกว่า 10 วันไปได้ แต่ท้ายที่สุดแล้วศาลปกครองยังพิพากษายกฟ้องด้วยเหตุที่ว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 19 พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 แล้ว ส่วนคดีที่สอง ศาลปกครองมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีเนื่องจากเห็นว่าคำสั่งห้ามชุมนุมซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างเหตุตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 นั้นเป็นคำสั่งทางปกครอง ซึ่งผู้ชุมนุมต้องอุทธรณ์ก่อนจึงจะฟ้องคดีได้
“นายนิมิตร์ เทียนอุดม ตัวแทนเครือข่าย “People GO Network” และนายสุรชัย ตรงงาม ทนายความจากมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnlawThai Foundation) เป็นตัวแทนฟ้องทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, พ.ต.อ.ฤทธินันท์ ปุ้ยพันธวงศ์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรคลองหลวง, พล.ต.ท.สุรพงษ์ ถนอมจิตร ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี และพล.ต.ต.สมหมาย ประสิทธิ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากการปิดกั้นการใช้เสรีภาพการชุมนุมโดยชอบด้วยกฎหมาย ของเครือข่าย People Go ซึ่งได้ทำการแจ้งการชุมนุมสาธารณะตามกฎหมายแล้ว เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2560 (อ่านเพิ่ม เปิดคำฟ้องต่อศาลปกครอง ร้องขอให้จนท.ยุติการปิดกั้น-คุกคามกิจกรรม “เดินมิตรภาพ” )
อ่านคำแนะนำเพื่อเตรียมพร้อมก่อนจัดการชุมนุม คู่มือประชาชนว่าด้วยการใช้เสรีภาพการชุมนุมตาม พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558