อ่านสเตตัส ‘วันเฉลิม’ ผู้ถูกอุ้มหาย: การลี้ภัย ต้านรัฐประหาร และความหวังในชีวิตไกลบ้าน

รายงานข่าวการถูกอุ้มหายตัวไปของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองไทยในประเทศกัมพูชา ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางหลังเกิดเหตุในช่วงเย็นวันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา ปรากฏทั้งผู้พบเห็นเหตุการณ์ และภาพจากกล้องวงจรปิดของรถที่บุกอุ้มคนอย่างอุกอาจ นับเป็นกรณีอุ้มหายที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกกับกลุ่มผู้ลี้ภัยทางการเมืองไทยในประเทศเพื่อนบ้าน

วันเฉลิม หรือ “ต้าร์” อาจจะไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เมื่อเทียบกับผู้ลี้ภัยทางการเมืองคนอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงมากกว่า ข้อมูลพื้นฐานคือวันเฉลิมปัจจุบันอายุ 37 ปี เป็นคนจังหวัดอุบลราชธานี ก่อนหน้านี้เคยทำงานองค์กรพัฒนาเอกชนในประเด็นด้านเอชไอวีและความหลากหลายทางเพศมาก่อน เขาต้องลี้ภัยเพราะปฏิเสธการเข้ารายงานตัวกับ คสช. หลังรัฐประหาร 2557 และถูกกล่าวหาว่าเป็นแอดมินเพจ “กูต้องได้ 100 ล้านจากทักษิณแน่ๆ” ซึ่งโพสต์เสียดสีการเมืองและวิพากษ์วิจารณ์ คสช. ในช่วงระหว่างคณะรัฐประหารยังอยู่ในอำนาจ (ดูในรายงานข่าว)

ขณะเดียวกันหากตรวจสอบการใช้เฟซบุ๊กส่วนตัวของวันเฉลิม จะพบว่าเขาเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กที่โพสต์ค่อนข้างถี่และต่อเนื่อง การโพสต์ทั้งหมดยังตั้งค่าเป็นสาธารณะ (public) ทำให้คนที่ไม่ได้เป็นเพื่อนกัน ก็สามารถเข้าไปอ่านได้

ในหน้าเฟซบุ๊กของเขา จะพบเห็นการแชร์ข่าวสารบ้านเมืองจำนวนมาก พร้อมแสดงความคิดเห็นทางการเมืองทุกวัน พบเห็นการติดตามข่าวสารเรื่องเศรษฐกิจ ตลาดหุ้น และธุรกิจต่างๆ เขายังจัดทำคลิปภาษาอีสานนำเสนอเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์สังคมการเมืองเป็นระยะ และเช่นเดียวกับคนทั่วไป เขายังใช้เฟซบุ๊กโพสต์บ่นระบายถึงเรื่องราวส่วนตัว บอกเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวัน แต่ก็ไม่ได้มีการโพสต์ถึงสถานที่อยู่หรือภาพถ่ายสถานที่ต่างๆ

ต่อไปนี้เป็นการคัดสรรบางส่วนของสเตตัสในหน้าเฟซบุ๊กเหล่านั้นในช่วง 6 ปีนับจากหลังรัฐประหาร ที่บอกเล่าถึงชีวิตที่ถูกทำให้กลายเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมือง และสะท้อนถึงความคิด ตัวตน และความหวังของวันเฉลิมในหลายปีที่ผ่านมา พอให้เรารู้จักเขามากขึ้นได้บ้าง

00000000

ย้อนกลับไปเมื่อเกิดการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 หลังจากโพสต์สเตตัสเกี่ยวกับสถานการณ์ยึดอำนาจสองโพสต์ในวันที่ 23 และ 24 พฤษภาคม เขาก็ปิดเฟซบุ๊กไป โดยมีการกลับมาโพสต์สเตตัสอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2557 หนึ่งโพสต์ ก่อนจะปิดเฟซบุ๊กหายไปอีกราวเดือนเศษ

วันเฉลิมกลับมาแอคทีฟในเฟซบุ๊กอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2557 เป็นต้นมา โดยมีการโพสต์กว้างๆ ถึงสถานการณ์ของตนเองหลังการรัฐประหาร พร้อมแจ้งว่าตนได้อยู่ในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทยแล้ว

.

.

วันเฉลิมเคยเขียนสเตตัสอธิบายถึงการเลือกไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งของคณะรัฐประหาร โดยเขายืนยันว่า คสช. ไม่มีความชอบธรรมที่จะออกกฎหมายและเข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่ต้น ทำให้เขาเลือกจะอยู่ในต่างประเทศ ดีกว่ายอมอยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการ

วันเฉลิมยังโพสต์ถึงสถานการณ์ของตนเองว่านอกจากถูกออกหมายจับหลังไม่ไปรายงานตัวกับ คสช. แล้ว ยังถูกยกเลิกพาสปอร์ต และยังมีทหาร-ตำรวจไปติดตามหาตัวเขาที่บ้านถึง 4 ครั้งในช่วงปีแรกหลังรัฐประหาร

.

.

ตลอด 6 ปีกว่าที่ผ่านมา วันเฉลิมได้โพสต์วิพากษ์วิจารณ์การรัฐประหาร และการใช้อำนาจของ คสช. อย่างต่อเนื่อง เขายอมรับว่าตนก็กลัว คสช. แต่เห็นว่าไม่สามารถเงียบเฉยกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และยืนยันว่าการต่อต้านเผด็จการเป็นหน้าที่ แม้การต่อสู้จะใช้เวลาอีกยาวนาน โดยเขายังเคยโพสต์ถึงการเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองที่ได้รับอิทธิพลจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 ด้วย

.

.

วันเฉลิมยังเคยโพสต์ถึงแนวคิดของเขาที่เห็นว่าการนำเสนอข้อมูล และถกเถียงแลกเปลี่ยนกันอย่างมีวุฒิภาวะ โดยไม่ต้องด่าทอกันอย่างหยาบคายยังเป็นสิ่งสำคัญในการต่อสู้ทางการเมือง และมีพลังในการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่า

.

.

ขณะเดียวกันวันเฉลิมก็ยังเชื่อในการต่อสู้ทางการเมืองโดยการล้อเลียนอำนาจ การทำให้ผู้นำเผด็จการกลายเป็น “ตัวตลก” อันเป็นรูปแบบการต่อต้านโดยสันติวิธีประเภทหนึ่ง แนวคิดนี้จึงพออธิบายภาพถ่ายเซลฟี่ของวันเฉลิมในท่าชูสามนิ้วที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม ซึ่งปรากฏหลายรูปในเฟซบุ๊กของเขา และการโพสต์ตลกโปกฮาในเรื่องต่างๆ แม้ชีวิตจะเผชิญกับปัญหาการกลายเป็นผู้ลี้ภัยและความยากลำบากก็ตาม

.

.

ในฐานะคนที่เคยทำงานด้านความหลากหลายทางเพศ วันเฉลิมยังเคยโพสต์ถึงความฝันของเขาที่อยากจะผลักดันกฎหมายพ.ร.บ.คู่ชีวิต และทำให้เกิดการแต่งงานในกลุ่มคนหลากหลายทางเพศได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขณะเดียวกันเขาก็เคยเน้นย้ำว่าการต่อสู้ประเด็นเรื่องความเท่าเทียมในเรื่องเพศ แยกไม่ออกจากการต่อสู้เพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยไปพร้อมกันด้วย หาใช่สิ่งที่แยกขาดออกจากกัน

.

.

หลังจากการต้องลี้ภัยจากบ้านไปเนิ่นนานหลายปีขึ้น สเตตัสเฟซบุ๊กในบางช่วงเวลาของวันเฉลิมก็ยังแฝงไว้ด้วยความเศร้า รวมทั้งสถานการณ์ผู้ลี้ภัยทางการเมืองในประเทศเพื่อนบ้านที่เริ่มตกอยู่ในความเสี่ยง หลังเกิดกรณีการอุ้มหายผู้ลี้ภัยหลายคน ก็สร้างความวิตกกังวลต่อความไม่ปลอดภัยในการดำเนินชีวิตอีกด้วย

.



.

รวมทั้งสเตตัสหนึ่งของวันเฉลิมเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ยังสะท้อนถึงความรู้สึกไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นในสถานะของผู้ลี้ภัยอย่างชัดเจนอีกด้วย

.

.

ท่ามกลางความรู้สึกเศร้าคิดถึงบ้าน หลายสเตตัสของวันเฉลิมยังคงมีเนื้อหาสะท้อนการไม่ยอมแพ้ในการต่อสู้และความหวังที่ยังคงมีอยู่ ทั้งความหวังการเปลี่ยนแปลงออกจากอำนาจเผด็จการ ความหวังถึงการได้รับความยุติธรรม และความหวังถึงความเป็นมนุษย์ที่ยังดำรงอยู่

.

 

.

และบางสเตตัสไม่นานนักก่อนเกิดเหตุการณ์บุกอุ้มตัววันเฉลิมอย่างโจ่งแจ้ง เขาได้โพสต์รำลึกถึงการครบรอบ 6 ปีการลี้ภัยของตนเอง โดยเน้นย้ำว่าเขายังคงไม่ยอมแพ้ต่อความอยุติธรรม และจะต่อสู้เพื่อเส้นทางของตนเองต่อไป

.

 

 

X