สอบคำให้การนักกิจกรรมกลุ่มเอ็นดีเอ็มคดี พ.ร.บ.ประชามติ ราชบุรี จำเลยทั้งหมดปฎิเสธทุกข้อกล่าวหา

14423750_1095564810481367_1993272377_o
แฟ้มภาพ

นักกิจกรรมกลุ่มเอ็นดีเอ็ม จำเลยคดี พ.ร.บ.ประชามติ ราชบุรี ชี้แจงต่อศาลขอปฎิเสธทุกข้อกล่าวหาเหตุเพราะเอกสารที่แจกนั้นไม่มีข้อมูลเท็จ แต่เป็นเอกสารที่ชี้ให้เห็นข้อมูลอีกด้าน ย้ำเป็นการกระทำตามสิทธิเสรีภาพที่รับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ

จากกรณีที่พนักงานอัยการศาลจังหวัดราชบุรีมีความเห็นสั่งฟ้อง ปกรณ์ อารีกุล อนุชา รุ่งมรกต และอนันต์ โลเกตุ สมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (เอ็นดีเอ็ม) ทวีศักดิ์ เกิดโภคา ผู้สื่อข่าว สำนักข่าวประชาไท และภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความผิดตามมาตรา 61 วรรค 2 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ห้ามการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและการทำประชามติที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ โดยมีอัตราโทษจำคุกสูงถึง 10 ปีเหตุเพราะจำเลยทั้ง 4 คนมีเอกสารสติ๊กเกอร์รณรงค์ประชามติแล้วมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจะมาทำการแจกเอกสาร เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ

เมื่อวันที่ 17 ต.ค .2559 ที่ศาลจังหวัดราชบุรีมีนัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐาน ในคดีดังกล่าว ได้แก่ ปกรณ์ อารีกุลอนุชา รุ่งมรกต อนันต์ โลเกตุ  สมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (เอ็นดีเอ็ม) ทวีศักดิ์ เกิดโภคา ผู้สื่อข่าว สำนักข่าวประชาไทและภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งถูกจับกุมภายหลังจากจำเลยทั้ง 4 คนถูกควบคุมตัวไว้

โดยจำเลยปฎิเสธทุกข้อกล่าวหาเนื่องจากมิได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องสำหรับจำเลยที่เป็นนักกิจกรรมได้แก่ ปกรณ์ อารีกุล อนุชา รุ่งมรกต อนันต์ โลเกตุและภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย กล่าวว่า พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในวันเกิดเหตุเป็นการร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ความยุติธรรม การมีส่วนร่วม อย่างสันติวิธี เช่น การรณรงค์ออกเสียงประชามติ สำหรับข้อความและภาพเป็นรูปลอก (สติ๊กเกอร์) สีน้ำเงินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสี่ได้ดำเนินการแจกจ่ายให้กับประชาชนล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลที่ตั้งอยู่บนฐานของข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายซึ่งสามารถพิสูจน์ความจริงได้ ไม่ได้มีลักษณะเป็นข้อมูลที่เป็นความเท็จ มีลักษณะรุนแรง ก้าวราว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ให้ประชาชนไม่ไปใช้สิทธิออกเสียงหรือออกเสียงในทางหนึ่งทางใดแต่อย่างไร

“อีกทั้งนายสมชัย  ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและดำเนินการออกเสียงประชามติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ./2559 ได้ให้ความเห็นต่อสื่อมวลชนไว้ว่า การแจกสติ๊กเกอร์อย่างเดียวไม่น่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 61 วรรค 2 ได้ และยังให้สัมภาษณ์ต่ออีกว่า หากเป็นสติ๊กเกอร์โหวตโนเป็นเอกสารที่เผยแพร่ได้ ถ้าเป็นเรื่องแจกสติ๊กเกอร์อย่างเดียวแล้วถูกดำเนินคดี ตนยินดีไปให้การว่าไม่ผิด” จำเลยทั้งสี่กล่าวต่อศาล

จำเลยทั้งสี่กล่าวต่อไปว่า เหตุที่ทำให้ถูกฟ้องเกิดจากจากการแสดงความเห็นต่างในร่างรัฐธรรมนูญก่อนวันลงประชามติ ซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิที่จะมีความคิดเห็นที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (อังกฤษ: International Covenant on Civil and Political Rights) หรือ ICCPR ได้รับรองหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกไว้ในข้อบทที่ 19 วรรคหนึ่ง บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซงและวรรคสอง บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ไม่ว่าด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือการตีพิมพ์ในรูป ของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก

กติการะหว่างประเทศดังกล่าวประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกมีพันธกรณีอยู่ด้วย ทั้งรัฐไทยยังได้รับรองหลักการดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 4 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทย มีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้หลักการดังกล่าวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็เคยได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550” จำเลยทั้งสี่กล่าวและว่า มาตรา 45 วรรคหนึ่ง บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น    สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ United Nations Human Rights Office (OHCHR) ที่ได้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดที่มีต่อนักกิจกรรมการเมืองและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยพลัน รวมทั้งขอให้ปล่อยตัวทุกคนที่ขณะนี้ถูกคุมขังจากการแสดงความเห็นต่างในร่างรัฐธรรมนูญก่อนวันลงประชามติ

ด้านทวีศักดิ์ เกิดโภคา ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวประชาไท จำเลยอีกรายกล่าวต่อศาลว่า วันเกิดเหตุกำลังเดินทางไปทำข่าวและรายงานข่าวการเข้ารายงานตามความผิดฐานขัดคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2558 ของกลุ่มชาวบ้านที่จัดตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติ จังหวัดราชบุรี ที่สถานีตำรวจภูธรบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และไปทำข่าวกลุ่มนักกิจกรรมจากเอ็นดีเอ็มไปให้กำลังใจกลุ่มชาวบ้านตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานเท่านั้น

“ข้าพเจ้าทำข่าวและรายงานข่าวการให้กำลังใจของจำเลยทั้งหด โดยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเผยแพร่ข้อความ และภาพเป็นรูปลอก (สติ๊กเกอร์) สีน้ำเงิน ตามคำฟ้องแต่อย่างใด” ทวีศักดิ์กล่าว

X